วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

กลุ่มจุลินทรีย์ที่ได้รับการพัฒนา Development Micro-organisms (DMO)

กลุ่มจุลินทรีย์ที่ได้รับการพัฒนา Development Micro-organisms (DMO)
เป็นกลุ่มจุลินทรีย์สร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ (Probiotic Micro-Organisms) สามารถนำไปใช้ในงานเกษตร ปศุสัตว์ ประมง งานรักษาสิ่งแวดล้อม และใช้ภายในครัวเรือนได้ผลเป็นอย่างดี ขั้นตอนการได้มา โดยนำเอาจุลินทรีย์สร้างสรรค์ ที่มีอยู่ตามสภาพแวดล้อม (Local Micro-Organisms) มาเพาะเลี้ยงร่วมกับ จุลินทรีย์สร้างสรรค์จากธรรมชาติโดยการคัดเลือกในห้องปฏิบัติการทางวิทยาสตร์ (Science Laboratory Micro-Organisms) และใช้น้ำตาลสดจากธรรมชาติเป็นอาหารในการเพาะเลี้ยง ใช้เวลาในการหมัก 4 เดือน จะได้กลุ่มจุลินทรีย์ที่ได้รับการพัฒนา (DMO) ที่สมบูรณ์แข็งแรงเหมาะสมกับการใช้ในภูมิอากาศเขตร้อน (Tropical Climate)
และเมื่อนำไปต่อเชื้อด้วยกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง การขยายตัว(แบ่งเซลล์)ของจุลินทรีย์ DMO จะเร็วขึ้น การเพาะขยายเชื้อจะสมบูรณ์ใช้เวลา 48 ชั่วโมง (2วัน) สามารถนำไปแปรรูปใช้ในงานเกษตร ปศุสัตว์ ประมง งานรักษาสิ่งแวดล้อม และใช้ภายในครัวเรือนได้ผลเป็นอย่างดี












ลักษณะของหัวเชื้อจุลินทรีย์ DMO
1. มีสีเหลืองคล้ายน้ำผลไม้ มีกลิ่นหอม อมเปรี้ยว กลิ่นนิ่มนวล
2. เก็บเอาไว้ได้นานเป็นปีที่อุณหภูมิปกติ เมื่อเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิดไม่ให้อากาศเข้าภายนอกเข้าถึงแม้ว่าจุมีช่องว่างอากาศมากจะไม่มีฝ้าสีขาวลอยผิวน้ำ
3. เมื่อนำไปต่อเชื้อด้วยกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดงจะแตกตัวสมบูรณ์ใช้เวลา 48 ชั่วโมง มีกลิ่นหอม อมเปรี้ยว
.
เมื่อนำจุลินทรีย์DMO ไปใช้ในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ กองปุ๋ยหมักจะร้อนเร็ว ใช้เวลา 3 ชั่วโมง เนื้อปุ๋ยจะแห้งเร็ว มีราเส้นใยสีขาวมาก ทำให้ผลการนำไปใช้ได้ผลดีมากยิ่งขึ้น
 

การทำปุ๋ยชีวภาพจากเศษพืชและขยะสด


การทำปุ๋ยชีวภาพจากเศษพืชและขยะสด




ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลภาวะในชุมชน โดยเฉพาะปัญหาด้านขยะมูลฝอย จากครัวเรือน ตลาด ร้านอาหาร และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลภาวะทางการเกษตร อันเนื่องมาจากการใช้ปุ๋ยเคมี/สารกำจัดศัตรูพืช การเผาทำลายเศษพืช ปัญหาเหล่านี้ หากมีการจัดการอย่างเป็นระบบ และร่วมมือกันทุกฝ่าย เริ่มจาก ประชาชนในชุมชนร่วมมือกันแยกขยะ นำส่วนที่เป็นขยะสด หรือขยะส่วนที่ย่อยสลายได้ มาทำเป็นปุ๋ยหมัก เกษตรกรลดหรือเลิกใช้สารเคมีในงานเกษตร หันมาผลิตและใช้ปุ๋ยหมักจากเศษพืช เพื่อนำไปใช้ในปรับปรุงบำรุงดินในงานเกษตร/สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการลดปัญหามลภาวะทางสิ่งแวดล้อม และปัญหาขยะล้นเมืองได้เป็นอย่างดี


การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์-ชีวภาพ Dmx จากเศษพืช และขยะสด
(สูตรเร่งด่วน-แนวใหม่ …... หมักวันเดียว-ใช้ได้)


ส่วนผสม
• เศษพืชทุกชนิด(ใบไม้/กิ่งไม้/เศษหญ้า/ฟาง)*** 5 ส่วน(ถุงปุ๋ย) 
• ขยะสดทุกชนิด(เศษอาหาร/เศษผัก/เปลือกผลไม้)*** 5 ส่วน
***(เศษพืชและขยะสด ควรตัด/สับ/ย่อยให้ได้ขนาด Æ 0.5 – 1 ซ.ม.)
• มูลสัตว์ หรือ ปุ๋ยหมักชีวภาพจากมูลสัตว์ 2 ส่วน
• แกลบเผา (แกลบดำ) 1 ส่วน
• รำละเอียด 0.5 – 1 ส่วน
• ปุ๋ยแร่ธรรมชาติ (แคลเซียม/ฟอสฟอรัส/ซีโอไลท์) 5 – 10 ก.ก.
• น้ำจุลินทรีย์ชีวภาพDmx + กากน้ำตาล + น้ำ ผสมกันในอัตราส่วน 1 : 1 : 100 และหมักไว้(ล่วงหน้า) 1 – 2 วัน


วิธีทำ 
- ผสมวัสดุทั้งหมดคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน รดหรือฉีดพ่นด้วยน้ำ จุลินทรีย์ชีวภาพ จนชุ่ม ให้ได้ความชื้นประมาณ 40% แล้วกองปุ๋ยบนพื้นซีเมนต์ หรือพื้นดินที่ปูด้วยผ้าเต็นท์ (ควรทำในที่ร่มหรือโรงปุ๋ย) คลุมกองปุ๋ยด้วยกระสอบปุ๋ย หรือกระสอบป่าน ใช้เวลาหมัก 1 - 2 วัน จึงนำไปใช้ได้ 


วิธีใช้ 
• นำปุ๋ยหมักไปใช้กับพืชทุกชนิด ในปริมาณ 200 - 300 ก.ก. ต่อไร่ หรือตามความเหมาะสม 
• นำปุ๋ยหมักคลุมแปลงปลูกพืชผัก พืชไร่ ทุกชนิด เพื่อเป็นอาหารต่อเนื่องให้แก่พืช ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในแปลง และป้องกันวัชพืชขึ้นในแปลงผักได้เป็นอย่างดี หรือใช้ผสมดินรองก้นหลุม ก่อนปลูกไม้ผลหรือไม้ดอกไม้ประดับ.
 

ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน

การผลิตพลังงานจากชีวมวล


มาตรการพลังงานทดแทน : การผลิตพลังงานจากชีวมวล
         ชีวมวล (Biomass) คือ สารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและสามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานได้ ได้แก่ เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หรือเศษวัสดุจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการเกษตร ยกตัวอย่างเช่น
 
แกลบ
   
แกลบ (Rice Husk) ได้จากกระบวนการสีข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารในโรงสีข้าว
ฟางข้าว (Rice Straw) ได้จากกระบวนการเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกจากนาข้าว
ฟางข้าว
ชานอ้อย
ขี้เลื่อย
ชานอ้อย (Bagasse) ได้จากกระบวนการหีบอ้อยเพื่อผลิตน้ำตาลทรายในโรงน้ำตาล
เศษไม้-ปีกไม้ (Wood Waste) ขี้เลื่อย (Saw Dust) และ เปลือกไม้ (Bark) ได้จากกระบวนการแปรรูปไม้ยางพาราหรือไม้ยูคาลิปตัสในโรงเลื่อยและโรงแปรรูปไม้
เส้นใยปาล์ม
  เส้นใยปาล์ม (Palm Fiber) ทะลายปาล์ม (Palm Empty Bunch) และ กะลาปาล์ม (Palm Shell) ได้จากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มดิบออกจากผลปาล์มสด 
เหง้ามันสำปะหลัง (Tapioca Rhizome) ได้จากกระบวนการเก็บเกี่ยวหัวมันสำปะหลังสดในไร่มัน
  ซังข้าวโพด(Corncob) ได้จากกระบวนการสีข้าวโพดเพื่อนำเมล็ดข้าวโพดออกจากฝักข้าวโพด

          เนื่องจากในขั้นตอนของการเจริญเติบโตของพืชนั้น พืชได้ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) น้ำ (H2O) และแร่ธาตุต่างๆ เพื่อเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง เพื่อให้ได้ออกมาเป็นมวลสารของพืช ที่ประกอบด้วยธาตุองค์ประกอบหลักได้แก่ คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) และไนโตรเจน (N) แล้วกักเก็บไว้ตามส่วนต่างๆ ของพืช และเมื่อนำพืชหรือชีวมวลดังกล่าวมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อเผาไหม้ให้ได้พลังงาน คาร์บอน (C) ที่สะสมอยู่ในชีวมวลจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศได้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งก็จะถูกนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของพืชต่อไป ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการนำพลังงานที่สะสมในชีวมวลมาใช้ประโยชน์จึงเป็นการใช้พลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) สามารถช่วยลดผลกระทบที่มีอยู่ในปัจจุบันจากปรากฏการณ์โลกร้อน (Global Warming) ได้
การใช้ประโยชน์จากพลังงานชีวมวล สามารถใช้ได้ทั้งในรูปของพลังงานความร้อนเพื่อผลิตไอน้ำหรือน้ำมันร้อนใช้ในกระบวนการผลิตของโรงงานต่างๆ หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้า โดยจะใช้เชื้อเพลิงชีวมวลชนิดใดชนิดหนึ่งที่กล่าวมาข้างต้น หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ และเนื่องจากต้นทุนพลังงานจากชีวมวล ซึ่งก็คือ ราคาของชีวมวลเทียบกับพลังงานที่ได้จากชีวมวล ยังมีราคาถูกเทียบกับต้นทุนพลังงานจากการใช้น้ำมันปิโตรเลียม เช่น น้ำมันเตา จึงได้มีการนำชีวมวลต่างๆ มาใช้ทดแทนน้ำมันเตาเพื่อผลิตพลังงานความร้อนอย่างแพร่หลาย และยังเป็นการสนับสนุนการใช้เศษวัสดุการเกษตรในประเทศเพื่อลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลต่างๆ
     1.1 องค์ประกอบของชีวมวล (Biomass Compositions)

          องค์ประกอบของชีวมวลหรือสสารทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักคือ


  • ความชื้น (Moisture)

    ความชื้นหมายถึงปริมาณน้ำที่สะสมอยู่ในชีวมวล
     


  • ส่วนที่เผาไหม้ได้ (Combustible substance)

    ส่วนที่เผาไหม้ได้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ สารระเหย (Volatiles Matter) และคาร์บอนคงที่ (Fixed Carbon)
     


  • ส่วนที่เผาไหม้ไม่ได้ หรือขี้เถ้า (Ash)

    เมื่อชีวมวลถูกเผาไหม้อย่างสมบูรณ์แล้ว จะมีเนื้อสารบางส่วนที่ไม่สามารถเผาไหม้ได้ ซึ่งคือขี้เถ้า โดยชีวมวลแต่ละประเภทจะมีสัดส่วนของปริมาณขี้เถ้าในชีวมวลแตกต่างกัน
 
1.2 พลังงานที่ได้จากชีวมวล (Biomass Heating Value)

          ชีวมวลแต่ละประเภทจะให้พลังงานจากการเผาไหม้แตกต่างกัน ตามลักษณะองค์ประกอบต่างๆ ของชีวมวลแต่ละชนิด และสัดส่วนความชื้นที่สะสมอยู่ในชีวมวล โดยค่าความร้อนหรือพลังงานที่ได้จากการเผาไหม้ชีวมวล จะแสดงได้เป็น

          1) ค่าความร้อนต่ำ (Low Heating Value, LHV) เป็นค่าพลังงานที่สามารถนำมาใช้ได้จริงจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวล ซึ่งได้หักพลังงานส่วนหนึ่งที่ต้องใช้ในการระเหยน้ำที่สะสมอยู่ในชีวมวลออกไประหว่างการเผาไหม้ โดยทั่วไปจะมีหน่วยเป็น กิโลจูล (kJ) ต่อกิโลกรัมชีวมวล (kg) หรือ กิโลแคลอรี (kcal) ต่อกิโลกรัมชีวมวล (kg)

          2) ค่าความร้อนสูง (High Heating Value, HHV) เป็นค่าพลังงานทั้งหมดที่ได้จากการเผาไหม้ชีวมวล มีหน่วยเป็น kJ/kg หรือ kcal/kg

จากการสำรวจคุณลักษณะของชีวมวลประเภทต่างๆ จะได้คุณสมบัติเบื้องต้น และค่าพลังงานความร้อนที่ได้จากชีวมวลแต่ละประเภทดังนี้

คุณสมบัติชีวมวลต่างๆ
Moisture

%
Ash

%
Volatile Matter

%
Fixed Carbon

%
Higher Heating Value

kJ/kg
Lower Heating Value

kJ/kg
แกลบ (Rice Husk)12.0012.6556.4618.8814,75513,517
ฟางข้าว (Rice Straw)10.0010.3960.7018.9013,65012,330
ชานอ้อย (Bagasse)50.731.4341.985.869,2437,368
ใบอ้อย (Cane Trash)9.206.1067.8016.9016,79415,479
ไม้ยางพารา (Parawood)45.001.5945.707.7110,3658,600
เส้นใยปาล์ม (Palm Fiber)38.504.4242.6814.3913,12711,400
กะลาปาล์ม (Palm Shell)12.003.5068.2016.3018,26716,900
ทะลายปาล์ม (Empty Fruit Bunch)58.602.0330.468.909,1967,240
ต้นปาล์ม (Palm Trunk)48.401.2038.7011.709,3707,556
ทางปาล์ม (Palm Leaf)78.400.7016.304.603,9081,760
ซังข้าวโพด (Corncob)40.000.9045.4213.6811,2989,615
ลำต้นข้าวโพด (Corn Stalk)41.703.7046.468.1411,7049,830
เหง้ามันสำปะหลัง (Tapioca Rhizome)59.401.5031.008.107,4515,494
เปลือกไม้ยูคาลิปตัส (Eucalyptus Bark)60.002.4428.009.566,8114,917
ที่มา: ศูนย์ส่งเสริมพลังงานชีวมวล มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ


เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ


ก๊าซชีวภาพ (Biogas)
          คือ ก๊าซที่เกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้ออกซิเจน ในสภาวะไม่ใช้อากาศ
เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ (Biogas Technology)
          เป็นเทคโนโลยีการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะที่ไร้อากาศ (Anaerobic Digestion Technology) โดยกลุ่มของจุลินทรีย์ (Anaerobic Bactiria Group) ที่ทำหน้าที่ร่วมกันเปลี่ยนรูปสารอินทรีย์ (Organic Matter) โมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรท และไขมัน ให้เป็นสารโมเลกุลที่เล็กลงและเปลี่ยนรูปให้เป็นกรดอินทรีย์ (Fatty Acid) และเป็นก๊าซชีวภาพ (Biogas) ในที่สุด
องค์ประกอบของก๊าซชีวภาพ
องค์ประกอบหลักของก๊าซชีวภาพ ที่เกิดขึ้นโดยขบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ คือ
          1. ก๊าซมีเทน (CH4) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักและมีสมบัติเป็นก๊าซเชื้อเพลิง จะมีสัดส่วนอยู่ประมาณร้อยละ 65-70
          2. ก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์ (CO2) เป็นส่วนประกอบรอง มีสมบัติเป็นก๊าซเฉื่อยไม่ติดไฟ มีสัดส่วนอยู่ประมาณร้อยละ 28-33
          3. ก๊าซอื่นๆ เช่น ก๊าซไฮโดรเจน (H2) ก๊าซไนโตรเจน (N2) ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) เป็นต้น จะมีอยู่ประมาณร้อยละ 1-2
          ก๊าซชีวภาพที่มีก๊าซมีเทนมากกว่าร้อยละ 50 เมื่อผสมอากาศมากกว่า 5-7 เท่า สามารถจุดไฟติดได้ที่อุณหภูมิประมาณ 600-700 องศาเซลเซียส และให้พลังงานความร้อน ดังนั้นก๊าซชีวภาพจึงสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทน เพื่อทดแทนพลังงานอื่นๆ ได้
สมบัติและประโยชน์ของก๊าซชีวภาพ
ศูนย์ประสานงานโครงการส่งเสริมเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ พ.ศ. 2551

การแปลงขยะให้เป็นทอง

การแปลงขยะให้เป็นทอง
               การผลิตและการใช้ประโยชน์ปุ๋ยอินทรีย้ำจากขยะสดบ้านเรือน(ใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพและสารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น)
               กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการผลิตสารเร่งพด. 6 ซึ่งมีประสิทธิภาพในการหมักและย่อยสลายขยะสด โดยการแปรรูปให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์น้ำและยังสามารถใช้เป็นสารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น เป็นการช่วยลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
ความหมายของสารเร่ง พด.6
               สารเร่ง พด. 6 เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักเศษอาหารในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำสำหรับทำความสะอาดคอกสัตว์ บำบัดน้ำเสีย และลดกลิ่นเหม็นตามท่อระบายน้ำ ซึ่งประกอบด้วย
  •  
ยีสต์ผลิตแอลกฮอล์ กรดอินทรีย์
  •  
แบคทีเรียผลิตเอนไซม์โปรทีเอส (Protease) ย่อยสลายโปรตีน
  •  
แบคทีเรียผลิตเอนไซม์โลเปส (Lipase) ย่อยสลายไขมัน
แบคทีเรียผลิตกรดแลคติก
คุณสมบัติของเชื้อจุลินทรีย์ในสารเร่ง พด.6
1. เป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากเศษอาหาร ผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์
2. เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการแสงและอากาศ
3. เจริญได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 30-35 องศาเซลเซียส
4. เป็นจุลินทรีย์ที่ต้องการความชื้นสูง 100 เปอร์เซ็นต์
วิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากขยะสดครัวเรือน 
ส่วนผสมในการทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากขยะสดครัวเรือน (20 ลิตร)
เศษอาหารในครัวเรือน 15 กิโลกรัม
น้ำตาล 5 กิโลกรัม
น้ำ 5 ลิตร
สารเร่ง พด.6 1 ซอง (25 กรัม)

อุปกรณ์หรือภาชนะในการหมัก
ถังพลาสติก (ขนาด 20 ลิตร) พร้อมฝาปิด
ถุงไนลอน (ขนาดใกล้เคียงกับถัง) หรือถุงปุ๋ย
วิธีทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 
1.
นำเศษวัสดุและน้ำตาลผสมลงในถุงไนลอน ซึ่งรองอยู่ในถังหมัก
2.
ละลายสารเร่ง พด.6 ในน้ำ 5 ลิตร แล้วเทลงตามไปในถังหมัก
3.
คลุกเคล้าหรือคนให้ส่วนผสมเข้ากัน
4.
ปิดฝาไม่ต้องสนิท ตั้งทิ้งไว้ในร่ม ใช้ระยะเวลาหมัก 20 วัน
5.
นำถุงไนลอนออกจากถังหมักพร้อมกับรีดถุงเพื่อบีบน้ำออกให้หมดลงในถังหมัก
6.
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ได้นำมาใส่ในขวดพลาสติก ปิดฝาเก็บไว้ และเก็บในที่ร่มสำหรับใช้ประโยชน์ต่อไป
7.
กากวัสดุที่เหลือจากการหมัก สามารถนำไปผสมกับเศษใบไม้เพื่อทำเป็นปุ๋ยหมักสำหรับปรุบปรุง
 บำรุงดินต่อไป
การใช้ประโยชน์ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ผลิตได้จากขยะสดครัวเรือน
                ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ทำจากขยะสดครัวเรือน สามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นสารบำบัดน้ำเสีย และขจัดกลิ่นเหม็นในการทำความสะอาดภายในบ้านเรือนได้อย่างดี และนำไปใช้ในการส่งเสริมการเจริญเติบโต ให้กับต้นไม้กับต้นไม้บริเวณบ้านเรือน โดยมีวิธีกานำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้ คือ
1.
ทำความสะอาดพื้นบริเวณบ้านเรือน:โดยทำการผสมปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 1 ส่วนต่อน้ำ 100 ส่วนแล้วทำการราดลงบนบริเวณพื้นที่ที่สกปรกให้ทั่วทุกวัน
2.
การทำความสะอาดท่อระบายน้ำและห้องน้ำ:โดยทำการผสมปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 1 ส่วนต่อน้ำ10 ส่วน แล้วทำการราดลงบริเวณส่วนบริเวณส่วนดังกล่าวทุกวัน
3.
การทำความสะอาดสัตว์เลี้ยง:หลังจากที่มีการอาบน้ำสัตว์เลี้ยงเสร็จแล้วนำปุ๋ยอินทรีย์น้ำ1 ส่วน ผสมกับน้ำ 50 ส่วน แล้วนำไปอาบให้ทั่วตัวสัตว์อีกครั้ง
4.
การทำความสะอาดสระ หรือบอน้ำบริเวณบ้านเรือน:โดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 5 ลิตรต่อปริมาณบ่อ 50 ลูกบาศก์เมตร เป็นการช่วยกำจัดของเสียบริเวณก้นบ่อและเป็นอาหารของปลาในบ่อทุก 1 เดือน
5.
การใช้ประโยชน์เป็นสารเสริมการเจริญเติบโตให้กับต้นไม้:
5.1 พืชผัก/ไม้ดอกไมประดับ/สนามหญ้า โดยทำการผสมปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 1 ส่วนกับน้ำ 1,000 ส่วน ฉีดพ่นบนใบ และรดลงดินทุก 15 วัน
5.2 พืชไม้ผลโดยทำการผสมปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 1 ส่วนกับน้ำ 500 ส่วน ฉีดพ่นบนใบ และรดลงดินทุก 1 เดือน


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่
กลุ่มวิจัยและพัฒนาอินทรีย์วัตถุเพื่อการเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน โทร.0-2579-2875 E-mail: ord_4@ldd.go.th
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต หรือสถานีพัฒนาที่ดินในพื้นที่

การทำ น้ำหมักชีวภาพ


การทำขยะหอม (น้ำหมักชีวภาพ)
        การทำขยะหอม ขยะหอมคือ วิธีการกำจัดขยะสด หรือขยะเปียก ให้นำกลับมาใช้ใหม่อย่างมีคุณค่าด้วยการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ในขยะสดให้เจริญเติบโต เพื่อช่วยการย่อยสลายให้สมบูรณ์ ทำให้ไม่เกิดก๊าซไฮโดยเจนซัลไฟด์ หรือ ก๊าซไข่เน่า จึงไม่มีกลิ่นเหม็นในขยะสดนั้น ๆ
ขยะหอม (น้ำหมักชีวภาพ) สูตรที่ 1
อุปกรณ์         1. ถังมีฝาปิด
        2. ถุงปุ๋ย
        3. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง
        4. หัวเชื้อจุลินทรีย์ขยะหอม
        5. เศษอาหาร
วิธีทำ
        1. เติมน้ำ 8 ลิตรใส่ถัง ถ้าเป็นน้ำประปา ควรทิ้งไว้ 2 วัน
        2. เทกากน้ำตาล 250 ซีซี ละลายน้ำหรือใช้น้ำตาลทรายแดง
        3. ประมาณ 3 ขีด
        4. ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์250 ซีซี แล้วปิดฝาทิ้งไว้ 2 วัน นำถุงปุ๋ยใส่ลงในถังหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ ขยะหอม ที่ผสมเรียบร้อยโดยใช้เป็นถังทิ้งขยะเศษอาหารตามปกติ
        ขยะที่หมักในน้ำจุลินทรีย์ขยะหอมจะไม่เหม็น เมื่อทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน ก็สามารถนำเอาน้ำจุลินทรีย์ขยะหอมมาใช้งานได้
ขยะหอม (น้ำหมักชีวิภาพ) สูตรที่ 2
อุปกรณ์ 

        1. ถังพลาสติกขนาด 20 ลิตร
        2. ขยะสด 3 กิโลกรัม
        3. น้ำตาลแดง 1 กิโลกรัม (ชนิดใส่เต้าฮวย)
        4. ถุงปุ๋ยขนาดพอเหมาะกับถัง (ถุงข้าวสารหรือถุงน้ำตาลที่น้ำซึมผ่านได้)
วิธีทำ
        1.ใช้ขยะสดทุกชนิดตั้งแต่เศษผักเปลือกผลไม้ถ้าชิ้นโตก็สับให้เล็กๆเศษอาหารเหลือทานทุกอย่าง ข้าว , กระดูก , เศษเนื้อ ฯลฯ
        2. นำมา 3 กิโลกรัม
        3. ผสมกับน้ำตาลแดง 1 กิโลกรัม
        4. คลุกให้เข้ากัน โดยไม่ต้องเติมน้ำ
        5. แล้วนำใส่ถุงปุ๋ย
        6. ทิ้งไว้ 10 วัน จะได้น้ำจุลินทรีย์ซึมออกมา
        7. เติมน้ำเปล่าลงไป 5 เท่าของปริมาตรน้ำจุลินทรีย์ที่ได้
        8.ช่วงเติมน้ำก็เติมขยะสดลงได้ทุกวันจนขยะเต็มถุงปุ๋ยก็ยกออกมาเป็นปุ๋ยใส่ต้นไม้
ที่มา : มูลนิธิชุมชนไท http://www.chumchonthai.or.th/

การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จากเศษอาหาร

การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จากเศษอาหาร
ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์
การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ จากเศษอาหาร
ทุกครัวเรือน ร้านอาหาร ภัตตาคาร ฯลฯ ล้วนมีเศษอาหารที่เป็นผักผลไม้ และเศษอาหารอื่น ๆ จำนวนมากน้อยแล้วแต่สถานที่ สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยหมักชั้นเลิศ เพื่อใส่พืชผักและผลไม้ที่ปลูกไว้ได้
อุปกรณ์
- ถังพลาสติกมีฝาปิดขนาด 20 – 200 ลิตร แล้วแต่ปริมาณเศษอาหารที่จะได้หรือต้องการ เจาะรูติดก๊อกน้ำบริเวณก้นถัง เพื่อไว้ระบายน้ำปุ๋ยหมัก ใช้ก๊อกให้มีขนาดโตพอสมควร เพื่อป้องกันการอุดตัน
- ถุงขยะพลาสติกสีดำ เจาะรูเล็ก ๆ 2 – 3 รู เพื่อให้น้ำปุ๋ยหมักผ่านทะลุได้ หรือจะใช้ตาข่ายไนล่อนตาถี่เย็บเป็นถุงก็ได้ หรือจะใช้กระสอบปุ๋ยน้ำซึมผ่านได้ก็ใช้ได้
- นำเอาถุงใส่ปุ๋ยที่เตรียมไว้ ใส่ลงในถังหมักปุ๋ยที่มีวัสดุรองก้นถัง ให้สูงจากระดับก๊อกน้ำเล็กน้อย
- ใช้กากน้ำตาล 20 – 40 ซีซี ใส่คลุกกับเศษอาหาร 1 ก.ก. และใส่จุลินทรีย์ EM ขยาย 10 – 20 ซีซี คลุกอีกครั้ง ใส่ลงในถุงใส่ปุ๋ยทุกวันจนเต็มถุง
- ปิดฝาถังหมักไว้ตลอดเวลา หมักไว้อย่างน้อย 7 วัน ก็จะมีน้ำปุ๋ยหมักซึมออกมา อยู่ที่ก้นถังหมัก
- ไขก๊อกเอาน้ำปุ๋ยหมักที่ได้ไปผสมน้ำในอัตรา 1 : 500 – 1,000 รดพืชและต้นไม้ทุก ๆ วัน
- ผสมน้ำปุ๋ยหมักกับอัตราส่วน 1 : 20 – 50 หรือไม่ผสมก็ได้ราดพื้นห้องส้วมชักโครกหรือจุดที่มีกลิ่นเหม็นบริเวณบ้าน หรือราดในท่อน้ำทิ้งเพื่อดับกลิ่นก็ได้ผลดี
- กากอาหารที่เหลือก็สามารถไปคลุมกับดินเป็นปุ๋ยต้นไม้ได้ดี
ข้อสังเกต
ถ้าหมักได้ที่จะไม่มีแมลงวันหรือมีกลิ่นเหม็น แต่กลิ่นจะหอมอมเปรี้ยว
ถ้ามีกลิ่นเหม็นและมีกลิ่นก๊าซแอมโมเนีย แสดงว่าหมักไม่ได้ผล
ระหว่างหมักอาจจะมีหนอนแมลงวันเกิด แต่มันไม่กลายเป็นแมลงวัน จะเป็นหนอนตัวโตกว่าปกติ มีอายุอยู่นานได้หลาย ๆ วัน แล้วจะตายไปเอง
ที่มา: ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มอ. คณะวิทยาศาสตร์

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

ผลกระทบของขยะต่อสภาวะแวดล้อม

                                ขยะชุมชน (Municipal solid waste)
นิยามความหมายของกรมควบคุมมลพิษ (กรมควบคุมมลพิษ, 2547)
ขยะชุมชน (Municipal solid waste) หมายถึง ขยะที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน เช่น
ตลาดสด บ้านพักอาศัย ธุรกิจร้านค้า สถานประกอบการ สถานบริการ สถาบันต่างๆ รวมทั้งเศษวัสดุ
ก่อสร้าง ทั้งนี้ไม่รวมของเสียอันตรายและมูลฝอยติดเชื้อ
                                ผลกระทบของขยะต่อสภาวะแวดล้อม
ขยะนับวันจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นตามจำนวนประชากร หากไม่มีการกำจัดให้ถูกวิธีและเหมาะสมแล้ว
ปัญหาความสกปรกและการเกิดมลพิษทั้งทางดิน น้ำ และอากาศ จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มนุษย์
และสิ่งมีชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
                               ผลกระทบต่อดิน (Soil Pollution)
ขยะที่เทกองทิ้งไว้ จะทำให้พื้นดินสกปรกดินมีสภาพเป็นเกลือ ด่าง หรือกรด หรือมีสารพิษ
ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในดิน ตลอดจนทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินเปลี่ยนแปลงไป เช่น โซเดียมทำให้เนื้อดินแตกร่วน นอกจากนี้ในกองขยะอาจมีโลหะหนักที่ปะปนมากับขยะ เช่น ปรอท แคดเมียมตะกั่วหากมีการปนเปื้อนลงสู่ดินแล้วอาจมีการแพร่กระจายมาสู่คน ทำให้เกิดเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
                               ผลกระทบต่อแหล่งน้ำ (Water Pollution)
1. ขยะที่ตกลงไปในแหล่งน้ำ ลำคลอง และท่อระบายน้ำ จะทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน การไหล
ของน้ำไม่สะดวกจึงเกิดสภาวะน้ำท่วมได้ง่าย ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องมีการกำจัดขยะในคูคลองหรือท่อระบายน้ำอยู่เสมอ เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว
2. ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ เช่น น้ำเน่า น้ำเป็นพิษ น้ำมีเชื้อโรคปนเปื้อน และน้ำที่มีคราบ
น้ำมัน ซึ่งไม่เหมาะกับการใช้อุปโภคบริโภค สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพน้ำเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะพืชและสัตว์น้ำ น้ำเสียที่เกิดจากกองขยะเป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกสูงซึ่งมีทั้งสารอินทรีย์สารอนินทรีย์ เชื้อโรค และสารพิษต่างๆ เจือปนอยู่ เมื่อไหลไปตามพื้นดินบริเวณใด ก็จะทำให้บริเวณนั้นเกิดความสกปรก ความเสื่อมโทรมของพื้นดินและอาจเปลี่ยนสภาพทำให้ดินมีคุณสมบัติเป็นด่างหรือกรด กรณีที่ไหลลงสู่แหล่งน้ำก็จะทำให้คุณภาพน้ำเสีย
                               ผลกระทบต่ออากาศ (Air Pollution)
ขยะที่กองทิ้งไว้ในชุมชน หรือในแหล่งกำจัดซึ่งไม่มีการฝังกลบ หรือขณะเก็บขนไม่มีการ
ปกปิดอย่างมิดชิด ขยะเหล่านั้นจะส่งกลิ่นเหม็นออกมาชิ้นส่วนของขยะจะปลิวในอากาศทำให้เกิดความ
สกปรกแก่บรรยากาศ ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ นอกจากนี้อีกประการหนึ่งการเผาขยะทำให้เกิดควัน
และขี้เถ้า การหมักหมมและเน่าสลายของขยะ จะก่อให้เกิดก๊าซพิษและกลิ่นเหม็น เนื่องจากขยะที่กองทิ้งไว้นานๆ จะมีก๊าซที่เกิดขึ้นจากการหมัก ได้แก่ ก๊าซชีวภาพ และก๊าซไข่เน่าซึ่งมีกลิ่นเหม็น
                              ผลกระทบต่อทัศนียภาพ (Visual Pollution)
ปัญหาขยะจากการทิ้งไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้เกิดความสกปรก ขาดความเป็นระเบียบ
เป็นที่น่ารังเกียจแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงรวมทั้งผู้พบเห็น ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจเนื่องมาจากการ
ขาดความรับผิดชอบหรือจิตสำนึกที่ดีในการทิ้งขยะของประชาชน หรือความไม่เพียงพอของภาชนะรองรับมูลฝอย
                              แหล่งเพาะพันธุ์และแพร่กระจายของเชื้อโรค (Breeding Places)
โดยเฉพาะขยะติดเชื้อจากสถานพยาบาล ซึ่งปะปนกับขยะทั่วไปทำให้ประชาชนที่ไปคุ้ยเขี่ยมูลฝอย (Scavenger) มีการสัมผัสกับเชื้อโรคที่ปนมากับขยะ นอกจากนี้ขยะเปียกที่มีแบคทีเรียทำหน้าที่ย่อย
สลายมักจะมีเชื้อโรคจากกองขยะแพร่กระจายไปกับน้ำแมลงวัน แมลงสาบ และสุนัขที่มาคุ้ยเขี่ยกองขยะซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่และแหล่งอาหารของสัตว์เหล่านั้น เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดโรคอหิวาต์ ไทฟอยด์ และโรคบิด
                              เกิดเหตุรำคาญ (Nuisance) และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์
เหตุรำคาญที่มาจากกองขยะ เป็นผลมาจากการเกิดผลกระทบต่อทัศนียภาพ ก๊าซพิษ กลิ่นเหม็น
เพราะขยะที่กองทิ้งไว้มักมีปัญหา จะมีขยะเปียก เศษอาหารเป็นองค์ประกอบอยู่ ทำให้เกิดการเน่าเสียหรือการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน ทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟล์ (ก๊าซไข่เน่า) ได้ นอกจากนี้บางครั้งพบว่า เมื่อมีการกำจัดมูลฝอยโดยการเผาเป็นครั้งคราว (Open Dumping on land and Burning) มักจะมีเหตุรำคาญจากควันหรืออันตรายจากสารพิษที่มีการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์
                            ปัญหาการจัดการขยะในประเทศไทย
ปัญหาการจัดการขยะชุมชนมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพมหานคร และ
เมืองศูนย์กลางความเจริญในภาคต่างๆ เนื่องจากปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี แต่หน่วยงานที่
รับผิดชอบไม่สามารถหาที่ดินเพื่อกำจัดขยะในระยะยาวได้ รวมทั้งขาดแคลนเครื่องมืออุปกรณ์ในการเก็บ
รวบรวมและกำจัดขยะให้ถูกสุขลักษณะ หากไม่มีการแก้ไขใดๆ จะทำให้มีสถานที่กำจัดที่ไม่ถูสุขลักษณะ
เพิ่มขึ้นและกระจายทั่วไป เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
การจัดการขยะที่ผ่านมาท้องถิ่นส่วนใหญ่สามารถให้บริการเก็บรวบรวมขยะได้มากขึ้น ทำให้ปริมาณ
ขยะตกค้างน้อยลง แต่ยังมีปัญหาการกำจัดขยะไม่ถูกสุขลักษณะอยู่มาก แม้จะมีการจัดสรรงบประมาณ
ก่อสร้างระบบกำจัดที่ถูกสุขลักษณะมากขึ้น แต่ยังมีหลายพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับงบประมาณและยังมีท้องถิ่น
หลายแห่งที่มีระบบแล้วแต่ไม่สามารถดำเนินงานตามที่ออกแบบไว้ บางแห่งได้รับการต่อต้านจากประชาชนทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมาไม่ได้คำนึงถึงการเตรียมพร้อมที่จะดำเนินงานดูแลรักษาระบบอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีข้อจำกัดด้านบุคลากรและการบริหารจัดการที่ชัดเจนทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ โดยเฉพาะช่วงวิกฤตเศรษฐกิจมีผลทำให้การจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางมีจำกัดและไม่ต่อเนื่อง
ปัญหาและสาเหตุในการจัดการขยะ ทั้งนี้เนื่องมาจาก
1. รูปแบบและองค์ประกอบของขยะจะมีความยากต่อการกำจัดมากยิ่งขึ้น
2. มีข้อจำกัดในด้านทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน
3. งบประมาณในการดำเนินงาน
4. ข้อจำกัดด้านงบประมาณที่มีการจัดสรรให้โดยตรงน้อยมาก และการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
ยังไม่มีประสิทธิภาพ
5. ไม่มีการวางแผนการจัดการขยะร่วมกัน ระหว่างชุมชนที่อาจเกิดประโยชน์จากการใช้
เครื่องมือ อุปกรณ์และระบบกำจัดร่วมกัน
6. การขาดแคลนที่ดินสำหรับใช้เป็นสถานที่กำจัดขยะ
รายงานฉบับสมบูรณ์ : โครงการนำร่องเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์สาธิตเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2-11
7. การดำเนินการและดูแลรักษาระบบกำจัดไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
8. ขาดบุคลากรระดับปฏิบัติงานที่มีความรู้ความชำนาญ
9. แผนการจัดการขยะในระดับท้องถิ่น ยังไม่มีการพิจารณาดำเนินการในลักษณะศูนย์กำจัด
ขยะมูลฝอยรวม
10. ไม่มีระเบียบและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินงาน ตั้งแต่การคัดแยก การเก็บขน
การขนส่ง และการกำจัด รวมทั้งการติดตามตรวจสอบ
11. กฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เช่น มี
ระเบียบให้ท้องถิ่นลงทุนและดำเนินการจัดการขยะร่วมกัน
12. การนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ยังมีน้อย
13. ความร่วมมือจากประชาชนยังมีน้อย ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายค่าธรรมเนียม การทิ้งขยะให้เป็นที่
การคัดแยกขยะที่แหล่งกำเนิด รวมทั้งการสนับสนุนโครงการกำจัดขยะ
                            สถานการณ์ขยะในประเทศไทย
ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมาปริมาณขยะมูลฝอยของประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2536 มีปริมาณมูลฝอย
เกิดขึ้นประมาณวันละ 30,640 ตัน และเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 39,240 ตัน ในปี 2546 โดยมีอัตราเพิ่มเฉลี่ยในปี
2536–2545 ประมาณ ร้อยละ 1.2 ต่อปี 2.6.1 การจัดการขยะในประเทศไทย
การจัดการขยะยังคงเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ โดยปริมาณขยะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
ทั้งนี้จากการขยายตัวของชุมชน การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว และการขยายตัวของภาคธุรกิจ จาก
การคาดการณ์ปริมาณขยะในรอบสิบปีข้างหน้า (2545-2554) พบว่าปริมาณขยะจะเพิ่มขึ้นจากวันละ 39,400 ตัน
ในปี 2545 เป็นวันละ 47,000 ตันในปี 2554 หรือมีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.0 ต่อปีคิดเป็นปริมาณขยะ
เพิ่มขึ้นประมาณวันละ 700-900 ตัน
          การคาดการณ์ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนในปี พ.ศ. 2545 – 2554
ปี พ.ศ. ปริมาณขยะมูลฝอย (ตัน/วัน) ปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่ม (ตัน/วัน)
2545              39,400                        765
2546              40,165                        780
2547              40,961                        796
2548              41,773                        812
2548              41,773                        812
2549              42,601                        828
2550              43,445                        845
2551              44,307                        862
2552              45,185                        879
2553              46,080                        897
2554              46,994                        915
สำหรับปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากชุมชนทั่วประเทศในปี 2546 พบว่า ประเทศไทยมีปริมาณขยะ
เกิดขึ้นทั่วประเทศประมาณปีละ 14.4 ล้านตัน เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครมีปริมาณขยะเกิดขึ้นประมาณ
วันละ 9,340 ตัน ซึ่งลดลงจากปี 2545 ประมาณ 300 ตัน ในขณะที่ปริมาณขยะในเขตเทศบาลและเมือง
พัทยาเกิดขึ้นประมาณวันละ 12,100 ตัน นอกเขตเทศบาลซึ่งครอบคลุมพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล
ทั้งหมดเกิดขึ้นประมาณวันละ 17,800 ตัน ดังรูปที่ 2-1 ทั้งนี้การที่ปริมาณในเขตกรุงเทพมหานครลดลง
อาจเนื่องมาจากมีการส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะเพื่อลดปริมาณขยะและขยะส่วนหนึ่งได้ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่มากขึ้นส่วนปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
เนื่องจากปัจจัยหลายประการ (กรมควบคุมมลพิษ, 2546) ดังนี้
1. การเพิ่มและย้ายถิ่นฐานของจำนวนประชากร
2. การขยายตัวของชุมชนอันเนื่องมาจากการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมากขึ้น
3. การกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐบาลทำให้ภาคธุรกิจขยายตัว
4. การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว
5. การส่งเสริมหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้มีการบริโภคและอุปโภคของประชาชนเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้มีปริมาณขยะ
เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

ที่มา - สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจร








แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจร
เน้นรูปแบบของการวางแผนจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยที่จะต้องส่งเข้าไปทำลายด้วยระบบต่างๆ ให้น้อยที่สุด สามารถนำขยะมูลฝอย มาใช้ประโยชน์ทั้งในส่วนของการใช้ซ้ำและแปรรูปเพื่อใช้ใหม่ (Reuse & Recycle) รวมถึงการกำจัดที่ได้ผลพลอยได้ เช่น ปุ๋ยหมัก หรือพลังงาน โดยสรุปวิธีการดำเนินการตาม แนวทางมีดังนี้ คือ
1. การลดปริมาณการผลิตมูลฝอย รณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดการผลิตมูลฝอยในแต่ละวันได้แก่
  • ลดการทิ้งบรรจุภัณฑ์โดยการใช้สินค้าชนิดเติมใหม่ เช่น ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาทำความสะอาดและถ่านไฟฉายชนิดชาร์ตใหม่ เป็นต้น
  • เลือกใช้สินค้าที่มีคุณภาพมีห่อบรรจุภัณฑ์น้อย อายุการใช้งานยาวนาน และตัวสินค้าไม่เป็นมลพิษ
  • ลดการใช้วัสดุกำจัดยาก เช่น โฟมบรรจุอาหาร และถุงพลาสติก
2. จัดระบบการรีไซเคิล หรือการรวบรวมเพื่อนำไปสู่การแปรรูปเพื่อใช้ใหม่
  1. รณรงค์ให้ประชาชนแยกของเสียนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น กระดาษ พลาสติก และโลหะ นำไปใช้ซ้ำ หรือนำไปขาย/รีไซเคิล ขยะเศษอาหารนำมาหมักทำปุ๋ย ในรูปปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยหมักเพื่อใช้ในชุมชน
  2. จัดระบบที่เอื้อต่อการทำขยะรีไซเคิล
    1. จัดภาชนะ (ถุง/ถัง) แยกประเภทขยะมูลฝอยที่ชัดเจนและเป็นมาตรฐาน
    2. จัดระบบบริการเก็บโดย
      • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บเอง โดยการจัดเก็บแบ่งเวลาการเก็บ เช่น หากแยกเป็นถุง 4 ถุง ขยะย่อยสลายได้ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะทั่วไป ให้จัดเก็บขยะย่อย
        สลายและขยะทั่วไปทุกวัน ส่วนขยะรีไซเคิลและขยะอันตราย อาจจัดเก็บสัปดาห์ละครั้งหรือตามความเหมาะสม
      • จัดกลุ่มประชาชนที่มีอาชีพรับซื้อของเก่าให้ช่วยเก็บขยะรีไซเคิลในรูปของการรับซื้อ โดยการแบ่งพื้นที่ในการจัดเก็บและกำหนดเวลาให้เหมาะสม
      • ประสานงานกับร้านค้าที่รับซื้อของเก่าที่มีอยู่ในพื้นที่หรือพื้นที่ใกล้เคียงในการรับซื้อขยะรีไซเคิล
      • จัดระบบตามแหล่งการเกิดขยะขนาดใหญ่ เช่น ตลาด โรงเรียน สถานที่ราชการ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
    3. จัดกลุ่มอาสาสมัครหรือชมรมหรือนักเรียนให้มีกิจกรรม/โครงการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ เช่น
      • โครงการขยะรีไซเคิลแลกสิ่งของ เช่น ต้นไม้ ไข่
      • โครงการทำปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยอีเอ็ม ขยะหอม ปุ๋ยหมัก
      • โครงการตลาดนัดขยะรีไซเคิล
      • โครงการธนาคารวัสดุเหลือใช้
      • โครงการร้านค้าสินค้ารีไซเคิล
    4. จัดตั้งศูนย์รีไซเคิล
    5. หากพื้นที่ที่ปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นในแต่ละวันเป็นปริมาณมากๆ อาจจะมีการจัดตั้งศูนย์คัดแยกขยะมูลฝอยซึ่งสามารถจะรองรับจากชุมชนใกล้เคียงหรือรับซื้อจาก ประชาชนโดยตรงซึ่งอาจจะให้เอกชนลงทุนหรืออาจให้สัมปทานเอกชนก็ได้
3. การขนส่ง 
         1. ระยะทางไม่ไกลให้รถขนส่งขยะมูลฝอยไปยังสถานที่กำจัดโดยตรง
         2. ระยะทางไกลและมีปริมาณขยะมูลฝอยมากอาจจะต้องสร้างสถานีขนถ่าย เพื่อถ่ายเทจากรถเก็บขนขยะมูลฝอยลงสู่รถบรรทุกขนาดใหญ่

4. ระบบกำจัด 

เนื่องจากขยะมูลฝอยใช้ประโยชน์ใหม่ได้จึงควรจัดการเพื่อกำจัดทำลายให้น้อยที่สุด ควรเลือกระบบกำจัดแบบผสมผสานเนื่องจากปัญหาขาดแคลนพื้นที่ จึงควรพิจารณาปรับปรุงพื้นที่
กำจัดมูลฝอยที่มีอยู่เดิม และพัฒนาให้เป็นศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย โดยมีขั้นตอนดังนี้
  • จัดระบบคัดแยกขยะมูลฝอย
  • ระบบกำจัดผสมผสานหลาย ๆ ระบบในพื้นที่เดียวกัน ได้แก่ หมักทำปุ๋ย ฝังกลบ และวิธีอื่น ๆ เป็นต้น
การคัดแยก เก็บรวบรวมและขนส่งขยะมูลฝอย


ในการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร จำเป็นต้องจัดให้มีระบบการคัดแยกขยะมูลฝอยประเภทต่างๆ ตามแต่ลักษณะองค์ประกอบโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ สามารถดำเนินการได้ตั้งแต่แหล่งกำเนิด โดยจัดวางภาชนะให้เหมาะสม ตลอดจนวางระบบการเก็บรวบรวมมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับระบบการคัดแยกขยะมูลฝอย พร้อมทั้งพิจารณาควรจำเป็นของสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยและระบบขนส่งขยะมูลฝอยไปกำจัดต่อไป

ภาชนะรองรับขยะมูลฝอย


เพื่อให้การจัดเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการปนเปื้อนของขยะมูลฝอยที่มีศักยภาพในการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ จะต้องมีการตั้งจุดรวบรวมขยะ มูลฝอย (Station) และให้มีการแบ่งแยกประเภทของถังรองรับขยะมูลฝอยตามสีต่าง ๆ โดยมีถุงบรรจุภายในถังเพื่อสะดวกและไม่ตกหล่น หรือแพร่กระจาย ดังนี้


ถังขยะย่อยสลายได้ สีเขียว รองรับขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้

ถังเก็บขยะสีเขียว
       

ถังเก็บขยะรีไซเคิล สีเหลือง รองรับขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลหรือขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ

ถังขยะสีเหลือง
       

ถังเก็บขยะมีพิษ สีเทาฝาสีส้ม รองรับขยะที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋องสีสเปรย์ กระป๋องยาฆ่าแมลง ภาชนะบรรจุ
สารอันตรายต่าง ๆ

ถังเก็บขยะมีพิษสีแดง
       

ถังเก็บขยะทั่วไป สีฟ้า รองรับขยะย่อยสลายไม่ได้ ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าการรีไซเคิล เช่น พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ถุงพลาสติก โฟมและฟอล์ยที่เปื้อนอาหาร

ถังเก็บขยะทั่วไป
       


เกณฑ์มาตรฐานภาชนะรองรับขยะมูลฝอย


  1. ควรมีสัดส่วนของถังขยะมูลฝอยจากพลาสติกที่ใช้แล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก
  2. ไม่มีส่วนประกอบสารพิษ (toxic substances) หากจำเป็นควรใช้สารเติมแต่งในปริมาณที่น้อยและไม่อยู่ในเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
  3. มีความทนทาน แข็งแรงตามมาตรฐานสากล
  4. มีขนาดพอเหมาะมีความจุเพียงพอต่อปริมาณขยะมูลฝอย สะดวกต่อการถ่ายเทขยะมูลฝอยและการทำความสะอาด
  5. สามารถป้องกัน แมลงวัน หนู แมว สุนัข และสัตว์อื่น ๆ มิให้สัมผัสหรือคุ้ยเขี่ยขยะมูลฝอยได้


การลดปริมาณขยะมูลฝอย


การลดปริมาณขยะมูลฝอยให้ได้ผลดีต้องเริ่มต้นที่การคัดแยกขยะมูลฝอยก่อนทิ้ง เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อน ทำให้ได้วัสดุเหลือใช้ที่มีคุณภาพสูง สามารถนำไป Reused-Recycle ได้ง่าย รวมทั้งปริมาณขยะมูลฝอยที่จะต้องนำไปกำจัดมีปริมาณน้อยลงด้วย ซึ่งการคัดแยกขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดนั้นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละชุมชน เช่น ครัวเรือน ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน บริษัท สถานที่ราชการต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งปริมาณ และลักษณะสมบัติขยะมูลฝอยที่แตกต่างกันด้วย ทั้งนี้การคัดแยกขยะมูลฝอยสามารถดำเนิน การได้ 4 ทางเลือก คือ
                        ทางเลือกที่ 1 การคัดแยกขยะมูลฝอยทุกประเภทและทุกชนิด
            ทางเลือกที่ 2 การคัดแยกขยะมูลฝอย 4 ประเภท (Four cans)
            ทางเลือกที่ 3 การคัดแยกขยะสด ขยะแห้ง และขยะอันตราย (Three cans)
            ทางเลือกที่ 4 การคัดแยกขยะสดและขยะแห้ง (Two cans)

การนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่


การนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่มีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับสภาพและลักษณะสมบัติของขยะมูลฝอยซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 5 แนวทางหลัก ๆ คือ
  1. การนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (Material Recovery) เป็นการนำมูลฝอยที่สามารถคัดแยกได้กลับมาใช่ใหม่ โดยจำเป็นต้องผ่านกระบวนการแปรรูปใหม่ (Recycle)
    หรือแปรรูป (Reuse) ก็ได้
  2. การแปรรูปเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน (Energy Recovery) เป็นการนำขยะมูลฝอยที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนหรือเปลี่ยนเป็นรูปก๊าซชีวภาพมาเพื่อใช้ประโยชน์
  3. การนำขยะมูลฝอยจำพวกเศษอาหารที่เหลือจากการรับประทานหรือการประกอบอาหารไปเลี้ยงสัตว์
  4. การนำขยะมูลฝอยไปปรับสภาพให้มีประโยชน์ต่อการบำรุงรักษาดิน เช่น การนำขยะมูลฝอยสดหรือเศษอาหารมาหมักทำปุ๋ย
  5. การนำขยะมูลฝอยปรับปรุงพื้นที่โดยนำขยะมูลฝอยมากำจัดโดยวิธีฝังกลบอย่างถูกหลักวิชาการ (Sanitary landfill) จะได้พื้นที่สำหรับใช้ปลูกพืช สร้างสวนสาธารณะ สนามกีฬา เป็นต้น 
  6. ที่มา:ฝ่ายพลังงาน อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม 
    สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย     (www.tei.or.th)

ปัญหาขยะ ปัญหาระดับโลก

  ปัจจุบันปัญหาขยะกลาย เป็นปัญหาหลักๆ ของหลายชุมชน ไม่ว่าชุมชนเล็กหรือใหญ่ เทศบาล สุขาภิบาล หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ โลก เจอปัญหาเรื่องขยะกันทั้งนั้นที่ไหนพลเมืองมีคุณภาพ มีความรับผิดชอบ ก็ดีไป แต่หากชุมชนไหน พลเมืองไร้คุณภาพขาดความรับผิดชอบ ต่อส่วนรวม หนำซ้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดันไม่เอาไหนอีก
  มีหน่วย งานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ต่างทุ่มงบประมาณไปดูงานทั้งในและต่างประเทศกันเป็นว่าเล่นเกี่ยวเนื่องกับการกำจัดขยะแต่นั่นไม่ ใช่สาระสำคัญ แต่สำคัญตรงที่วินัยของคนในชุมชนมากกว่า  ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นระดับสถาบันแรกของสังคมคือสถาบันครอบครัวจนถึงสถาบันต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเป็นผู้ปฏิบัตและเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับสังคมและเยาวชนของชาติซึ่งเป็นลูกหลานของเราเองแต่ที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันคนส่วนมากยังไม่ค่อยคิดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นเท่าไรนัก  ฉะนั้นปัญหาขยะเลยกลายเป็นปัญหาของชุมชนใหญ่ๆ ทั้งประเทศไปในขณะนี้
เรื่องขยะนี้เท่าที่เห็นระบบดังที่เล่าสู่กันแล้ว มันก็แก้ ไม่ยากเย็นก็ทำแบบบ้านเมืองที่เจริญแล้วเขาทำกันไม่ใช่เรื่องน่าอายอะไร สิ่งไหนดีก็รับมาปรับใช้ได้ซึ่งก็นำการแยกขยะมาใช้กับครอบครัวตัวเอง ขยะที่ออกจากบ้านไปนั้นจะเป็นขยะแห้งจำพวกกระดาษและพลาสติก ส่วนขยะเปียกนั้นก็แปรสภาพเป็นปุ๋ยไป
หากบ้านเรามีการจัดเก็บขยะอย่างถูกวิธี จะสร้างประโยชน์มหาศาลให้กับประเทศ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า ขยะเปียกหรือขยะพืชสดนั้น สามารถนำมาทำน้ำหมักชีวภาพและทำปุ๋ยอินทรีย์ได้ ลองคิดดูว่า หากเราสามารถผลิตน้ำหมักและปุ๋ยชีวภาพจากขยะในแต่ละชุมชนและนำไปใช้อย่าง เป็นรูปธรรมจริงๆ จะเกิด คุณประโยชน์แค่ไหนถ้าทำกันทั้งประเทศ เราอาจไม่ต้องนำเข้าปุ๋ยเคมีเลยก็ได้ และนี่อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่ยอมส่งเสริมกันอย่างจริงๆ จังๆ เพราะกลัวเสียผลประโยชน์มันอยู่ที่ว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะเอาจริงแค่ไหน อีกอย่างบ้านเราเรื่องลึกลับซับซ้อนมันมีเยอะ เรื่องง่ายๆ แบบนี้เลยกลายเป็นเรื่องยากไปเสียนี่
  ทิ้งขยะผิดที่ผิดทางยังพอตักเตือนกันได้ แต่อย่าเผลอทำตัวเป็น “ขยะ” ก็แล้วกัน



ภาพจาก:http://blog.eduzones.com/bluesky
หน่วยงานต่างๆในหลายๆโครงการเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการจัดการขยะและการใช้ประโยชน์จากขยะ อย่างเช่น ศูนย์รีไซเคิล ชุุมชนพบสุข ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีหลายโครงงานที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง


Jun 29, '09 2:36 AM

ความสำเร็จโครงการจีจีพี,โรงงานกำจัดขยะเมืองฮิโรชิมา


ความสำเร็จโครงการจีจีพี
ความช่วยเหลือเพื่อโครงการศูนย์รีไซเคิลขยะชุมชน



    เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้จัดพิธีเปิดศูนย์รีไซเคิลขยะชุมชน หมู่บ้านพบสุข
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2548 โดยมีนายฮิโตชิ ทาเกะซุเมะ เลขานุการเอก สถานเอกอัครราชทูต
ญี่ปุ่น และ นายวิชัย บรรดาศักดิ์ นายกเทศมนตรีนครปากเกร็ด ร่วมในพิธี

       ปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นตามการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของเมือง และเทศบาลนครปากเกร็ดก็ไม่อยู่ในข่ายยกเว้น โดยมีค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะคิดเป็นร้อยละ 30 ของงบประมาณของเทศบาล ทำให้เป็นภาระหนัก

       รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความร่วมมือสนับสนุนทางการเงินจำนวน 81,742 ดอลล่าร์สหรัฐ (ประมาณ 3.4 ล้านบาท) สำหรับการก่อสร้างศูนย์รีไซเคิลขยะชุมชนและจัดซื้ออุปกรณ์ตามคำขอของเทศบาลนครปากเกร็ด ปุ๋ยที่ได้จากขยะเหลือทิ้งจากครัว และขยะอื่นจะถูกนำมาใช้ในศูนย์ฯ แห่งนี้ นอกจากนี้ ยังดำเนินการให้ความรู้แก่ประชาชนในการคัดแยกขยะ คาดว่าโครงการนี้จะเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการรีไซเคิลและช่วยลดปริมาณขยะ อีกทั้งหวังว่าจะขยายความคิดเช่นนี้สู่เทศบาลอื่น ๆ

       โครงการได้รับการสนับสนุนผ่านความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจแบบให้เปล่าขั้นพื้นฐานและความมั่นคงทางด้านมนุษย์ (จีจีพี) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (โอดีเอ) โครงการ จีจีพี ให้ความร่วมมือในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจที่ดำเนินการโดยองค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานท้องถิ่น และหน่วยงานทางการแพทย์ โดยไม่ผ่านภาครัฐ ตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการเมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้ให้การสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ในประเทศไทยมากกว่า 250 โครงการ เป็นมูลค่ามากกว่า 600 ล้านบาท

ศูนย์รีไซเคิลขยะนะกะ เมืองฮิโรชิมา

ปัจจุบันขยะ และของเหลือทิ้งทวีปริมาณมากขึ้นตามการพัฒนาเศรษฐกิจและการขยายตัวของชุมชน
ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องมลพิษในเมืองต่างๆ ของประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น บริษัทห้างร้าน
รวมถึงประชาชนทั่วไปต่างหันมาให้ความสนใจในปัญหาเกี่ยวกับการกำจัดขยะและวิธีการรีไซเคิลขยะ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาเกี่ยวกับขยะ


       โรงงานกำจัดขยะเมืองฮิโรชิมา เป็นตัวอย่างของความพยายามในการกำจัดและรีไซเคิลขยะโดยตั้งเป็นศูนย์รีไซเคิลขยะ สำหรับการเก็บขยะนั้น กำหนดให้บ้านเรือน บริษัท ห้างร้าน ต่างๆ ต้องคัดแยกขยะตามประเภท สำหรับนำไปรีไซเคิลและเอากลับมาใช้ประโยชน์ อาทิ ปูพื้น ให้พลังงาน เป็นต้น ศูนย์รีไซเคิลขยะเน้นเรื่องความสะอาด และเปิดให้ประชาชนที่สนใจเข้าชมขั้นตอนการดำเนินกิจการของศูนย์ฯ เดิมที โรงงานกำจัดขยะแห่งนี้ก็เหมือนโรงงานกำจัดขยะทั่วๆ ไป กล่าวคือมีกลิ่นเหม็นและกระบวนการกำจัดขยะได้ก่อเกิดมลพิษในอากาศ เทศบาลเมือง ฮิโรชิมาจึงพิจารณาสร้างศูนย์รีไซเคิลขยะโดยคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อประชาชนเป็นหลัก ศูนย์ฯ เน้นการลดการก่อมลพิษในสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับขยะให้มากขึ้น
ข้อมูลศูนย์รีไซเคิลขยะเมืองฮิโรชิมา
 เนื้อที่ประมาณ 50,245 ตารางเมตร    อาคาร 7 ชั้นและ 1 ชั้นส่วนใต้ดิน    ค่าก่อสร้าง 13,533 ล้านบาท
 ระยะเวลาก่อสร้าง เดือนกรกฎาคม 2543 – ก.พ. 2547
สอบถามรายละเอียดที่
เทศบาลเมืองฮิโรชิมา
www.city.hiroshima.jp/e/index-E.html








วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

E.M. ย่อมาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ  


อุปกรณ์ที่ใช้ในการขยาย EM เพิ่มจำนวน EM
1. กากน้ำตาล หรือ นมข้นหวาน หรือ น้ำซาวข้าว หรือน้ำผลไม้
2. ขวดน้ำพลาสติก (ขวดน้ำดื่ม) ที่มีฝาปิดแน่น ไม่ให้อากาศเข้าออกได้ ห้ามใช้ขวดแก้วเพราะเมี่อหมักจุลินทรีย์แล้ว จุลินทรีย์จะสร้างก๊าซอาจทำให้ขวดแก้วระเบิดได้
3. น้ำประปาที่ไม่มีคลอรีน เพราะคลอรีนจะทำให้จุลินทรีย์ตาย การเตรียมน้ำนี้ ให้รองน้ำใส่อ่าง เปิดฝา นำผ้าขาวบางมาปิดเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกและแมลงเข้าไป ตั้งทิ้งไว้ในที่ร่ม 7 วัน หรือที่มีแดด 2 วัน
วิธีการขยาย EM เพิ่มจำนวน EM 
1. จะใช้น้ำประปาที่ไม่มีคลอรีน เขย่ากากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะกับน้ำประปาที่ไม่มีคลอรีนที่เราได้เตรียมไว้ตามที่กล่าวแล้วข้างต้น 1 ขวด (500 cc) ให้กากน้ำตาลละลายให้หมด เราไม่จำเป็นต้องตวงกากน้ำตาลให้เป๊ะๆ ที่สำคัญคือ ควรเหลือช่องว่างสำหรับให้จุลินทรีย์สร้างก๊าซ ไม่ต่ำกว่า 10 % ของปริมาตรของขวดที่เอามาใส่ เพราะเมื่อเราหมัก EM กับกากน้ำตาล EM จะกินกากน้ำตาลและสร้างก๊าซออกมา
2. ใส่หัวเชื้อ EM อัตราส่วน 1 ช้อนลงในขวด
3. นำไปวางไว้ในที่ไม่มีแสงแดดส่องถึง ทิ้งไว้ประมาณ 5 – 7 วัน อย่าใจร้อนเปิดฝาก่อนวันที่ห้าของการหมักนะครับ เพราะจะทำให้ EM เสียได้ แต่ควรคลายเกลียวฝาขวดให้ก๊าซออกบ้าง แต่อย่าให้อากาศเข้า รีบคลายแล้วปิดทันที
4. เมื่อเราหมักได้ 5 วัน ขวดน้ำพลาสติกจะพองตัวจากก๊าซที่ EM สร้างนี่เป็นสัญญาณว่า EM ที่เราหมักใช้ได้แล้ว เพียงเท่านี้เพื่อนๆ ก็มี EM มาใช้ได้แล้วครับ และควรใช้ให้หมดภายใน 1 – 2 สัปดาห์

*******การทำ EM ด้วยน้ำซาวข้าว (ประหยัดกากน้ำตาล) ********

สิ่งที่ต้องเตรียม 
1. น้ำซาวข้าว
2. หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำซาวข้าว 2 ลิตร
3. กากน้ำตาล ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. ผสมกากน้ำตาลและน้ำซาวข้าวให้เข้ากัน ใส่ในขวดที่เตรียมไว้
2. ใส่หัวเชื้อ EM เขย่าเบาๆ ปิดฝาให้แน่น
3. ตั้งทิ้งไว้ในที่ร่มประมาณ 3 – 5 วัน จึงนำมาใช้ได้
4. EM ที่ได้จะมีกลิ่นหอมเหมือนรำข้าว จะมีสีค่อนข้างใสและควรใช้ให้หมด ภายใน 2 สัปดาห์ที่ได้การทำ EM ด้วยเปลือกสับปะรด จะมีประโยชน์เพิ่ม คือ นำไปขัดภาชนะต่างๆจะมีความเงางามขึ้น
ประโยชน์การใช้ EM
EM ช่วยประหยัด ใช้ทดแทนการใช้สารเคมีที่มีพิษต่อคนและสิ่งแวดล้อม
1. ขัดมุ้งลวด ใช้น้ำ EM ที่ได้หมักไว้แบบเข้มข้นฉีดไปที่มุ้งลวด ทั้งไว้แล้วค่อยล้างออกด้วยผงซักฟอก
2. ขัดห้องน้ำ ใช้น้ำ EM ที่ได้หมักไว้แบบเข้มข้นราดพื้นทิ้งสัก 1 ชม. แล้วค่อยขัดด้วยแปรง
3. ใช้ถูบ้าน ใช้น้ำ EM ที่ได้หมักไว้แล้ว ผสมน้ำเปล่าในอัตรา น้ำ EM 1 ส่วน น้ำเปล่า 5 ส่วนบิดผ้าแล้วนำไปถูบ้านได้ทันที (ไม่ใช้สารเคมี) โดยไม่ต้องล้างด้วยน้ำเปล่าอีก
4. ทำความสะอาดผ้าขี้ริ้ว โดยเฉพาะผ้าขี้ริ้วเปื้อนน้ำมันในครัว เพียงแค่แช่ในน้ำ EM ที่ถูบ้านทิ้งไว้ทั้งคืนแล้วค่อยซักด้วยผงซักฟอกตามปกติ
5. รดน้ำต้นไม้ก็ทำให้ดินร่วนซุย นำน้ำ EM ที่ใช้จากการถูบ้านเสร็จแล้วไปรดต้นไม้ต้นไม้โตมากๆ
6. นำไปราดถังขยะป้องกันกลิ่นเหม็นและแมลงวันเพราะ EM จะกินไขมันทำให้ถังขยะไม่เหม็นแมลงวันไม่ตอม
7. อาบน้ำสัตว์เลี้ยง ทาทิ้งไว้สักครู่แล้วล้างออก กำจัดโรคผิวหนัง
8. แช่จาน ชาม หม้อหุงข้าว แช่ไว้ครึ่งชม. แล้วล้างออกด้วยยาล้างจาน จะล้างครบมัน ช่วยย่อยข้าว
9. สูตรที่หมักจากการใช้น้ำส้มหรือมะนาว 100 % (ไม่ใส่กากน้ำตาลและน้ำ) จะมีกลิ่นหอมใช้ฉีดในห้องนอนได้ ไล่แมลง ฉีดใส่รองเท้า ที่นอน
10. เทในน้ำขังลดค่าบีโอดี
11. ล้างรถแทนแชมพู
12. หยด 2 หยดผสมลงในน้ำให้สัตว์ดื่ม เสริมภูมิ
13. ใส่ลงบ่อปลา บ่อกุ้งทำให้น้ำสมดุล กำจัดมูลและแอมโมเนีย
14. ราดส้วมทุกอาทิตย์กำกัดเศษอุจาระและแก๊สมีเทน 
ที่มา; คลินิกเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี