อีเอ็ม (EM) คืออะไร EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิงะ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวคิดเรื่อง " ดินมีชีวิต" ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498) บิดาเกษตรธรรมชาติของโลกจากนั้น ดร.ฮิงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ 2510 และค้นพบ EM เมื่อ พ.ศ. 2526 ท่านอุทิศทุ่มเททำการวิจัยผลว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ได้ผลจริง หลังจากนั้นศาสนาจารย์วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านเป็นประธานมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ คิวเซ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10 %
2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรค มีประมาณ 10 %
3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใด มีจำนวนมากกว่ากลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย
ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดิน ก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวนมากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมาอีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป
จุลินทรีย์มี 2 ประเภท
1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria)
2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)
จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้ ... จากการค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่
กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ออร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน
กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic or Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการ พังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิด ของพืชและสัตว์ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้
กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กรดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates) ฮอร์โมน(Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ
กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อรา และแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อย หรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย
จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10 %
2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรค มีประมาณ 10 %
3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใด มีจำนวนมากกว่ากลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย
ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดิน ก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวนมากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมาอีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป
จุลินทรีย์มี 2 ประเภท
1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria)
2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)
จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้ ... จากการค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่
กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ออร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน
กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic or Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการ พังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิด ของพืชและสัตว์ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้
กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กรดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates) ฮอร์โมน(Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ
กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อรา และแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อย หรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย
ลักษณะทั่วไปของ EM
EM เป็นจุลินทรีย์ กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ หรือ เรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้ EM ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอว่า EM เป็น สิ่งมีชีวิต EM มีลักษณะดังนี้
- ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ
- ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
- เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีและ ยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้
- เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล
- EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวัน
- เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย
การดูแลเก็บรักษา
- หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝา ให้สนิท
- อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และ อย่าเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ
- ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษ เข้าไปปะปน
- ข้อสังเกตพิเศษ
- หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก ให้นำ EM ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าและวัชชพืชที่ไม่ต้องการได้
- กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัว เมื่อเขย่าภาชนะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัว กลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้
- เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและ เป็นฟองขาวๆ ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟอง น้ำนิ่งสนิทแสดงว่าการหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล
- ทำไมต้องใช้ EM ? -อาณาจักรพืช ต้องอาศัยจุลินทรีย์ในการย่อยซากพืช-ซากสัตว์ให้กลายเป็นปุ๋ยอาณาจักรสัตว์ ต้องกินพืชหรือสัตว์ หรือทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร ในกระบวนการย่อยอาหารก็เป็นจุลินทรีย์อาณาจักรจุลินทรีย์ เป็นผู้ย่อยสลายซากพืช-ซากสัตว์เป็นอาหารและขับถ่ายออกไปเป็นสารอาหารแก่พืชและสัตว์การเกษตรเคมี เป็นการตัดวงจรธรรมชาติ ทำให้พืช สัตว์ และจุลินทรีย์มีปัญหาในสภาวะธรรมชาติ กระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์อันมีซากพืช-ซากสัตว์ให้กลายเป็นสารอาหารแก่พืชนั้น เป็นหน้าที่ของจุลินทรีย์ แต่ปัจจุบัน มีการทำลายป่า การเกษตรก็ใช้วิธีเผา ไถ ตากแดด พ่นสารพิษสารเคมี อันเป็นการทำลายจุลินทรีย์โดยตรง
ในสภาวะเช่นนี้ การจะงดเกษตรเคมี หันกลับมาใช้เกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรธรรมชาติ ที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์นั้นหามีประโยชน์ใดไม่ และอาจจะมีผลเสียด้วยซ้ำ เพราะในดินธรรมชาติขาดผู้ย่อยสลายคือจุลินทรีย์การค้นพบ EM จึงเป็นหนทางที่จะนำไปสู่เกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรธรรมชาติได้ โดยการเติมผู้ย่อยสลาย หรือจุลินทรีย์ลงไปในธรรมชาติความเป็นจริงจุลินทรีย์ตามธรรมชาติเกิดเองได้ แต่ต้องงดการใช้เคมี ไม่มีการเผา หรือไถตากแดดต่อเนื่องเป็นเวลา 5-10 ปี การทำเกษตรอินทรีย์จึงจะได้ผล แต่ปัญหาคือรอไม่ได้ EM จะช่วยทุ่นเวลา ณ จุดนี้ให้สามารถทำเกษตรธรรมชาติหรือเกษตรอินทรีย์ได้ทันทีจุดเด่นสำคัญของ EM คือ ใช้ได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นในด้าน- การปลูกพืช - การปศุสัตว์- การประมง - การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมฯลฯกล่าวคือ เมื่อมี EM ก็สามารถทำได้ทุกเรื่องแบบผสมผสาน ซึ่งเคมีทำมิได้ การทำเกษตรตามแนวพระราชดำริ จึงมีหนทางที่จะดำเนินการได้เป็นอย่างดี ทั้งเกษตรผสมผสาน แบบเศรษฐกิจพอเพียง หรือเกษตรทฤษฎีใหม่หากมีการใช้ EM กันอย่างกว้างขวางแล้ว จะสามารถแก้ปัญหาอุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้นทุกขณะได้ กระบวนการทำงานของ EM จะเกิดออกซิเจน (O2) เนื่องจาก EM เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic) เป็นส่วนใหญ่ อันมีผลนำไปสู่การเพิ่มโอโซนในชั้นบรรยากาศ และลดการเกิดภาวะเรือนกระจกเพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพที่ดีในการใช้ EM ขออธิบายความแตกต่างระหว่าง EM หัวเชื้อกับ EMขยาย ดังนี้EM หัวเชื้อ คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ที่ผลิตจากโรงงานของบริษัท อี เอ็ม คิวเซ จำกัด เท่านั้น และยังไม่ได้แปรสภาพEM ขยาย คือ การกระตุ้นให้จุลินทรีย์อยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงาน โดยการให้อาหารผู้ที่ได้เรียนรู้เรื่อง EM ขยาย แรกๆ ผสมอัตราส่วน 1:1:100 หมักไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง - 3 วัน ขยายต่อได้ไม่เกิน 5 ครั้งต่อมาก็มีการปรับเปลี่ยนเป็น 1:1:50 ขยายต่อเนื่องได้ 3 ครั้งปัจจุบันตั้งแต่ ปี 2542 เป็นต้นมา ใช้อัตราส่วนการขยาย EM 1:1:20 ไม่มีการขยายต่อขอเรียนให้ผู้ใช้ EM ว่า เทคนิคการใช้ EM จะเปลี่ยนตามผลการวิจัยของ EMRO (EM Research Organization) ผลการวิจัยบ่งบอกว่า อัตราส่วน 1:1:20 ดีที่สุด หรือมีประสิทธิภาพสูงสุด หากขยายต่ออีกจะทำให้จุลินทรีย์บางกลุ่มหายไป โดยเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ที่มีความสำคัญที่สุดด้วยเทคโนโลยี EM จำเป็นต้องปรับเทคนิควิธีที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด การขยาย EM จึงเป็นดังปัจจุบันนี้ คือ ใช้ส่วนผสม EM : กากน้ำตาล : น้ำ ในอัตราส่วน 1:1:20ระยะการหมัก 7 วันหลังการหมัก 7 วัน มวลจุลินทรีย์จะมีความหนาแน่นมากที่สุดอยู่เป็นเวลา 7 วัน ต่อจากนั้นก็จะมีจำนวนลดลง จึงมีคำแนะนำให้หมัก 7 วัน และใช้ให้หมดภายใน 7 วัน หลังการหมักท่านที่ไปซื้อ EM ขยาย หรือไปรับ EM ขยายแจก รู้หรือไม่ว่า เขาขยายมากี่วันแล้ว และจะเอาไปใช้กับอะไรให้หมดหลังการหมักขยายแล้ว 7 วัน ให้ทันเวลา 7 วัน ผู้ใช้ EM ต้องระลึกเสมอว่า- EM มีชีวิต EM จะผลิตฮอร์โมนเจริญเติบโต พืชจะเจริญงอกงาม- EM ตาย จะมีกลิ่นเหม็นเน่า จะเป็นสารกำจัดพืชอย่างดี เมื่อนำไปใช้จะทำให้พืชตาย และแจกก็ควรบอกกับผู้รับด้วยว่า แจก EM ขยาย เพราะคำว่าแจก EM กับ EM ขยาย ความหมายนั้นต่างกันจึงขอสรุปว่า : อย่าเห็นแก่ของแจก อย่าดีใจกับของถูก ควรระลึกเสมอว่า ต้องได้ผลดี ของดีราคาถูกไม่มี ของฟรีวิเศษไม่มี ขยาย EM และใช้ด้วยตนเองนี่แหละดีแน่นอนที่สุดคำเตือน : 1. อย่านำ EM ขยาย หรือจุลินทรีย์ที่อ้างว่าเป็น EM หรือ EM ที่ลอกเลียนแบบ ไปให้สัตว์กิน เพราะอาจเกิดผลเสีย และเป็นอันตรายต่อสัตว์2. ผลจากการใช้ EM ขยาย ที่วางจำหน่ายหรือได้รับแจกจากหน่วยงานต่างๆ บริษัท อี เอ็ม คิวเซ จำกัด จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
ที่มา : EM-Kyusei
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น