วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

จุลินทรีย์นาโน

    จุลินทรีย์นาโน

  จากการวิจัยของ ดร. จรูญเกียรติ ภัทรมนตรีสิน ซึงปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ค้นพบว่า จุลินทรีย์ มีการขยายพันธุ์แบบ ทวีคูณ และจะแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 และจาก 4 เป็น 16 ................. เรื่อยๆ ไป หากจุลินทรีย์เริ่มต้นที่ 100 ตัว จะขยายพันธุ์แบบทวีคูณ 100 X 100 เป็น 10,000 ตัว และ เพิ่มเป็น 100,000,000 ตัว โดยใช้เวลาเพียง 4-6 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งนำมา เพาะเชื้อ ในถังเพาะเชื้อที่ถูกต้องพร้อมทั้งได้รับอาหารที่ดี
  ดังนั้น ดร. จรูญเกียรติ ได้นำ จุลินทรีย์ จาก ดิน ที่มีความสมบูรณ์ในพื้นที่ ป่าร้อนชื้นในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม เป็นต้น มาคัดเลือกเฉพาะ จุลินทรีย์ สายพันธุ์ที่ดีๆ และ แข็งแรง และ มีประโยชน์ต่อ พืช ซึ่งในปัจจุบันมีมากกว่า 200 สายพันธุ์ โดยนำมา เพาะพันธุ์ และ สร้างความสมบรูณ์ ให้ตัวเชื้อ จุลินทรีย์ และ นำอาหาร คือ โมลาส มาวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่ม    ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์นาโน
   หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ค้นพบและได้รับการพัฒนานี้มี ขนาดเล็ก ไม่ใช่ ระดับ มิลลิเมตร ( 1 ใน 1,000 ) และไม่ใช่ ระดับ ไมโครเมตร ( 1 ใน 1,000,000 )หรือ(ปุ๋ยชีวภาพ EM ทั่วไป) หากแต่เป็น หัวเชื้อจุลินทรีย์ ที่มีขนาดเล็กมากๆใน ระดับ นาโนเมตร (1 ใน ล้านล้าน) ที่ได้มาจากการใช้ เทคโนโลยีขั้นสูงระดับนาโน
  จุลินทรีย์นาโน
1 ) มีขนาดเทียบเท่ากับความกว้าง 1 ใน 50,000 ส่วนของเส้นผมของคนเรา
2 ) เป็นจุลินทรีย์ที่ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรในเขตร้อนชื้น
3 ) เป็นจุลินทรีย์ที่มีความเข้มข้นของเชื้อสูง ถึง 1 ล้านล้านเซลล์ ต่อ กรัม หรือ มิลลิลิตร

   คุณสมบัติพิเศษของหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น
1 ) เป็นสารอาหารครบถ้วนที่พืชต้องการ จากจุลินทรีย์ที่ตายแล้วกลายเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่า ของพืช เพราะว่าตัว จุลินทรีย์ มีอายุประมาณ 2 – 3 วันนับจากวันที่ผสมพันธุ์เมื่อตายไป
ซากของตัวจุลินทรีย์ จะเป็นทั้ง
แหล่งอาหารหลัก พวกแร่ธาตุต่างๆ ( N-P-K ) ที่พืชต้องการ

จุลินทรีย์ใหม่"สร้างปุ๋ยในดิน

      จุลินทรีย์ใหม่"สร้างปุ๋ยในดิน

      ปัจจุบันเกษตรอินทรีย์กลายเป็นกระแส และเป็นทางเลือกของการเกษตรทั่วโลก รวมทั้งไทยที่กำลังขับเคลื่อนเป็นวาระแห่งชาติ และแม้เราจะขับเคลื่อนมานาน แต่ก็ยังไม่ได้รับกระแสขานรับที่ดี ปัจจัยหลักอยู่ที่ราคาสารเคมีเกษตรพุ่งขึ้นจนเกินขีดความสามารถของเกษตรกร ทำให้หลายรายหันไปหาเกษตรอินทรีย์ที่ต้นทุนต่ำกว่า ไม่มีพิษภัยต่อตัวเองและผู้บริโภค หน่วยงานหลักในการฟื้นฟูดินก็คือกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งพบว่าสภาพดินที่ใช้สารเคมีได้รับผลกระทบมาก เพราะมีส่วนสำคัญในการทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน "งานใหญ่ของกรมคือเฟ้นหาจุลินทรีย์ในดินที่มีความสามารถย่อยสลายซากพืช เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน รวมถึงฮอร์โมนที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ซึ่งกรมได้เริ่มโครงการและประสบความสำเร็จ ปี 2529 พบจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายซากพืชได้ดี และแปรจุลินทรีย์ในรูปสารเร่งพด.1 ซึ่งเป็นฐานสำคัญในเวลาต่อมาในการเฟ้นหาจุลินทรีย์ที่หลากหลาย"  ไม่เพียงแต่กลุ่มเกษตรกรนำผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด.ประเภทต่างๆ มาใช้ประโยชน์เท่านั้น แต่ยังต่อยอดขยายสู่ชุมชนที่ประสบปัญหาน้ำเน่าเสีย ขยะในครัวเรือน ขณะที่ภาคเอกชนไม่น้อย เริ่มหันมาสนใจงานวิจัยจุลินทรีย์เพื่อนำไปปรับใช้ในธุรกิจของตน กรมยังมีเป้าหมายใช้จุลินทรีย์สร้างโรงปุ๋ยหรือธาตุอาหารในดินโดยตรง โดยกำลังวิจัยพัฒนาจุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ ที่มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยปมรากถั่วอีกต่อไป เท่ากับเป็นการสร้างโรงปุ๋ยขึ้นในดินนั่นเอง ทั้งนี้ ปัจจุบันการเพิ่มธาตุอาหารในดินกระทำโดยใช้จุลินทรีย์ไปย่อยสลายซากพืช หรือไม่ก็ปลูกพืชตระกูลถั่วที่ตรึงไนโตรเจนได้ แล้วไถกลบ
     กระบวนการวิจัยพัฒนาจุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่เริ่มบ้างแล้ว โดยคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีความสามารถดึงไนโตรเจนได้เอง จากนั้นใช้กระบวนการฟิวชั่น (Fusion) หรือใช้เซลล์ของจุลินทรีย์ผนวกด้วยกัน เพื่อสร้างจุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ และคัดเลือกจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติตามต้องการ เช่นเดียวกับฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมที่มีอยู่ในดินแล้ว แต่ไม่สามารถปลดปล่อยให้พืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้ ก็ต้องพัฒนาจุลินทรีย์เพื่อมาใช้ในการนี้ด้วย ถ้าธาตุอาหารหลักในดินที่จุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่สร้างได้ครบ ทั้งไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปแตสเซียม (K) ก็เท่ากับเรามีโรงงานสร้างปุ๋ยในดินโดยตรง ซึ่งนับเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรไทยอย่างมาก

ประโยชน์จากการไถกลบตอซัง

(1) ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มีความเหมาะสม
   ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ง่ายต่อการเตรียมดิน การปักดำกล้าและทำให้ระบบรากพืชสามารถแพร่กระจายในดินได้มากขึ้น
   การระบายอากาศของดินเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอต่อการหายใจของระบบรากพืชในดิน
    เพิ่มการซึมผ่านของน้ำได้อย่างเหมาะสม และการอุ้มน้ำของดินให้ดีขึ้น
(2) เป็นแหล่งสะสมธาตุอาหารพืชในดิน
  เป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินโดยตรง อาจจะมีปริมาณธาตุอาหารน้อย แต่จะมีธาตุอาหารครบถ้วนตามที่พืชต้องการทั้งธาตุอาหารหลัก
(ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม) ธาตุอาหารรอง (แคลเซียม แมกนีเซียมและกำมะถัน) และจุลธาตุ (เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน โมลิบดินัม
และคลอรีน) และจะค่อยๆ ปลดปล่อยให้เป็นประโยชน์ต่อพืชในระยะยาว
  ช่วยดูดซับธาตุอาหารในดินไม่ให้สูญเสียไปจากดินซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

ข้อมูลจาก กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  www.ldd.go.th

งดเผาตอซัง สร้างดินอย่างยั่งยืน ฟื้นสิ่งแวดล้อม

 งดเผาตอซัง สร้างดินอย่างยั่งยืน ฟื้นสิ่งแวดล้อม

       การเผาซังข้าวจะทำลายจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ผลผลิตต่อไร่ตก ถ้าเราเปิดน้ำเข้าไปขังให้ตอซังข้าวยุ่ยเน่าก็เกิดจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น
    ในรัฐบาลชุดก่อนได้ประกาศขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อลดการการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีเป็นจำนวนมากอันเป็นภาระขอเกษตรกรในเรื่องต้นทุนการผลิตและความเสี่ยงต่อพิษภัยของสารเคมีให้ปรับเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์และสารชีวภาพ ทดแทนปุ๋ยเคมีและสารเคมีมากขึ้น กิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญ และรัฐได้ให้การส่งเสริมอันเป็นการสนับสนุนการดำเนินการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติได้แก่“รณรงค์ งดเผาตอซัง สร้างดินยั่งยืน ฟื้นสิ่งแวดล้อม” โดยส่งเสริมให้เกษตรกรงดการเผาและหันมาไถกลบตอซังร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำเพื่อช่วยให้มีการย่อยสลายได้ง่ายขึ้นกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ในดิน
      ประเทศไทยมีพื้นที่ทำการเกษตร 131 ล้านไร่
 ดังนั้น จึงมีเศษเหลือของวัสดุจากตอซังข้าว ข้าวโพด และอื่นๆ กว่า 35 ล้านตันต่อปีหรือคิดเป็นเศษวัสดุการเกษตรเหลือทิ้งในไร่นาเฉลี่ยไร่ละเกือบ 300 กิโลกรัมเศษเหลือของวัสดุทางการเกษตรเหล่านี้มีส่วนประกอบของธาตุอาหารพืชทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองมากกว่า 500 ล้านกิโลกรัมมีการเผาทิ้งหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อที่จะช่วยให้การไถพรวนทำได้ง่ายขึ้น การกระทำดังกล่าวทำให้ดินสูญเสียอินทรียวัตถุ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน ทำให้
ดินเสื่อมโทรมลง ต้องพึ่งพาการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีมากขึ้นทุกวันๆ มีผู้ประเมินว่าเฉพาะการเผาทิ้งเศษเหลือจากตอซังและฟางข้าวเพียงอย่างเดียว ทำให้ดินต้องสูญเสียธาตุอาหารหลักที่เป็นไนโตร-
เจนถึง 90 ล้านกิโลกรัม ฟอสฟอรัส 20ล้านกิโลกรัม และโพแทสเซียม 260ล้านกิโลกรัม ยังไม่นับการสูญเสียธาตุอาหารรอง เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และซัลเฟอร์ อีกกว่า 150 ล้านกิโลกรัมต่อปี
คิดเป็นมูลค่ากว่าห้าพันล้านบาท ซึ่งเกษตรกรต้องจ่ายเงินซื้อปุ๋ยเคมีเพื่อใส่ในไร่นาทดแทนการสูญเสียที่หายไปจากการเผาตอซัง เพื่อที่จะทำให้ได้ผลผลิตคงเดิม
   กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหลักของประเทศในการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติเกษตรอินทรีย์ และได้รณรงค์ให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนทัศนคติ ไม่เผาตอซัง โดยให้นำวัสดุตอซังที่เหลือใช้จากไร่นามาเป็นวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน ผสมผสานการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ 12 มหัศจรรย์ กรมพัฒนาที่ดิน ช่วยเพิ่มคุณภาพดิน เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิตรักษาสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติเกษตรอินทรีย์สอดคล้องตามนโยบายรัฐบาล
   ข้อมูลจาก:กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์   //  www.ldd.go.th