วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

ทำน้ำยาล้างจานจากอีเอ็ม


ทำน้ำยาล้างจานจากอีเอ็ม

ผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจาน,น้ำยาถูพื้น


การหมักสับปะรดในขั้นตอนแรกเพื่อเป็นส่วนผสม
1. สับปะรดหั่นเป็นชิ้นเล็ก     3 ก.ก.
2. น้ำตาลทรายแดง         1 ก.ก.
3. EM            100  ซีซี
4. น้ำสะอาด        5 ลิตร
* หมักไว้ 15 วัน

ส่วนผสม
1. หัวเชื้อน้ำยาล้างจาน N.70    1 ก.ก.
2. ผงข้น            1 ก.ก.
3. ผงฟอง            2 ขีด
4. น้ำหมักสับปะรด        7 โล
5. น้ำสะอาด        5 โล
6. กลิ่น (มะกรูด, มะนาว)    30 ซีซี

วิธีทำ
1. ผสมหัวเชื้อน้ำยาล้างจานกับผงข้น (ผงข้นใส่ไปครึ่งกิโลกรัม) และคนให้เข้ากัน(ใช้ไม้พายคนไปทางเดียวกัน) ส่วนที่เหลือเก็บไว้ผสมขั้นตอนต่อไป
2. ตักน้ำสับปะรดกับน้ำสะอาดที่ผสมผงฟองสลับกับไปเรื่อยๆ
3. คนไปเรื่อยๆ ส่วนผสมจะเริ่มข้นขึ้นสักพักก็จะเหลว นำผงข้นที่เหลืออยู่มาเทลงทีละน้อยจนเกิดความข้นได้ที่
4. นำกลิ่น (มะกรูด หรือ มะนาว) ใส่ลงไปและคนจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน
5. ทิ้งไว้ 1 คืน หลังจากนั้นบรรจุลงขวด
ข้อมูลจาก EMRO,http://pobsook.com/

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

EM ball(ดังโหงะ)

EM ball(ดังโหงะ)
 ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ 100% ประกอบด้วย หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM มีประโยชน์ที่มีมากกว่า 10 สกุล 80 ชนิด

EM Ball 


EM Ball ขนาดของจริง




วิธีปั้น EM Ball 




  คุณสมบัติ 

  • ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ ใช้ได้กับบ่อบำบัดน้ำเสียทุกประเภท
  •  สามารถปรับสภาพ pH เพิ่ม ออกซิเจนในน้ำ สามารถใช้ได้กับบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ(บ่อปลา บ่อกุ้ง) 

โดยช่วยให้สัตว์น้ำโตเร็ว สุขภาพแข็งแรง น้ำหนักดี

  •  สามารถย่อยสลายสิ่งปฏิกูลในบ่อเกรอะได้ดี ประหยัดต้นทุนการบำบัด และสามารถเห็นผลได้เร็ว การันตีเห็นผลความแตกต่างของน้ำ-จุลินทรีย์ EM เข้มข้น 
  • ใช้เป็นหัวเชื้อในการหมัก EM ใช้ขจัดกลิ่นเหม็นของน้ำเสียทั้งในครัวเรื่อนและระดับอุตสาหกรมมได้ เห็นผลภายใน 2-3 วัน
  • ใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ เพิ่มปริมาณและน้ำหนักของผลผลิตต่อไร่ บำรุงต้นไม้และพืชให้แข็งแรง ต้านทานโรคได้ดีขึ้น-สารชีวภาพปรับสภาพดิน ใช้ในการปรับสภาพดิน ช่วนให้ดินกลับมามีชีวิต มีแร่ธาตุอาหารในดินเพิ่มขึ้น ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี ลดปัญหาดินเสื่อมสภาพ 

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

โบกาฉิ (Bokashi) เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่า การหมัก (Compost) ที่จำเป็นต้องเรียกว่า “โบกาฉิ” เนื่องจากผู้คิดค้นทำอีเอ็มน้ำให้เป็นอีเอ็มแห้งในรูปจุลินทรีย์แห้งคือคนแรกคือ ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ ปัจจุบันมีการใช้อีเอ็มอย่างหลากหลายทั่วโลกประมาณ 180 ประเทศ ผู้ใช้จากทั่วโลกจึงมีความยินดีเรียก โบกาฉิตามศัพท์เดิมที่มาจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการเข้าใจตรงกันว่าเป็นการทำปุ๋ยหมักด้วยอินทรียวัตถุ ที่หมักด้วยจุลินทรีย์อีเอ็มเท่านั้น ปัจจุบันได้มีการเรียกโบกาฉิในรูปของปุ๋ยชีวภาพต่างๆ ตามแต่ละท้องที่หรือผู้ส่งเสริมเผยแพร่จะเรียก ชื่อ

     โบกาฉิ เป็นการเพาะเลี้ยงจากจุลินทรีย์อีเอ็มที่เป็นน้ำให้เป็นอีเอ็มแห้ง ซึ่งมีวัสดุ เช่น รำข้าว มูลสัตว์ และแกลบ เมื่อการเพาะเลี้ยงเสร็จสมบูรณ์ภายใน 5-7 วัน จุลินทรีย์อีเอ็มจะเพิ่มจำนวนประชากรขึ้นเป็นจำนวนมาก แล้วนำไปเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น จุลินทรีย์อีเอ็มจึงอยู่ในรูปอีเอ็มแห้ง เมื่อเป็นอีเอ็มแห้งแล้ว จะมีอายุการเก็บรักษาได้อย่างยาวนานขึ้น เมื่อนำไปใช้ในด้านการปลูกพืช การประมง การรักษาสิ่งแวดล้อมจึงสามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากและยังมีคุณสมบัติเหมือน จุลินทรีย์อีเอ็มน้ำทุกประการ

ส่วนผสม
   มูลสัตว์ 1 กระสอบปุ๋ย
    แกลบดิบ 1 กระสอบปุ๋ย
    รำ 1 ปิ๊ป
    EM 2 ช้อนโต๊ะ
    กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีการผลิต อีเอ็มแห้ง หรือ โบกาฉิ
    ผสมมูลสัตว์ กับแกลบก่อน แล้วค่อยผสมรำเข้าไป
    ผสม EM กับการน้ำตาล แล้วรดส่วนผสมที่จะทำโบกาฉิเลย
    ให้ความชื้นประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์
    บรรจุส่วนผสมทั้งหมดลงกระสอบปุ๋ย
    ในช่วง 1-4 วันแรก หมั่นกลับกระสอบเพื่อระบายความร้อนที่เกิดขึ้น
    หลังวันที่ 4 เป็นต้นมา จะเริ่มแห้งและเย็นลง จึงสามารถนำไปใช้ได้