วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กังหันน้ำชัยพัฒนา

กังหันน้ำชัยพัฒนา ด้วยน้ำพระราชหฤทัยจากในหลวง
เมื่อน้ำที่มีองค์ประกอบของไฮโดรเจนยังต้องการออกซิเจนเป็น 
หัวใจสำาคัญในการดำรงสภาพและคุณภาพที่ดีเอาไว้ เปรียบ
เสมือนประชาชนชาวไทยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นวันนี้ได้ ก็เพราะ
มีองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คอยดูแลพสกนิกรของ
พระองค์อยู่เสมอมา และด้วย “น้ำพระราชหฤทัย” ที่เปี่ยมล้น
พระองค์จึงทรงคิดค้น “กังหันน้ำชัยพัฒนา” เครื่องกลเติมอากาศ 
ที่ใช้เทคโนโลยีเรียบง่ายขึ้น ซึ่งไม่เพียงช่วยรักษาสมดุลของแหล่ง
น้ำตามธรรมชาติได้อย่างกว้างขวางแล้ว แต่ยังเป็นดั่งสัญลักษณ์ 
ที่ช่วยเติมความชื่นฉ่ำใจให้พสกนิกรไทยทุกคนตราบนานเท่านาน 

กังหันนํ้า คือเครื่องจักรกลที่เปลี่ยนพลังงานการไหลหรือการตกของนํ้า
ไปสู่พลังงานรูปอื่น โดยเป็นกลไกสําคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาพลังงาน
นํ้าเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้งแต่ยุคกลาง 
ส่วนการนําหลักการของกังหันนํ้ามาใช้บําบัดนํ้าเสียนั้น เป็นกระบวนการ
เพิ่มพื้นที่สัมผัสระหว่างอากาศกับนํ้าให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้
นํ้าและช่วยให้จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายสิ่งสกปรกในนํ้าเสียได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ถือเป็นกระบวนการทางชีวภาพเพื่อการบําบัดนํ้าเสียที่ได้
รับความนิยมอย่างมากเพราะมีประสิทธิภาพและมีค่าใช้จ่ายน้อย
“กังหันนํ้าชัยพัฒนา” นําภูมิปัญญาที่เรียบง่าย ประหยัด แต่มีประสิทธิภาพ
สูงมาเป็นกุญแจสําคัญในการบําบัดผืนนํ้าของไทยให้คืนสู่จุดสมดุล 
ตามพระราชดําริขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในการแก้ไข
ปัญหานํ้าเน่าเสียเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2531 ด้วยทรงมุ่งหวังจะช่วยแบ่งเบา
ภาระของรัฐบาลและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนของพระองค์ จึงทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณเพื่อศึกษา
วิจัยร่วมกับกรมชลประทานในการสร้างต้นแบบ โดยดัดแปลงจาก "กังหัน
นํ้าสูบนํ้าทุ่นลอย" เป็น "กังหันนํ้าชัยพัฒนา" 
หลังจากนั้น กังหันนํ้าชัยพัฒนาจึงได้รับการติดตั้งเพื่อใช้งานเป็นครั้งแรกที่
โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า และที่วัดบวรนิเวศวิหารเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม
2532 เพื่อศึกษา วิจัย และพัฒนาระบบบําบัดนํ้าเสียเป็นเวลา 4-5 ปี 
ก่อนนําไปติดตั้งเพื่อใช้งานจริงในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ  
นอกจากจะช่วยทําให้นํ้าใสสะอาดขึ้นแล้ว กังหันนํ้าชัยพัฒนาก็ยังช่วย
ลดกลิ่นเหม็นลงได้ สามารถประยุกต์ไปใช้บําบัดนํ้าเสียจากการอุปโภค
ของประชาชนและจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มออกซิเจนให้กับ
บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าทางการเกษตรและแหล่งนํ้าธรรมชาติเกือบทุก
ประเภท 
กังหันนํ้าชัยพัฒนาได้รับการปรับปรุงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้
บรรลุเป้าหมายในการบําบัดนํ้าเสียอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันจึงมีการ
พัฒนากังหันนํ้าชัยพัฒนาออกมาใช้งานแล้วถึง 9 รูปแบบ 
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2536 กังหันนํ้าชัยพัฒนา ได้รับการพิจารณาและ
ทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกล
เติมอากาศเครื่องที่เก้าของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มี
การรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ จึงนับได้ว่า
เป็น "สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกใน
ประวัติศาสตร์ชาติไทยและประวัติศาสตร์ของโลก''

ขณะที่สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติก็ได้ประกาศให้กังหันนํ้า
ชั ย พั ฒ น า ไ ด้ รั บ ร า ง วั ล ที่ ห นึ่ ง ป ร ะ เ ภ ท ร า ง วั ล ผ ล ง า น คิ ด ค้ น ห รื อ สิ่ ง
ประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติประจําปี 2536 และทูลเกล้าฯ
ถวายรางวัลนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ อีกวาระหนึ่ง 
กังหันนํ้าชัยพัฒนายังได้รับรางวัลเหรียญทองจากองค์กรนักประดิษฐ์ที่
เก่าแก่ที่สุดของยุโรป หรือ The Belgian Chamber of Inventor ในงาน 
Brussels Eureka 2000 ครั้งที่ 49 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 ณ กรุง
บรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม ซึ่งหากมีใครเดินทางไปยังกรุงบรัสเซลส์
ในวันนี้ ก็จะได้เห็น "กังหันนํ้าชัยพัฒนาพระราชทาน" ลอยเด่นเป็นสง่า
อยู่บนสระนํ้าในสวนสาธารณะโวลูเว แซงต์-ปิแอร์ เป็นการเทิดพระเกียรติ
ในพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงคิดค้น
สิ่งประดิษฐ์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบไทยที่ทรงคุณค่าและสามารถพัฒนา
คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ทั่วโลก
ที่มา:
www.panyathai.or.th
www.chaipat.or.th
www.manager.co.th