วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ


เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ


ก๊าซชีวภาพ (Biogas)
          คือ ก๊าซที่เกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้ออกซิเจน ในสภาวะไม่ใช้อากาศ
เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ (Biogas Technology)
          เป็นเทคโนโลยีการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะที่ไร้อากาศ (Anaerobic Digestion Technology) โดยกลุ่มของจุลินทรีย์ (Anaerobic Bactiria Group) ที่ทำหน้าที่ร่วมกันเปลี่ยนรูปสารอินทรีย์ (Organic Matter) โมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรท และไขมัน ให้เป็นสารโมเลกุลที่เล็กลงและเปลี่ยนรูปให้เป็นกรดอินทรีย์ (Fatty Acid) และเป็นก๊าซชีวภาพ (Biogas) ในที่สุด
องค์ประกอบของก๊าซชีวภาพ
องค์ประกอบหลักของก๊าซชีวภาพ ที่เกิดขึ้นโดยขบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ คือ
          1. ก๊าซมีเทน (CH4) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักและมีสมบัติเป็นก๊าซเชื้อเพลิง จะมีสัดส่วนอยู่ประมาณร้อยละ 65-70
          2. ก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์ (CO2) เป็นส่วนประกอบรอง มีสมบัติเป็นก๊าซเฉื่อยไม่ติดไฟ มีสัดส่วนอยู่ประมาณร้อยละ 28-33
          3. ก๊าซอื่นๆ เช่น ก๊าซไฮโดรเจน (H2) ก๊าซไนโตรเจน (N2) ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) เป็นต้น จะมีอยู่ประมาณร้อยละ 1-2
          ก๊าซชีวภาพที่มีก๊าซมีเทนมากกว่าร้อยละ 50 เมื่อผสมอากาศมากกว่า 5-7 เท่า สามารถจุดไฟติดได้ที่อุณหภูมิประมาณ 600-700 องศาเซลเซียส และให้พลังงานความร้อน ดังนั้นก๊าซชีวภาพจึงสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทน เพื่อทดแทนพลังงานอื่นๆ ได้
สมบัติและประโยชน์ของก๊าซชีวภาพ
ศูนย์ประสานงานโครงการส่งเสริมเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ พ.ศ. 2551

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น