วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553

จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM)

จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) ได้รับการพัฒนาและเป็นการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ในระหว่างปี 2510-2525 โดยศาสตราจารย์ ดร. เทรูโอะ ฮิหงะ จากภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว โอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น










การจัดประเภทของ EM
กลุ่มที่ 1 จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria)
     สังเคราะห์สารอินทรีย์และสร้างความสมบูรณ์ให้ดิน ได้แก่ กรดอะมิโน (Amino acid), วิตามิน (Vitamins)ฮอร์โมน(Hormone)  เช่น Rhodopseudomonas spp.
ที่ 1 จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic bacteria)
สังเคราะห์สารอินทรีย์และสร้างความสมบูรณ์ให้ดิน ได้แก่ กรดอะมิโน (Amino acid), วิตามิน (Vitamins)ฮอร์โมน(Hormone)  เช่น Rhodopseudomonas spp
กลุ่มที่ 2 จุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก(Zymogenic / Fermented bacteria)
     เกิดการย่อยสลายแบบหมัก เป็นหัวเชื้อในการผลิตปุ๋ยหมัก เช่น ยีสต์ (Yeast : Saccharomyces spp.)และแอคติโนมัยซีสต์(Actinomycetes : streptomyces spp.)
กลุ่มที่ 3 จุลินทรีย์สร้างกรดแลคติค       (Lactic acids bacteria)
     เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อย / ก่อโรค ให้เป็นดินต้านทานโรค ช่วยในการงอกของเมล็ด - ย่อยสลายเปลือก เช่น พวกแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus spp.)
อาจารย์คาซูโอะ วาคุกามิ

 ผู้นำเทคโนโลยี EM เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย
โดยเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนศูนย์ฝึกอาชีวเกษตรสงเคราะห์เชียงใหม่ เมื่อ ปี พ.ศ. 2518 และ ตั้ง ศูนย์เกษตรธรรมชาติคิวเซ เพื่อเผยแพร่เทคโนโลยี EM เมื่อปี พ.ศ. 2531 และตั้งมูลนิธิเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อปี พ.ศ. 2547



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น