วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ปีใหม่นี้ด้วยการลดภาวะโลกร้อน

ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ปีใหม่นี้ด้วยการลดภาวะโลกร้อน
         ใกล้ เข้ามาแล้วกับเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ที่ทุกคนกำลังเตรียมตัวที่จะฉลองสังสรรค์กับครอบครัวและ เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าเมื่อมีเทศกาลมาถึงคนไทยมักมีการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไฟฟ้า การใช้สิ่งของที่ไม่จำเป็นด้วยการเลี้ยงฉลองปาร์ตี้ต่างๆ แต่รู้ไหมว่าการที่เราได้มีการปาร์ตี้สังสรรค์นั้นเป็นส่วนที่ทำให้เกิดภาวะ โลกร้อนขึ้นได้ด้วย
          สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็เพราะว่าก๊าซเรือนกระจกที่ เพิ่มขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเผาผลาญถ่านหินและเชื้อเพลิง รวมไปถึงสารเคมีที่มีส่วนผสมของก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ใช้ และอื่นๆ อีกมากมาย จึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ลอยขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ที่ควรจะสะท้อนกลับออกไปในปริมาณที่เหมาะสม กลับถูกก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้กักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกค่อยๆ สูงขึ้นจากเดิม
         ปี ใหม่นี้จึงอยากให้ทุกคนส่งความสุขให้กับคนที่คุณรักได้ทั่วโลกด้วยการลดภาวะ โลกร้อนกัน เพราะเป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องช่วยกันทำ เราทุกคนก็ต่างมีส่วนที่ทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้น เพราะเพียงแค่เราหายใจอยู่เฉยๆ ก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาแล้ว ยังไม่รวมถึงกิจกรรมต่างๆ มากมายที่เราทำอยู่ทุกๆ วัน ถึงเวลาที่เราต้องเลิกคิดว่าภาวะโลกร้อนไม่ใช่ธุระของเราแล้วหันมาร่วมมือ กัน..มาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาโลกร้อนกันเถอะคุณสามารถช่วยกันลดภาวะโลกร้อนในเทศกาลปีใหม่ได้ง่ายๆ ด้วย 10 วิธีต่อไปนี้
         เริ่มต้นวิธีแรกด้วยการเปลี่ยนการใช้หลอดไฟที่มีแสงสี หันมาเปิดไฟแค่ 2-3 ดวง เพื่อลดภาวะโลกร้อน จะเห็นได้ว่า เมื่อถึงเทศกาลปีใหม่ผู้คนมักจะชอบประดับประดาบ้านเรือนด้วยไฟที่มีแสงสี ระยิบระยับ ดังนั้นเราควรเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟที่เป็นหลอดประหยัดไฟกันดีกว่า ซึ่งหลอดประหยัดไฟหนึ่งดวง จะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 150 ปอนด์ต่อปี 
         วิธีที่สอง คือ หากมีความจำเป็นที่จะต้องไปพบเพื่อนบ้านเพื่อฉลองเทศกาลปีใหม่ หากเป็นเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ๆ หรือเป็นระยะทางที่สามารถเดินหรือขี่จักรยานแทนได้ ก็ควรหันมาเดินแทน  นอกจากจะช่วยลดภาวะโลกร้อนแล้วยังเป็นการออกกำลังกายอีกด้วยเพราะการขับรถยนต์เป็นระยะทาง 1 ไมล์จะปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ 1 ปอนด์
        ต่อมาเป็นวิธีที่สามรีไซเคิลของใช้ ใช้กระดาษด้วยความประหยัดไม่ว่าจะเป็นทั้งกระดาษทิชชูควรใช้อย่างพอเหมาะ หรือกระดาษขาว เพราะกระดาษแต่ละแผ่น ทำมาจากการตัดต้นไม้ ซึ่งเป็นเสมือนปราการสำคัญของโลกเรา ดังนั้นการใช้กระดาษแต่ละแผ่นควรใช้ให้ประหยัดทั้งด้านหน้าหลัง ใช้เสร็จควรนำมาเป็นวัสดุรอง หรือ นำมาเช็ดกระจกก็ได้ นอกจากนี้การนำกระดาษไปเผาก็จะเกิดความร้อนต่อโลกเราเช่นกันลดขยะของบ้านคุณให้ได้ครึ่งหนึ่งจะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2,400 ปอนด์ต่อปี
          วิธีที่สี่เช็ค ลมยางการขับรถเมื่อถึงเทศกาลเชื่อว่าทุกคนต้องมีการเดินทาง ดังนั้นเราควรที่จะมีการเช็คลมยางก่อนที่จะออกจากบ้านดีกว่าซึ่งยางมีลมน้อย อาจทำให้เปลืองน้ำมันขึ้นได้ถึง 3% จากปกติน้ำมันๆ ทุกๆ แกลลอนที่ประหยัดได้ จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 20 ปอนด์ ตามติดมาด้วยวิธีที่ห้าใช้ น้ำร้อนให้น้อยลงในการทำน้ำร้อน ใช้พลังงานในการต้มสูงมาก การปรับเครื่องทำน้ำอุ่นให้มีอุณหภูมิและแรงน้ำให้น้อยลง จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ได้ 350 ปอนด์ต่อปี หรือการซักผ้าในน้ำเย็นจะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละ 500 ปอนด์
          วิธีที่หก พยายาม ไม่ใช้ภาชนะที่เป็นโฟมเมื่อมีเทศกาลก็มักจะมีการเลี้ยงสังสรรค์ตามสถานที่ ต่างๆ หากต้องการภาชนะใส่อาหารก็ควรหันมาใช้จานหรือถ้วยกระเบื้องที่สามารถล้างและ นำกลับมาใช้ได้อีก หรือกรณีที่เป็นพลาสติก เช่น ขวดน้ำพยายามนำกลับมาใช้อีก เนื่องจากพลาสติกเหล่านี้ทำการย่อยสลายยาก ต้องใช้ปริมาณความร้อน เหมือนกับตอนที่ผลิตมันมา ซึ่งจะก่อให้เกิดความร้อนกับโลกของเรา เราสามารถนำกลับมาใช้เป็นภาชนะใส่น้ำแทนกระติกน้ำได้ หรือใช้ปลูกต้นไม้ก็ได้
         วิธีที่เจ็ด คือ พยายาม รับประทานอาหารให้หมดไม่ควรทำอาหารให้มากเกินไป เพราะเศษอาหารที่เหลือทิ้งไว้จะก่อให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งก่อให้เกิดปริมาณ ความร้อนต่อโลก เมื่อหลายคนรวมๆกันก็เป็นปริมาณความร้อนที่มาก 
          วิธีที่แปด เป็นปลูกต้นไม้กับครอบครัวในวันปีใหม่ เพราะการที่เราปลูกต้นไม้หนึ่งต้น จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน ตลอดอายุของมันช่วยกันปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้จะคายความชุ่มชื้นให้กับโลก และช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสาเหตุภาวะเรือนกระจก
          วิธีที่เก้าให้ปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช่เมื่อออกไปสังสรรค์ข้างนอก ปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่ใช้หรือทางที่ดีปิดคัทเอาท์ เพื่อจะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้นับพันปอนด์ต่อปี ลด การใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น แอร์ เครื่องปรับอากาศ พัดลม หากเป็นไปได้ใช้วิธีเปิดหน้าต่าง ซึ่งบางช่วงที่อากาศดีๆ อากาศเย็นก็สามารถช่วยลดค่าไฟ และลดความร้อน เนื่องจากหลักการทำความเย็นนั้นคือ การถ่ายเทความร้อนออก ดังนั้นเวลาเราใช้แอร์จะเกิดปริมาณความร้อนบริเวณหลังเครื่องระบายความร้อน
          วิธีสุดท้าย แสนจะง่ายเป็นการชวนกันออกไปเที่ยวธรรมชาติภายนอก ก็ช่วยลดการใช้ปริมาณไฟฟ้าได้ด้วย
          แค่นี้คุณก็สามารถที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนและทำสิ่งดีๆ ในวันปีใหม่ได้แล้ว
        เรื่องโดย: ศุภร จรเทศ Team content www.thaihealth.or.th

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การคัดแยกขยะ


การคัดแยกขยะ
 ในแต่ละวันมีขยะเกิดขึ้นจากกิจวัตรประจำวันของเราแต่ละคน มากน้อยต่างกันตามอายุ เพศ สภาพเศรษฐกิจ รายได้ สถานที่ กิจกรรม ค่านิยม ฯลฯ ขยะที่เราก่อขึ้นมีตั้งแต่เศษอาหาร กระดาษชำระ เศษกระดาษ ถุงพลาสติก ขวดแก้ว ขวดพลาสติก กระเบื้อง อะลูมิเนียม นมกล่อง ถ่านไฟฉาย หลอดไฟใช้แล้ว ฯลฯ จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน มีประมาณ 0.5-1 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน เป็นขยะจากคนในเมืองเฉลี่ย 1 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ขยะส่วนใหญ่มาจากวัสดุที่เราไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว เช่น เศษกระดาษ ขวดพลาสติก กระป๋อง เศษแก้ว เชื่อหรือไม่ว่าเราสามารถจัดเก็บและกำจัดขยะได้ไม่ถึง 70 % ของขยะที่เกิดขึ้น ขยะจึงตกค้างอยู่ตามสถานที่ต่างๆและสร้างปัญหามลพิษต่อตัวเราและชุมชน
 ดังนั้นการคัดแยกขยะจะทำให้เรารู้ว่าควรจะจัดการกำจัดขยะแต่ละประเภทอย่างไร จึงจะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและงบประมาณ หรือขยะเช่นใดบ้างที่ควรนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ การคัดแยกขยะเป็นขั้นตอนที่ดําเนินการภายหลังการเกิดขึ้นของขยะ และถือว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีความสําคัญต่อระบบการนําขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เพราะสามารถลดการปนเปื้อนของวัสดุรีไซเคิลได้ รวมทั้งลดปริมาณขยะที่จะนําไปกําจัดทิ้งขั้นสุดท้ายลงได้ เนื่องจากขยะของสังคมเมืองมีปริมาณมาก หากไม่คัดแยก ค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะทั้งด้านงบประมาณ คน สถานที่ฝังกลบ การเก็บขน ก็ย่อมต้องสูงตามไปด้วย
 นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมเชื่อว่า ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการบริโภคของคนเรานั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นความต้องการอาหารและน้ำดื่มเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค หรือแม้แต่สิ่งของเครื่องใช้ที่อำนวยความสะดวกต่างๆในชีวิตประจำวัน ทั้งหมดล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัตถุดิบในการผลิตและเป็นแหล่งพลังงานทั้งสิ้น
 ขณะเดียวกันก็เชื่อมั่นว่าการจะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และภาคบริการควบคู่กัน เพราะเป็นภาคส่วนที่ต้องรองรับความต้องการบริโภคของสมาชิกในสังคม เมื่อกระบวนการผลิตเน้นให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ แต่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ก็เท่ากับเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่าจำกัดได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ช่วยลดการเกิดของเสียที่เกิดจากการผลิตและพยายามนำของเสียนั้นมาแปรรูปหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง
ขยะแต่ละชนิด หากปล่อยให้ย่อยสลายตัวเองตามธรรมชาติ จะใช้ต้องใช้เวลาแตกต่างกัน บางชนิดย่อยได้เร็ว
บางชนิดใช้เวลานานหลายร้อยปี แสดงตัวอย่างดังตาราง
ชนิดของขยะ
ระยะเวลา
เศษกระดาษ
2-5 เดือน
เปลือกส้ม
6 เดือน
ถ้วยกระดาษเคลือบ
5 ปี
ก้นบุหรี่
12 ปี
รองเท้าหนัง
25-40 ปี
กระป๋องอะลูมิเนียม
80-100 ปี
ถุงพลาสติก
450 ปี
   ผ้าอ้อมเด็กชนิดสำเร็จรูป      
500 ปี
โฟม
ใช้เวลานานมากในการย่อยสลาย

(ที่มา : ข้อมูลจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ม.ค.2548))

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอย

1. ความมักง่ายและขาดความสำนึกถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น
เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมาก ซึ่งจะเห็นได้จากการทิ้งขยะลงตาพื้น
หรือแหล่งน้ำ โดยไม่ทิ้งลงในถังรองรับที่จัดไว้ให้ และโรงงาน
อุตสาหกรรมบางแห่งลักลอบนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งตามที่ว่างเปล่า

2. การผลิตหรือใช้สิ่งของมากเกินความจำเป็น เช่น การผลิตสินค้าที่มีกระดาษหรือพลาสติกหุ้มหลายชั้น และการซื้อสินค้าโดยห่อแยกหรือใส่ถุงพลาสติกหลายถุง ทำให้มีขยะปริมาณมาก

3.การเก็บและทำลาย หรือนำขยะไปใช้ประโยชน์ไม่มีประสิทธิภาพ จึงมีขยะตกค้าง กองหมักหมม และส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณจนก่อปัญหามลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม

วิธีใช้ EM กับ พืชผัก

วิธีใช้ EM กับ พืชผัก
 การเตรียมแปลง
    - ใส่โบกาฉิตารางเมตรละ 300 - 500 กรัม
    - ฉีด พ่น อีเอ็ม ขยาย (1 : 100)
    - คลุมดินด้วยฟางหรือหญ้าแห้งและอินทรีย์วัตถุอื่นๆ
    - เพื่อหมักดินทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
การเพาะเมล็ดและย้ายกล้า
    - แช่เมล็ดในอีเอ็มขยาย 1 : 1000
    - แช่ต้นกล้าในอีเอ็มขยาย 1 : 1000
    -ระยะเวลาแช่เมล็ดขึ้นอยู่กับขนาดของเมล็ด
 การดูแล
    - ฉีด พ่น อีเอ็ม (1 : 500)ขยายอาทิตย์ละครั้ง
    - รดน้ำผสมอีเอ็มขยาย 1 : 500
    - ใส่โบกาฉิครั้งละ 1 - 2 กำมือต่อต้นต่อเดือน
หลังเก็บเกี่ยว
    - สับต้นพืชที่ไม่ได้เก็บเกี่ยวลงในแปลง
    - โรยโบกาฉิ 300 - 500 กรัมต่อตารางเมตร
    - รด อีเอ็มขยาย 1 : 500 (เพื่อให้มีความชื้นเหมาะต่อการทำงานของจุลินทรีย์)
    - หมักไว้ 1 สัปดาห์ก่อนย้ายกล้าหรือหว่านเมล็ด
หลังเก็บเกี่ยว

 วิธีใช้ EM กับ นาข้าว
    - หว่านโบกาฉิ ไร่ละ 100 กิโลกรัม
    - รด อีเอ็มขยาย ไร่ละ 50 ลิตร
    -เพื่อย่อยสลายฟางให้เป็นปุ๋ย
ไถดะ
    - ใส่โบกาฉิอีกครั้งหนึ่งเท่าเดิม
    - รดด้วยอีเอ็มขยาย
    -ไถแปรเพื่อเตรียมหว่านและย้ายกล้า
เตรียมเมล็ดและต้นกล้า
    - แช่เมล็ดและต้นกล้าในอีเอ็มขยาย 1 : 1000 ก่อนปลูก
    - พ่นอีเอ็มขยายและอีเอ็ม5 ที่แปลงเพาะกล้า
    -ระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ 20 ซม.
การดูแล
    - ใสอีเอ็มขยาย, FPE, EM5 เดือนละครั้ง (ผสมน้ำ 1: 500)
    - เทอีเอ็มขยายครั้งละ 50 – 100 ลิตรต่อไร่ไปตามน้ำที่ไหลเข้านา
    -ใช้อีเอ็มน้ำซาวข้าวแทนอีเอ็มขยายก็ได้

การทำฮอร์โมนพืชDmx


การทำฮอร์โมนพืชDmx

การทำฮอร์โมนพืช Dmxเป็นเทคนิคการหมักปุ๋ยน้ำ Dmx จากผลไม้สุก เป็นการสกัดสาร Jiberlalin จากพืช ซึ่งเป็นฮอร์โมนพืช ที่ทำให้พืชแตกดอก แตกใบ แตกราก ได้ดี การใช้ฮอร์โมนพืช Dmx จึงเน้นประโยชน์ เพื่อเพิ่มผลผลิตในการปลูกพืช ช่วยให้การแตกตาดอก การผสมเกษรดีขึ้น เพื่อช่วยในการขยายพันธุ์พืชได้ผลดียิ่งขึ้น เช่นการปักชำ การตอนกิ่ง การแช่เมล็ดพันธุ์พืชก่อนการหว่าน การเพาะเมล็ด ช่วยทำให้การแตกรากพืชได้ดี

การทำฮอร์โมนชีวภาพDmx
ส่วนผสม
• กล้วยน้ำว้า, มะละกอ, ฟักทองแก่จัด อย่างละ 2 ก.ก.
• เตรียมน้ำจุลีนทรีย์ชีวภาพDmx + กากน้ำตาล + น้ำสะอาด ผสมกันในอัตราส่วน 1 : 1 : 20 และควรหมักขยายไว้(ล่วงหน้า) 3 - 4 สัปดาห์

วิธีทำ 
• สับผลไม้สุกให้ละเอียดทั้งเปลือกเมล็ดใส่ในภาชนะที่มีฝาปิด แล้วเติมน้ำจุลินทรีย์ชีวภาพDmx ให้ท่วมเนื้อผลไม้ หมักไว้ 1 - 2 สัปดาห์ กรองเอาเฉพาะน้ำฮอร์โมน นำไปใช้ได้
หรือผสมปุ๋ยแร่ธรรมชาติซีโอไลท์ กับน้ำฮอร์โมนพืช ในอัตราส่วน 1 : 10 หมักต่ออีก 1 – 2 วัน จะทำให้น้ำฮอร์โมนมีธาตุอาหารเพิ่มขึ้น และมีประสิทธิภาพในการป้องกันแมลงรบกวนได้ด้วย

วิธีใช้
• ผสมน้ำรดต้นไม้ทุกชนิด ในอัตราส่วน 1-2 ซี.ซี. ต่อน้ำ 1 ลิตร (หรือ 4 ซี.ซี.ต่อน้ำ 1 ลิตร –เฉพาะไม้ผล) ใช้ฉีดพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สามารถเร่งให้พืชออกดอกออกผลก่อนฤดูกาล และสร้างภูมิต้านทานโรคให้แก่พืช ได้ด้วย
• ใช้ในการตัดชำกิ่ง โดยแช่กิ่งพันธุ์พืชในน้ำ ผสมฮอร์โมนDmx ในอัตราส่วน 2 ซี.ซี. ต่อน้ำ 100 ซี.ซี. แช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง แล้วนำไปปักชำ ทำให้กิ่งพันธุ์มีรากงอกเร็วขึ้น/มากขึ้น
• ใช้ในการตอนกิ่ง ใช้ ฮอร์โมนDmx ทาบริเวณที่ปลอกเปลือกกิ่งพันธุ์ให้ทั่ว ก่อนหุ้มด้วยดินหรือขุยมะพร้าว จะทำให้การแตกรากออกมากและเร็วขี้น
• ใช้แช่เมล็ดพันธุ์พืชก่อนการหว่าน ผสมฮอร์โมนDmx กับน้ำ ในอัตราส่วน 2 ซี.ซี. ต่อน้ำ 100 ซี.ซี. แช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง ทำให้อัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์สูงขึ้น
 

การขยายเชื้อจุลินทรีย์สร้างสรรค์ DMO


การขยายเชื้อจุลินทรีย์สร้างสรรค์ DMO
การเพาะขยายเชื้อจุลินทรีย์สร้างสรรค์DMO เป็นการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์สร้างสรรค์มากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การปรับปรุงบำรุงดิน และการรักษาสภาพแวดล้อม อีกทั้งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ และได้ประโยชน์สูงสุด

การขยายเชื้อจุลินทรีย์สร้างสรรค์ DMO เพื่อทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ Dmx
ส่วนผสม
1. จุลินทรีย์สร้างสรรค์ DMO(หัวเชื้อ) 1 ลิตร (ส่วน) 
2. กากน้ำตาล 1 ลิตร (ส่วน)
3. น้ำสะอาด (น้ำดื่ม) 20 ลิตร (ส่วน)
4. น้ำมะพร้าว (ถ้ามี) 1 - 2 ลิตร
5. ปุ๋ยแร่ธรรมชาติ (ซีโอไลท์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส) 1 - 2 ก.ก.
วิธีทำ 
นำส่วนผสม 1. - 4. ผสมให้เข้ากัน หมักไว้ในแกลลอนที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด ใช้เวลาในการหมัก 3 วัน (หรือ หมักต่อ 7 – 15 วัน ยิ่งดีมาก) จะได้ จุลินทรีย์ชีวภาพ DMO ขยาย (1:1:20) จากนั้นให้นำมาแยกใส่ขวดน้ำไว้ โดยให้มีพื้นที่อากาศเล็กน้อย เพื่อสะดวกในการนำมาใช้แต่ละครั้ง และควรให้เก็บไว้ในที่ร่มในอุณหภูมิปกติ ไม่ให้ถูกแสงแดด

น้ำจุลินทรีย์ชีวภาพ DMO นำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้
• ผสมน้ำรดต้นไม้ในอัตราส่วน 1 : 500 - 1,000 
• ปรับสภาพน้ำในบ่อปลาหรือตะพาบน้ำในอัตราส่วน 1: 5,000 – 10,000 สาดลงในบ่อสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
• บำบัดกลิ่นเหม็นน้ำเน่าเสีย กองขยะ มูลสัตว์ ห้องส้วม ท่อระบายน้ำ โดยเทราดหรือฉีดพ่นให้ทั่ว สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
• ผสมน้ำฉีดพ่นหรือล้างคอกสัตว์ อัตราส่วน 1 ลิตรต่อน้ำ 100 ลิตร
การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพDmx 
ทำได้ง่าย โดยนำปุ๋ยธรรมชาติ (ซีโอไลท์ แคลเชียม ฟอสฟอรัส) มาผสมกับน้ำจุลินทรีย์ DMO (ขยาย 1:1:20) ในอัตราส่วน 1: 10 หรือ 1 : 20 หมักต่ออีก 1 - 2 วัน แล้วนำไปใช้ให้หมด
ปุ๋ยน้ำชีวภาพ Dmx นำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้
• ผสมน้ำรดต้นไม้ในอัตราส่วน 1 : 500 - 1,000
• ใช้หยอดปากทางน้ำเข้านาข้าว หรือพืชไร่ ตลอดเวลาที่เอาน้ำเข้าในพื้นที่เพาะปลูก
• ใช้ในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ทุกรูปแบบ 

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการทำนาข้าวอินทรีย์

 ขั้นตอนการทำนาข้าวอินทรีย์ 

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมพันธุ์ข้าว การคัดเลือกพันธุ์ข้าว
1. คัดเลือกพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น ข้าวพันธุ์ ก.ข.6 จะชอบพื้นที่ในลุ่มมีน้ำขังตลอด ตั้งแต่ปักดำจนถึงออกรวงและมีแป้ง จึงจะปล่อยน้ำออกจากคันนาได้และได้ผลผลิตดีแต่ถ้าเป็นข้าวหอมมะลิจะขึ้นได้ ดีในทุกพื้นที่ แต่ต้องให้มีน้ำขัง เนื่องจากการทำนาสิ่งสำคัญ คือ ต้องมีน้ำ
2. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว คัดเลือกแปลงข้าวที่มีต้นข้าว รวงข้าว เมล็ดข้าวที่โตแข็งแรง เมล็ดข้าวแก่จัดเมล็ดข้าวมีความสมบูรณ์ ถอนออกเป็นรวง ๆ ที่สมบูรณ์ที่สุด เก็บไว้ต่างหาก แล้วนำมาแยกเมล็ดข้าวและฟางข้าวออกจากกัน จากนั้นนำเมล็ดมาฝัด เมื่อคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ออก แล้วนำเมล็ดข้าว ที่คัดเลือกว่าดีแล้วตากแห้ง แล้วเก็บไว้ ทำพันธุ์ในปีต่อไป
กล้าข้าวอินทรีย์


ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมพื้นที่ทำนา
1. การเตรียมคูคันนา การทำนาจะต้องเตรียมคูคันนาให้มีความสูงประมาณ 50-70 เซนติเมตร ความหนา 60-80 เซนติเมตร เพื่อกักเก็บน้ำ เพราะข้าวจะขาดน้ำไม่ได้ ถ้าไม่มีน้ำขังจะเกิดวัชพืชในน้ำข้าว ทำให้ข้าวเจริญเติบโตช้าเสียเวลาในการกำจัดวัชพืช คันนาควรใส่ท่อระบายน้ำเพราะถ้าช่วงแรกในการปักดำไม่ควรให้ระดับน้ำสูง มากกว่า 10 เซนติเมตร เพราะต้นข้าวยังไม่แข็งแรงพอ ถ้ามีน้ำในแปลงนามาก จะทำให้ต้นข้าวเน่าได้ ควรมีท่อระบายน้ำออก
2. ปรับพื้นที่ในคันนาให้มีระดับเท่ากัน อย่าให้มีน้ำเอียงด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อจะได้ขังน้ำอยู่ระดับเดียวกัน ถ้าหากพื้นที่นามีความลุ่ม มีระดับพื้นที่ในระดับเดียวกัน ก็ไม่มีความจำเป็นในการปรับพื้นที่
ขั้นตอนที่ 3 หลัง จากฤดูกาลเก็บเกี่ยวเสร็จ พื้นที่นายังมีฟางข้าว มีหญ้า ควรนำปุ๋ยหมัก จุลินทรีย์ หว่านทั่วไป โดยคิดเฉลี่ย 200 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่ แล้วฉีดพ่นด้วยน้ำยาจุลินทรีย์ให้ทั่ว แล้วไถกลบฟางข้าว จุลินทรีย์จะช่วยย่อยสลายฟางข้าว ให้เน่าเปื่อย ทำให้ดินร่วนซุย เป็นอาหารของข้าวต่อไป สำหรับขั้นตอนนี้ควรทำในช่วงเดือนธันวาคม เพราะในช่วงนี้เป็นหน้าหนาว มีหมอกลงเหมาะในการขยายตัวของเชื้อจุลินทรีย์
ขั้นตอนที่ 4 นำ น้ำจุลินทรีย์มาหมักเมล็ดข้าว โดยให้น้ำจุลินทรีย์ ท่วมเมล็ดข้าว หากมีเมล็ดข้าวฟูน้ำ ให้เก็บออกให้หมด ควรแช่เมล็ดข้าวประมาณ 2-3 วัน แล้วนำขึ้นจากน้ำมาพักไว้ สัก 1 วัน แล้วนำมาหว่านในแปลงที่เตรียมไว้
ขั้นตอนที่ 5 การเตรียมพื้นที่สำหรับเพาะข้าว
พอถึงฤดูการทำนา ถ้าหากปีไหนฝนดี คือ ฝนตกในช่วงเดือนมิถุนายน ควรเตรียมพื้นที่สำหรับกล้าพันธุ์ข้าว คือ เตรียมแปลงสำหรับเพาะพันธุ์ข้าว ซึ่งมีหลักพิจารณาดังนี้
1. ที่ดินร่วนซุย
2. อยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น สระน้ำ หนองน้ำ ถ้าหากฝนทิ้งช่วง จะได้อาศัยน้ำจากแหล่งน้ำได้
วิธีเตรียมแปลงเพาะกล้าพันธุ์ข้าว
1. ที่มีน้ำขังพอที่จะหว่านกล้า เราก็ไถและคราดดินให้ร่วนซุย และระดับพื้นเสมอกัน ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วนำเมล็ดข้าวที่เตรียมไว้มาหว่าน อย่าให้หนาหรือห่างจนเกินไป
2. ประมาณ 10-15 วัน ต้นกล้าตั้งหน่อได้แข็ง นำน้ำจุลินทรีย์ ผสมน้ำพ่นต้นกล้าโดยผสมน้ำจุลินทรีย์ 3 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วแปลงกล้า
3. ขังน้ำใส่ต้นกล้า อย่าให้ขาดจากแปลงกล้า
4. ก่อนจะถอนกล้า 5 วัน ให้น้ำจุลินทรีย์พ่นอีก เพื่อจะได้ถอนง่าย เพราะรากจะฟู
นาข้าวอินทรีย์



ขั้นตอนที่ 6 การปักดำ
ในช่วงก่อนการปักดำ เราควรขังน้ำไว้ในนา เพื่อจะทำให้ดินนิ่ม ดินไม่แข็ง ง่ายในการไถดำ เราควรจะกักน้ำเอาไว้
1. พอถึงเวลาดำนา เราควรปล่อยน้ำที่ขังออกจากคันนา ให้เหลือไว้ประมาณ 10-15 เซนติเมตร อย่าให้น้ำมากหรือน้อยจนเกินไป ถ้าน้ำมากจะทำให้ข้าวเปื่อย ถ้าน้ำน้อย หากฝนขาดช่วงจะทำให้ข้าวขาดน้ำ เพราะการทำนายังอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติจึ่งเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน
2. ไถน้ำและคราดที่นาให้ดินร่วนซุย และนำต้นกล้ามาปักดำ ซึ่งกำหนดความห่างระหว่างต้นให้ห่างประมาณ 40 เซนติเมตร เพื่อให้แตกกอได้ดีและใส่ต้นกล้า กอละประมาณ 2-3 ต้นกล้า
3. เมื่อปักดำประมาณ 15 วัน นำจุลินทรีย์ไปผสมน้ำพ่นต้นข้าวในนา เพื่อกระตุ้นเชื้อจุลินทรีย์ที่หว่านตอนเตรียมดิน และจะทำให้ต้นข้าวแข็งแรงเติบโต และทนต่อศัตรูข้าว
4. คอยหมั่นดูแลต้นข้าว และดูแลระดับน้ำอย่าให้ขาดในนาข้าว หมั่นรักษาไม่ให้วัชพืชขึ้นในนาข้าว และพ่นจุลินทรีย์ในทุก ๆ 20 วัน จนถึงข้าวตั้งท้องแล้วจึงงดการพ่นจุลินทรีย์ แต่ยังคงรักษาระดับน้ำในคันนาอย่าให้ขาด
5. พอข้าวแก่พอสมควรก็ปล่อยน้ำจากคันนา และเตรียมเก็บเกี่ยวต่อไป
ประโยชน์การทำนาข้าวอินทรีย์
1. ช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตมากขึ้น เพราะการให้ปุ๋ยจุลินทรีย์จะทำได้ผลผลิต 800 กิโลกรัมต่อไร่ โดยต้นทุนในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพียงแค่ประมาณ 200 บาท ต่อไร่ โดยอาจจะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากในตอนแรก แต่จะค่อย ๆ ลดลงเมื่อสภาพดินดีแล้ว ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีจะได้ผลผลิตประมาณ 400 กิโลกรัมต่อไร่ โดยต้นทุนการผลิตประมาณ 400 บาท ต่อไร่ และต้องเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้มากขึ้นในทุก ๆ ปี
2. ได้สภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์กลับคืนมา ดินร่วนซุย รากข้าวชอนไชหาอาหารง่าย กบ กุ้ง ปลา ชุกชุม มีสุขภาพชีวิตที่ดี มีอาหารปลอดสารพิษไว้บริโภค


ข้อมูลจาก:ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร 
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.นครศรีธรรมราช

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โครงการกลไกพลังงานสีเขียว

โครงการกลไกพลังงานสีเขียว

แม้ว่าสังคมเมืองกับสังคมชนบทจะห่างไกลกัน ไม่ว่าจะด้วยระยะทางหรือความเป็นอยู่ที่แตกต่าง แต่ด้วยความเป็นคนไทยด้วยกัน เราสามารถทำให้ระยะทางและความแตกต่างสั้นลงได้ด้วยน้ำใจที่ต่อเชื่อมกัน และด้วยการเป็นผู้ผลิตหรือให้บริการในกิจการใดๆ ไม่ได้หมายถึงการไม่ตระหนักถึงความรับผิดชอบที่ต้องเกื้อหนุนสังคม หากแต่ด้วยประเทศยังต้องการการบริโภคสินค้าต่างๆ ความจำเป็นที่ต้องผลิตจึงมีอยู่ แต่ถ้ามีโอกาสตอบแทนหรือยื่นกลับให้สังคม โดยเฉพาะให้กับผู้ขาดหรือยังไม่มี หรือทำให้สังคมที่ห่างไกลได้รับการพัฒนาที่ดีขึ้น การย่นระยะทางหรือระยะห่างระหว่างสังคมเมืองกับชนบทคงใกล้กันมากขึ้น



     ในพื้นที่ภูเขาหรือป่าทึบที่ห่างไกลของเมืองไทยบางชุมชนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ การสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนบางประเภท เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำขนาดเล็กในการผลิตไฟฟ้า ที่หากพิจารณาด้านต้นทุนแล้วไม่มีความคุ้มทุน ด้วยมีต้นทุนสูงกว่าเชื้อเพลิงประเภทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แต่หากนำไปติดตั้งให้กับชาวบ้านที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงนั้นจะมีความคุ้มค่านัก เพราะประหยัดค่าติดตั้งระบบสายส่งที่ต้องลงทุนระดับร้อยล้าน ในขณะที่สามารถช่วยให้ชาวบ้านมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การพัฒนาเหล่านี้สังคมเมืองและภาคอุตสาหกรรมสามารถมีส่วนร่วมช่วยเหลือโดยการให้การสนับสนุนผ่าน “กลไกพลังงานสีเขียว ”
กลไลพลังงานสีเขียว
     เป็นกลไกที่ช่วยสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าหรือความร้อนที่มาจากพลังงานหมุนเวียน ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ซึ่งผู้บริโภคที่ใช้ไฟฟ้าทั้งในรูปแบบองกรณ์และบุคคลทั่วไป ที่เล็งเห็นถึงประโยชน์ดังกล่าว สามารถสนับสนุนได้ในรูปแบบของการจ่ายค่าไฟฟ้าเพิ่มและการบริจาคเพื่อนำไปจัดหาไฟฟ้าจากพลังงาน หมุนเวียนให้มีมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาพลังงานสีเขียวในพื้นที่ห่างไกล โดยหัวใจหรือกลไกการทำงาน คือ ความร่วมมือของ 3 ฝ่ายคือ รัฐ เอกชน / ผู้บริโภค และหน่วยงานกลางในการพัฒนา
     ซึ่งจะร่วมกันจัดตั้งและบริหารจัดการเงินสนับสนุนกลไกพลังงานสีเขียวในรูปแบบของกองทุนโดยจะมีคณะกรรมการ กำกับดูแลการบริหารจัดการกองทุนในการพัฒนาพลังงานสีเขียวตามวัตถุประสงค์
"เอกชน / ผู้บริโภค" : บริจาค / ให้เงินสนับสนุน
"รัฐ...กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรัษษ์พลังงาน" : ให้การรับรอง / มีมาตรการสนับสนุน
"หน่วยงานกลาง...โดย มพส." : ประสาน / ขับเคลื่อน / พัฒนาพลังงานสีเขียว
หัวใจในการพัฒนากลไกพลังงานสีเขียว
"กลไกพลังานสีเขียว" กลไกพัฒนาพลังงานหมุนเวียนชุมชน โดยระดมทุนจากภาคเอกชน ที่ให้ความสำคัญเรื่อง Corporate Social Responsibility (CSR) รวมถึงการรับบริจาคและสนับสนุนจากประชาชนทั่วไปจะขยายการสู่การสร้างตลาดพลังงานสีเขียว (Green Energy Market) ที่ผู้บริโภคในรูปองค์กรและประชาชนจะสามารถเลือกใช้ / ซื้อพลังงานที่มาจากพลังงานสะอาดด้วยตนเอง

โครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาและซ่อมแซมระบบแผงไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์โครงการโซลาร์โฮมให้แก่ชุมชน

โครงการอบรมให้ความรู้ในการดูแลบำรุงรักษา และซ่อมแซมระบบรวมถึงประสานงานในการซ่อมแซมอุปกรณ์ และปรับปรุงระบบเพื่อให้สามารถใช้แผงโซลาร์เซลล์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป โดยมีพื้นที่เป้าหมายในปัจจุบัน ได้แก่
หมู่บ้านเตะโป๊ะปู่ ต.แม่ต้าน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
หมู่บ้านเกร๊ะคี ต.แม่วะหลวง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
หมู่บ้านแม่แอบ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่



หมู่บ้านตะโป๊ะปู่ ต.แม่ต้าน จ.ตาก โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 12 กิโลวัตต์จ่ายไฟฟ้าให้ชาวบ้านรวม 60 หลังคาเรือน ปัจจุบันได้เริ่มมีการผลิตไฟฟ้าแล้ว โดยได้จัดอบรมการใช้งานและการดูแลรักษา ระบบให้แก่คณะกรรมการโรงไฟฟ้าประจำหมู่บ้านด้วย ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ควบคุมและจัดเก็บค่าสมาชิกไฟฟ้าและค่าไฟฟ้า
หมู่บ้านเกร๊ะคี ต.แม่วะหล่วง จ.ตาก โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 2 กิโลวัตต์โดยจะผลิตไฟฟ้าให้กับวัด ดำเนินการแล้วเสร็จ มีนาคม 2552
หมู่บ้านห้วยปูลิง ต.บ้านหลวง จ.เชียงใหม่ ด้วยความร่วมมือจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษณ์พลังงาน ซึ่งได้ดำเนินการสำรวจศักยภาพพร้อมทั้งให้คำแนะนำด้านเทคนิคแก่ E for E เพื่อดำเนินการพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 22 กิโลวัตต์


ข้อมูลจาก:มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม 


เอทานอลพลังงานทดแทนที่น่าสนใจ

 เอทานอลพลังงานทดแทนที่น่าสนใจ
 เอทานอลเป็นพลังงานทดแทนชนิดหนึ่ง เมื่อนำไปผสมกับน้ำมันสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ ใช้ทดแทนน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล โดยวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเอทานอลแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1.       วัตถุดิบประเภทแป้ง ได้แก่ ผลผลิตทางการเกษตรพวกธัญพืช เช่น ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง และพวกพืชหัว เช่น มันสำปะหลัง มันฝรั่ง มันเทศ เป็นต้น
2.        วัตถุดิบประเภทน้ำตาล ได้แก่ อ้อย กากน้ำตาล บีตรูต ข้าวฟ่างหวาน เป็นต้น
3.        วัตถุดิบประเภทเส้นใย เช่น ฟางข้าว ชานอ้อย ซังข้าวโพด รำข้าว เป็นต้น 
     กระบวนการผลิตเอทานอลเหมือนกับกระบวนการผลิตแอลกอฮอล์ เพียงแต่ต้องทำให้เอทานอลบริสุทธิ์ถึงร้อยละ 99.5  ถ้าเอทานอลมีน้ำปะปนอยู่มาก เมื่อนำไปใช้กับเครื่องยนต์จะทำให้เครื่องน็อก ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ของเครื่องยนต์เกิดสนิมได้ กรรมวิธีหรือเทคโนโลยีในการแยกน้ำเพื่อผลิตเอทานอลที่นิยมมี 3 วิธี คือ
1.       กระบวนการแยกน้ำด้วยวิธีการกลั่นสกัดแยกกับสารตัวที่สาม (extractive distillation with the third component) โดยสารตัวที่สามที่ใช้คือ สารไซโคลเฮกเซน (cyclo-hexane)
2.        กระบวนการแยกด้วยวิธีเมมเบรน (membrane pervaporation)
3.        กระบวนการแยกด้วยวิธีโมเลคูลาซีฟ(molecular sieve reparation) 
การผลิตเอทานอล 1 ลบ.ม. จะทำให้เกิดน้ำเสีย 10 ลบ.ม. และน้ำเสีย 1 ลบ.ม. สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 35 ลบ.ม. 
จาก:มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิธีใช้ EM กับการเกษตร

วิธีใช้ EM กับ พืชผัก
 การเตรียมแปลง
    - ใส่โบกาฉิตารางเมตรละ 300 - 500 กรัม
    - ฉีด พ่น อีเอ็ม ขยาย (1 : 100)
    - คลุมดินด้วยฟางหรือหญ้าแห้งและอินทรีย์วัตถุอื่นๆ
    - เพื่อหมักดินทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
การเพาะเมล็ดและย้ายกล้า
    - แช่เมล็ดในอีเอ็มขยาย 1 : 1000
    - แช่ต้นกล้าในอีเอ็มขยาย 1 : 1000
    -ระยะเวลาแช่เมล็ดขึ้นอยู่กับขนาดของเมล็ด
 การดูแล
    - ฉีด พ่น อีเอ็ม (1 : 500)ขยายอาทิตย์ละครั้ง
    - รดน้ำผสมอีเอ็มขยาย 1 : 500
    - ใส่โบกาฉิครั้งละ 1 - 2 กำมือต่อต้นต่อเดือน
หลังเก็บเกี่ยว
    - สับต้นพืชที่ไม่ได้เก็บเกี่ยวลงในแปลง
    - โรยโบกาฉิ 300 - 500 กรัมต่อตารางเมตร
    - รด อีเอ็มขยาย 1 : 500 (เพื่อให้มีความชื้นเหมาะต่อการทำงานของจุลินทรีย์)
    - หมักไว้ 1 สัปดาห์ก่อนย้ายกล้าหรือหว่านเมล็ด
หลังเก็บเกี่ยว

 วิธีใช้ EM กับ นาข้าว
    - หว่านโบกาฉิ ไร่ละ 100 กิโลกรัม
    - รด อีเอ็มขยาย ไร่ละ 50 ลิตร
    -เพื่อย่อยสลายฟางให้เป็นปุ๋ย
ไถดะ
    - ใส่โบกาฉิอีกครั้งหนึ่งเท่าเดิม
    - รดด้วยอีเอ็มขยาย
    -ไถแปรเพื่อเตรียมหว่านและย้ายกล้า
เตรียมเมล็ดและต้นกล้า
    - แช่เมล็ดและต้นกล้าในอีเอ็มขยาย 1 : 1000 ก่อนปลูก
    - พ่นอีเอ็มขยายและอีเอ็ม5 ที่แปลงเพาะกล้า
    -ระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ 20 ซม.
การดูแล
    - ใสอีเอ็มขยาย, FPE, EM5 เดือนละครั้ง (ผสมน้ำ 1: 500)
    - เทอีเอ็มขยายครั้งละ 50 – 100 ลิตรต่อไร่ไปตามน้ำที่ไหลเข้านา
    -ใช้อีเอ็มน้ำซาวข้าวแทนอีเอ็มขยายก็ได้

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปรากฏการณ์โลกร้อน

  ปรากฏการณ์โลกร้อน เป็นคำจำเพาะคำหนึ่งของอุบัติการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก โดยที่ "การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ" มีความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในทุกช่วงเวลาของโลก รวมทั้งเหตุการณ์ปรากฏการณ์โลกเย็นด้วย โดยทั่วไป คำว่า "ปรากฏการณ์โลกร้อน" จะใช้ในการอ้างถึงสภาวะที่อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้นในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่าน มา และมีความเกี่ยวข้องกระทบต่อมนุษย์ ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ใช้คำว่า “การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” (Climate Change) สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์

สภาพภูมิอากาศของโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปตามแรงกระทำจากภายนอก ซึ่งรวมถึงการผันแปรของวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ (แรงกระทำจากวงโคจร) การระเบิดของภูเขาไฟ  และการสะสมของแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศ รายละเอียดเกี่ยวกับสาเหตุของความร้อนที่เพิ่มขึ้นของโลกยังคงเป็นประเด็น การวิจัยที่มีความเคลื่อนไหวอยู่เสมอ อย่างไรก็ดี มีความเห็นร่วมทางวิทยาศาสตร์ (scientific consensus) บ่ง ชี้ว่า ระดับการเพิ่มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นส่วนที่มี อิทธิพลสำคัญที่สุดนับแต่เริ่มต้นยุคอุตสาหกรรมเป็นต้นมา สาเหตุข้อนี้มีความชัดเจนมากในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากมีข้อมูลมากพอสำหรับการพิเคราะห์ นอกจากนี้ยังมีสมมุติฐานอื่นในมุมมองที่ไม่ตรงกันกับความเห็นร่วมทางวิทยา ศาสตร์ข้างต้น ซึ่งนำไปใช้เพื่ออธิบายเหตุการณ์ที่อุณหภูมิมีค่าสูงขึ้น สมมุติฐานหนึ่งในนั้นเสนอว่า ความร้อนที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นผลจากการผันแปรภายในของดวงอาทิตย์
ผลกระทบจากแรงดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นในฉับพลันทันใด เนื่องจาก “แรงเฉื่อยของความร้อน” (thermal inertia) ของมหาสมุทรและการตอบสนองอันเชื่องช้าต่อผลกระทบทางอ้อมทำให้สภาวะภูมิอากาศ ของโลก ณ ปัจจุบันยังไม่อยู่ในสภาวะสมดุลจากแรงที่กระทำ การศึกษาเพื่อหา “ข้อผูกมัดของภูมิอากาศ” (Climate commitment) บ่งชี้ว่า แม้แก๊สเรือนกระจกจะอยู่ในสภาวะเสถียรในปี พ.ศ. 2543 ก็ยังคงมีความร้อนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 0.5 องศาเซลเซียสอยู่ดี

ปรากฏการณ์เรือนกระจก ค้นพบโดยโจเซฟ ฟูเรียร์ เมื่อ พ.ศ. 2367 และได้รับการตรวจสอบเชิงปริมาณโดยสวานเต อาร์รีเนียส ในปี พ.ศ. 2439 กระบวนการเกิดขึ้นโดยการดูดซับและการปลดปล่อยรังสีอินฟราเรดโดยแก๊สเรือนกระจกเป็นตัวทำให้บรรยากาศและผิวโลกร้อนขึ้น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โรคเลปโตสไปโรซีส ( (Leptospirosis)หรือโรคฉี่หนู

 โรคเลปโตสไปโรซีส ( (Leptospirosis)หรือโรคฉี่หนู
  โรคเล็ปโตสไปโรซิส มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียรูปเกลียว (spirochete) ชื่อ เล็บโตสไปร่า อินเทอโรแกนส์ (Leptospira interrogans)โรคนี้พบได้ทั้งในคนและสัตว์ โดยในสัตว์ที่เป็นพาหะนั้นอยู่รอบตัวเราเอง มักพบในหนู วัว ควาย สุกร หมา แมว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวสำคัญที่พบบ่อยที่สุดคือ หนูนั่นเอง ซึ่งเป็นที่มาของ โรคฉี่หนู  หนูเป็นตัวแพร่โรคที่สำคัญ สาเหตุที่หนูมีเชื้อนี้ เพราะหนูได้สะสมสารเคมีต่างๆที่เกษตรกรใช้ในกระบวนการเกษตรกรรม เช่น การใช้ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง หรือปุ๋ยเคมี เป็นระยะเวลานาน  ส่วนมากจะเป็นในนาข้าว ซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อนและสะสมในดิน หรือ ผลิตผล เช่น นาข้าว ไร่อ้อย เป็นต้นเมื่อหนูกินข้าว,หญ้า,วัชพืช มันก็จะสะสมสารเคมีเหล่านี้ด้วย พราะเชื้อจะอยู่ในไต ของหนู เมื่อหนูฉี่ออกมา เชื้อก็จะออกมาด้วย และปนเปื้อนอยู่ในน้ำ ดินโคลนที่ชื้นแฉะ หนองบึง หรือในนาข้าว เมื่อเราไปย่ำน้ำ โดยไม่ใส่อะไรป้องกัน
ารติต่อของโรคฉี่หนู
การติดต่อ
 มักจะพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนต่อหนาว มีน้ำขัง โอกาสติดต่อจากคนสู่คนมีน้อยมาก ไม่ต้องรังเกียจ แต่เป็นโรคที่ติดต่อจาก สัตว์สู่คน ง่ายมาก เพียงจากฉี่หนู ที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ในน้ำ และที่แย่ก็คือ เชื้อนี้สามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำ ได้หลายเดือน และ สำหรับสัตว์นั้น ที่น่ากลัวก็คือ เมื่อสัตว์เช่น วัว ควาย หมู ไปกินน้ำหรืออาหาร ที่มีเชื้อนี้เข้าไปในร่างกาย เชื้อก็จะเข้าสู่กระแสเลือด และเข้าไปที่ไต ทุกครั้งที่สัตว์พวกนี้ฉี่ออกมา ก็จะปล่อยเชื้อโรคออกมาด้วย

 อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดง ของโรคเล็ปโตสไปโรซิสนั้นมีได้ตั้งแต่มีอาการเล็กน้อย จนถึงมีอาการรุนแรงถึงแก่ชีวิต กว่า 90% ของผู้มีอาการจะมีอาการเล็กน้อยและมักเป็นแบบไม่เหลือง ส่วนเล็ปโตสไปโรซิสที่มีอาการรุนแรงนั้น พบได้ 5-10% ของผู้ติดเชื้อ

    โรคเล็ปโตสไปโรซิสแบบไม่เหลือง (anicteric leptospirosis) แบ่งเป็น 2 ระยะ
ระยะมีเชื้อในเลือด (leptospiremic phase) ระยะนี้มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้หนาวสั่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งในโรคเล็ปโตสไปโรซิสจะมีลักษณะเฉพาะคือ ปวดบริเวณน่อง หลัง และหน้าท้อง ผู้ป่วยส่วนมากมักมีอาการปวดศีรษะมาก โดยเฉพาะบริเวณด้านหน้าหรือหลังเบ้าตา อาการอื่นๆที่อาจพบได้ ได้แก่ เจ็บคอ ไอ เจ็บหน้าอก ผื่น สับสน ไอเป็นเลือด อาการแสดงที่อาจตรวจพบ ได้แก่ เยื่อบุตาแดง ต่อมน้ำเหลืองโต คอแดง กดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ ตับม้ามโต อาจพบอาการดีซ่านได้เล็กน้อย อาการในระยะนี้จะหายไปได้เองภายใน 1 สัปดาห์ ช่วงที่ไม่มีอาการจะนาน 1-3 วัน ก่อนจะเข้าสู่ระยะที่สอง
ระยะมีเชื้อในปัสสาวะ (leptospiruric phase) ระยะนี้เป็นผลมาจากปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาการและอาการแสดงมีความจำเพาะและความรุนแรงน้อยกว่าในระยะแรก ลักษณะที่สำคัญของโรคในระยะนี้คือ กว่า 15% ของผู้ป่วย จะมีอาการและอาการแสดงของภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบแบบไร้เชื้อ (aseptic meningitis) ส่วนใหญ่พบในเด็ก ซึ่งอาจหายได้เองภายในเวลาไม่กี่วันหรืออาจคงอยู่นานเป็นสัปดาห์ สำหรับภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น ม่านตาอักเสบ จอตาอักเสบ มักเกิดตามหลังอาการเริ่มแรกของโรคนานหลายเดือน และคงอยู่ได้นานเป็นปี

    โรคเล็ปโตสไปโรซิสรุนแรง (severe leptospirosis)
โรคเล็ปโตสไปโรซิสรุนแรง หรือกลุ่มอาการเวล (Weil's Syndrome) กลุ่มอาการนี้มีอัตราการตายอยู่ที่ประมาณ 5-15% พบได้เป็นพิเศษในการติดเชื้อในซีโรวาร์ อิกเทอโรฮีมอราเจียอี/โคเปนเฮเกไน (icterohaemorrhagiae/copenhageni) อาการในระยะเริ่มแรกไม่ต่างจากโรคเล็ปโตสไปโรซิสแบบไม่เหลือง แต่ไม่มีลักษณะที่แบ่งออกเป็นสองระยะชัดเจน มักแสดงอาการรุนแรงใน 4-9 วันหลังจากเริ่มมีอาการ ประกอบด้วย
    * อาการดีซ่าน ที่พบในกลุ่มอาการเวล จะมีลักษณะเหลืองมากจนแทบเป็นสีส้มเมื่อสังเกตทางผิวหนัง มักพบตับโตร่วมกับกดเจ็บ ประมาณ 20% ของผู้ติดเชื้อมีอาการม้ามโตร่วมด้วย มีไม่มากนักที่เสียชีวิตจากภาวะตับวาย
    * ไตวายเฉียบพลัน
    * อาการทางปอด เช่น ไอ มีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย จนถึงระบบหายใจล้มเหลว
    * ความผิดปกติทางระบบการแข็งตัวของเลือด มีตั้งแต่อาการเพียงเล็กน้อย เช่น เลือดกำเดา จ้ำเลือดตามผิวหนัง ไปจนถึงอาการรุนแรง เช่น เลือดออกในทางเดินอาหาร เลือดออกในช่องเยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น
    * อาการอื่นๆ ได้แก่ กล้ามเนื้อลายสลายตัว เม็ดเลือดแดงแตก เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับอ่อนอักเสบรุนแรง ภาวะการทำงานของอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ เป็นต้น

โรคเล็ปโตสไปโรซิส ติดต่อจากคนสู่คนได้น้อยมาก ส่วนใหญ่ติดต่อกันโดยการสัมผัสกับปัสสาวะ เลือด หรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่มีการติดเชื้อโดยตรง หรือสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ เช่น
    * การกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป
    * การหายใจเอาไอละอองของปัสสาวะ หรือ ของเหลวที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป
    * เข้าผ่านเยื่อบุต่างๆ เช่น ตา และปาก
    * ไชเข้าทางผิวหนังตามรอยแผลและรอยขีดข่วน
    * ไชเข้าทางผิวหนังปกติที่เปียกชุ่มจากการแช่น้ำนานๆ

ระยะฟักตัวของโรคใช้เวลา 1-2 สัปดาห์แต่อาจนานได้ถึง 3 สัปดาห์ แบ่งเป็นระยะมีเชื้อในเลือด (leptospiremic phase) ซึ่งจะเริ่มแสดงอาการและส่วนใหญ่จะหายไปเองใน 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นอีก 1-3 วันจะเข้าสู่ระยะมีเชื้อในปัสสาวะ (leptospiruric phase) ผู้ป่วยบางส่วนจะแสดงอาการอีกครั้ง ประมาณ 5-10% ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการของโรคเล็ปโตสไปโรซิสรุนแรง

โรคเล็ปโตสไปโรซิสแพร่กระกายและเกิดขึ้นได้ง่ายในช่วงปลายฤดูฝน พบบ่อยในช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน เพราะช่วงนี้พื้นดินแฉะ มีน้ำขัง เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตและสะสมของเชื้อในรรมชาติ พบโรคนี้ได้มากตามจังหวัดที่ทำการปลูกข้าว บริเวณที่ต้องย่ำน้ำ หรือแหล่งน้ำขังที่มีพาหะนำโรคชุกชุม อาจรวมถึงบ่อน้ำขนาดใหญ่ด้วย

 การดำเนินชีวิตที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคนี้ คือ
-ไถนา ดำนา เกี่ยวข้าว หว่านแห โดยไม่สวมรองเท้าบู๊ต ทำให้เกิดบาดแผล รอยขีดข่วน จึงติดโรคได้ง่าย
-เดินเท้าเปล่าในคอกสัตว์ โดยพื้นคอกสัตว์เปื้อนเยี่ยวสัตว์
-ชำแหละสัตว์โดยไม่สวมถุงมือ โดยเฉพาะทำอาหารจากหนู
-กินเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ที่ยังไม่ได้ปรุงให้สุก
-เดินย่ำน้ำ ลุยโคลน ที่น้ำขัง หรือชื้นแฉะ
-อาบน้ำ กลืนน้ำ และลืมตาในน้ำ ที่มีเชื้อโรคอาศัยอยู่
-กินผักสด ผลไม้ที่ปนเปื้อนเยี่ยวหนู และล้างไม่สะอาด
-ดื่มน้ำ กินอาหาร ที่ปนเปื้อนเยี่ยวหนู ที่ไม่ทำให้ร้อนก่อนกิน

กลุ่มประชากรบางกลุ่มถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค ได้แก่
    * สัตวแพทย์
    * ผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรม ปศุสัตว์ ประมง
    * การสันทนาการและกีฬาทางน้ำ เช่น การว่ายน้ำ การเล่นเรือแคนู วินด์เซิร์ฟ สกีน้ำ ไตรกีฬา ฯลฯ
การรักษา
โรคเล็ปโตสไปโรซิสสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ควรให้ยาเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้หรือไม่ควรเกิน 4 วันหลังจากมีอาการเป็นอย่างช้า ระยะเวลาที่ให้นานอย่างน้อย 7 วัน

 การป้องกัน
เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคฉี่หนู ควรหลีกเลี่ยงจากแหล่งสกปรก บริเวณที่เป็นแหล่งสะสม ของเชื้อโรค และควรปฏิบัติตัวให้ถูกสุขลักษะดังนี้
๑. หลีกเลี่ยงการแช่น้ำ ลุยน้ำหรือว่ายน้ำในขณะที่มีน้ำท่วมขัง ถ้าหากจำเป็น ต้องพยายามไม่ให้น้ำเข้าตา จมูก หรือปาก
๒. หลีกเลี่ยงการเดินย่ำโคลน ดินชื้นแฉะ ด้วยเท้าเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีบาดแผล รอยขีดข่วน ที่ขา และเท้า ควรสวม รองเท้ายางหุ้มข้อ เพื่อการป้องกันเชื้อโรค
๓. ดูแลบ้านเรือนให้สะอาด ไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งหากินของหนู ซึ่งเป็นพาหะนำโรค
๔. กำจัดขยะ ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และที่อาศัยของหนู
๕. ควรเก็บอาหารไว้ในที่มิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้หนูถ่ายปัสสาวะรดอาหาร
๖. อาหารที่ค้างมื้อ เมื่อจะนำมากินในมื้อต่อไป จะต้องนำมาอุ่นให้เดือดเสียก่อน เพื่อให้เชื้อโรค ที่อาจปะปนอยู่ในอาหาร ถูกทำลายโดยความร้อน
๗. ถ้ามีบาดแผลหรือรอยถลอก ควรปิดปลาสเตอร์ก่อนลงน้ำ
๘. นำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคทุกปี
๙. ควรปิดฝาโอ่งน้ำหรือภาชนะบรรจุน้ำ เพื่อป้องกันหนูมาถ่ายปัสสาวะลงไปในน้ำ
๑๐. ภาชนะที่ใช้ใส่อาหาร ควรล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อโรค
๑๑. ล้างมือทุกครั้งก่อนกินอาหาร
    การป้องกันที่กล่าวมาอาจเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น แท้จริงแล้ววิธีที่ถูกต้องที่สุดคือ การป้องกันที่ต้นเหตุ โดยต้องเกิดจากการที่เกษตรกรต้องมีความเข้าใจอันถูกต้อง และตระหนักถึงโทษของการใช้สารเคมีที่มากเกินไป จนทำให้ระบบนิเวศน์เสียไป หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ควรมีบทบาทเพิ่มขึ้นในการให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ให้แก่เกษตรกร หรือบุคคลากรที่ทำหน้าที่ด้านนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/
สารอโศกหมอชาวบ้าน ฉบับที่ ๒๗๒ และ น.ส.พ.ไทยรัฐ

วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การทำน้ำส้มควันไม้

การทำน้ำส้มควันไม้
           น้ำ ส้มควันไม้ เป็นของเหลวสีน้ำตาลใส มีกลิ่นควันไม้ ได้มาจากการควบแน่นของควัน ที่เกิดจากการผลิตถ่านไม้ ช่วงที่ไม้กำลังจะเปลี่ยนเป็นถ่าน ถ่ายเทความร้อนจากปล่องดักควันสู่อากาศ รอบปล่องดักควันความชื้นในควัน จะควบแน่นเป็นหยดน้ำ ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดอะซิติกมีความเป็นกรดต่ำ มีสีน้ำตาลแกมแดง นำน้ำส้มควันไม้ที่ได้ทิ้งไว้ในภาชนะพลาสติกประมาณ 3 เดือน
ในที่ร่ม ไม่สั่นสะเทือนเพื่อให้น้ำส้มควันไม้ที่ได้ตกตะกอนและแยกตัวเป็น 3 ชั้น คือ น้ำมันเบา (ลอยอยู่ผิวน้ำ)น้ำส้มไม้ และน้ำมันทาร์ (ตกตะกอนอยู่ด้านล่าง) แยกน้ำส้มควันไม้มาใช้ประโยชน์ต่อไป



วัสดุอุปกรณ์
   1. อิฐ   500  ก้อน
   2. ถังน้ำมัน  200  ลิตร  2  ถัง
   3. ไม้ไผ่ยาว  8  เมตร พร้อมเจาะรู จำนวน  2 ลำ
   4. ความกว้าง 1.75 เมตร ยาว 1.15  เมตร สูง 60 ซม.
ประโยชน์น้ำส้มควันไม้
                น้ำส้มควันไม้มีสารประกอบต่างๆ มากมาย เมื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรจะมีคุณสมบัติ เช่น เป็นสารปรับปรุงดิน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสารเร่งการเติบโตของพืช นอกจากนี้ มีการนำน้ำส้มควันไม้
ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม เช่น ใช้ผลิตสารดับกลิ่นตัว ผลิตสารปรับผิวนุ่ม ใช้ผลิตยารักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น    เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ดังนั้นก่อนที่จะนำไปใช้ควรจะนำมาเจือจางให้เกิดสภาวะที่เหมาะสม
วัตถุประสงค์ของการทำน้ำส้มควันไม้
-  เพื่อเป็นการจัดการเศษไม้  ให้เกิดประโยชน์
-  ส่งเสริมให้ใช้ถ่านแทนก๊าซหุงต้ม
-  แนะนำส่งเสริมน้ำส้มควันไม้เพื่อเป็นผลพลอยได้จากการตัดกิ่งไม้

ด้านครัวเรือน
   1. น้ำส้มควันไม้ 100% ใช้รักษาแผลสด
   2. น้ำส้มควันไม้ 20 เท่า ทำลายปลวกและมด
   3. น้ำส้มควันไม้ 50 เท่า ป้องกับปลวก มด และแมลงต่างๆ
   4. น้ำส้มควันไม้  100 เท่า และ 200 เท่า และลดกลิ่นและแมลง  ผสมผงถ่านใช้ย่อยและป้องกันโรคท้องเสีย  ปรับปรุงคุณภาพเนื้อสัตว์ใหญ่และเพิ่มปริมาณวิตามิน
ด้านการเกษตร
-  ผสมน้ำ  20 เท่า พ่นลงดินทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
-  ผสมน้ำ 50 เท่า  ฆ่าจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช
-  ผสมน้ำ 200 เท่า ฉีดพ่นใบไม้ขับไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา
ด้านอุตสาหกรรมครัวเรือน
- ใช้ผลิตสารดับกลิ่น, สารปรับผิวนุ่ม, ทำให้เนื้อนิ่ม
- ใช้ย้อมผ้า
- ป้องกันเนื้อไม้จากเชื้อราและแมลง
- เป็นยารักษาโรคผิวหนังเชื้อไทฟอยด์
- เสริมภูมิต้านทานฮอร์โมนทางเพศ
- น้ำส้มควันไม้ที่ผ่านกระบวนการกลั่นแล้วนำไปใช้กระบวนการอาหาร เช่น หยด รม เคลือบหรือเติมแผลสด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนรวก บรรเทาอาการเจ็บปวดต่าง ๆ                                                      
วีธีการเผา
                ใส่ไม้ลงถัง 200 ลิตร ประมาณ 80 ก.ก. โดยเริ่มเก็บน้ำส้มที่อุณหภูมิปากปล่อง 80 องศา  และหยุดเก็นที่ 150 องศา โดยอุณหภูมิดังกล่าวจะไม่มีสารก่อมะเล็ง ใช้เวลาเผา 10 ชม. ได้ถ่าน 15 ก.ก ได้น้ำส้มควันไม้ 2 ลิตร
ข้อควรระวังในการ ใช้น้ำส้มควันไม้
1. ก่อนนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องทิ้งไว้จากการกักเก็บก่อนอย่างน้อย 3 เดือน
2. เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ควรระวังอย่าให้เข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้
3. น้ำส้มควันไม้ไม่ใช่ปุ๋ย แต่เป็นตัวเร่งปฎิกิริยา ดังนั้นการนำไปใช้ทางการเกษตร จะเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพให้กับพืชแต่ไม่สามารถใช้แทนปุ๋ยได้
4. การใช้เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแมลงในดิน ควรทำก่อนเพาะปลูกอย่างน้อย 10 วัน
5. การนำ น้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องผสมน้ำให้เจือจางตามความเหมาะสมที่จะนำไปใช้
6. การฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ เพื่อให้ดอกติดผล ควรพ่นก่อนที่ดอกจะบาน หากฉีดพ่นหลังจากดอกบานแมลงจะไม่เข้ามาผสมเกสร เพราะกลิ่นฉุนของน้ำส้มควันไม้และดอกจะร่วงง่าย
ผลดีที่จะได้กับดินมีดังนี้
-   ความเสียหายที่เกิดจากแมลงและโรคในดินลดลง
-  น้ำส้มไม้เพิ่มประสิทธิภาพให้ปุ๋ย โดยทำให้ง่ายต่อการดูดซึมของพืช
-  น้ำส้มไม้ลดความเสียหายอันเกิดจากความเค็ม
     ควรจะใช้ร่วมกับอย่างอื่น เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ในการปรับคุณภาพของดินในระยะยาว

การทำน้ำส้มควันไม้ให้บริสุทธิ์
                น้ำส้มควันไม้ที่ได้จากการดักเก็บจะไม่นำไปใช้ประโยชน์ทันที เนื่องจากการเปลี่ยนจากไม้เป็นถ่านไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งเตา ดังนั้นควันที่เกิดขึ้นจึงเป็นควันที่ผสมกัน ระหว่างควันที่อุณหภูมิต่ำและ สูง ดังนั้นจะมีน้ำมันดิน และสารระเหยง่ายปนออกมาด้วย น้ำมันดินที่ละลายน้ำไม่ได้ จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรไม่ได้เพราะจะไปปิด ปากใบของพืช และเกาะติดรากพืชทำให้พืชเติบโตช้าหรือตายได้ นอกจากนั้นหากเทลงพื้นดินจะทำให้ดินแข็งเป็นดาน รากพืชไม่สามารถไชลงดินได้ ดังนั้นเมื่อเก็บน้ำส้มควันไม้แล้ว ต้องทิ้งช่วงและมีการทำให้น้ำส้มควันไม้ บริสุทธิ์ก่อนนำไปใช้โดย นำถ่านล้างน้ำให้สะอาดตากให้แห้งบดเป็นผง  (อัตราส่วนน้ำส้มควันไม้  100 ลิตร / ผงถ่านบด 5 กก. )กวนให้เข้ากัน  ทิ้งไว้ 45 วันสารที่ก่อมะเร็งจะตกอยู่ชั้นกลาง  ใส่ภาชนะทิ้งไว้อีก 45 วันให้ตกตะกอนซึ่งก็คือน้ำส้มควันไม้ที่จะนำไปใช้นั้นเอง ส่วนชั้นล่างสุด นั้นเป็นของเหลวข้นสีดำ เราสามารถนำไปกำจัดปลวกได้

การเก็บรักษาน้ำส้มควันไม้
                การเก็บรักษาน้ำส้มควันไม้ ต้องเก็บในที่เย็นร่มหรือเก็บไว้ในภาชนะทึบแสง และ ไม่มีสิ่งรบกวน หากเก็บไว้ที่โล่งแจ้ง น้ำส้มควันไม้จะทำปฏิกิริยากับอากาศและรังสีอันตราไวโอเลต ในแสงอาทิตย์ กลายเป็นน้ำมันดินซึ่งในน้ำมันดินก็จะมีสารก่อมะเร็งด้วย และหากนำไปใช้กับพืช น้ำมันจะจับกับใบไม้ ทำให้ต้นไม้ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ดี

ข้อมูลจาก www.sirikitdam.egat.com/dindam/som.php   

การใช้ EM กับสิ่งแวดล้อม

 การใช้ EM กับสิ่งแวดล้อม
การใช้ EM กับสิ่งแวดล้อมมีเทคนิคการใช้ ดังนี้
1. การกำจัดขยะ
2. การบำบัดน้ำเสีย
3. การกำจัดกลิ่น
4. การกำจัดขยะเปียก

            1. การกำจัดขยะ
            1.1 ขยะที่กระจัดกระจายบนผิวดิน นำมากองรวมกัน หรือทับถมกัน อยู่ในน้ำ ทำให้เกิดกลิ่น แมลงวัน กำจัดด้วยการใช้ EM ขยาย ผสมน้ำ 500 เท่า (หาก ขยะแห้ง ผสมน้ำ 1,000 เท่า) ฉีดพ่นให้ทั่วทุกครั้งที่นำขยะมาทิ้ง จะส่งผลให้
            - ขยะถูกย่อยได้เร็ว
            - แมลงวันลดลง
            - กลิ่นหมดไป
            - น้ำที่ไหลออกไปเป็นน้ำปุ๋ย
            1.2 ขยะที่กองในที่ลุ่ม หรือมีหลุมฝังกลบ ใช้ EM พ่นต่อเนื่อง เมื่อมีการนำขยะมาทิ้งใหม่ 5-7 วัน กลบดินบางๆ การกลบดินจะช่วยให้เกิดการหมักและย่อย สลายได้เร็วขึ้น จะยุบและถมต่อได้อีกหลายครั้ง
            1.3 การนำขยะไปทำปุ๋ย ต้องหมักด้วย EM จึงจะไม่เป็นพิษภัย เพราะขยะหลายชนิดมีพิษ
            1.4 ขยะมีพิษ ขุดหลุมฝังอย่างเดียว ก่อนกลบควรพ่น EM ให้ทั่วแล้วกลบ จะไม่เกิดพิษต่อไปได้อีก
          
            2. การบำบัดน้ำเสีย
            ใช้อุปกรณ์สำคัญ 2 อย่าง คือ EM ขยายกับ EM บอล (ดังโหงะ)
            - EM ขยาย ใช้ฉีดพ่น 1 ลิตร ต่อน้ำ 10 ลูกบาศก์เมตร (1 : 10,000)
            - EM บอล (ดังโหงะ) กำจัดโคลนตมใต้ผิวน้ำ และบำบัดน้ำเสียที่มีลักษณะเคลื่อนไหว 1 ลูก ต่อน้ำ 10 คิว (ลูกบาศก์เมตร)
            การ บำบัดน้ำเสียจากโรงงาน โรงแรม โรงเลี้ยงสัตว์ โรงอาหาร จะมีแหล่งเกิดน้ำเสียชัดเจน การแก้ปัญหาน้ำเสีย ทำดังนี้
            2.1 พ่น EM ขยาย หรือใช้ EM บอล (ดังโหงะ) บำบัดน้ำเสียทั้งหมดในบ่อบำบัดและแหล่งเก็บอื่นๆ
            2.2 ผสม EM ขยาย กับน้ำที่ไหลออกจากแหล่งกำเนิดน้ำเสียตลอดเวลา (เช่น ระบบน้ำหยด) แล้วน้ำจะไม่เน่าเสีย แต่ควรมีบ่อบำบัดด้วย

            3. การกำจัดกลิ่น
            กลิ่นเกิดจากขยะเน่าเสีย น้ำเสียจากโรงงานและแหล่งเลี้ยงสัตว์ หากบำบัดน้ำสะอาดแล้วด้วย EM กลิ่นจะหายไปด้วย แต่ยังจะมีกลิ่นจากมูลสัตว์ กากมัน และอื่นๆ กำจัดได้ด้วย EM ขยายเช่นกัน ด้วยการผสมน้ำแล้วฉีดพ่นให้ทั่ว

            4. การใช้ EM กำจัดขยะเปียก
            ขยะ เปียก หมายถึง ขยะจากโรงครัว เป็นเศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหาร และน้ำซาวข้าว หากทิ้งทั่วไปเป็นตัวทำให้เกิดมลภาวะมากที่สุด การบำบัดก่อนด้วย EM จะเป็นประโยชน์และป้องกันมลพิษได้ มี 2 ลักษณะ คือ
            4.1 ขยะจากเศษอาหาร หากนำไปทิ้ง จะเป็นเหตุให้เกิดมลภาวะและเชื้อโรคได้มาก ควรบำบัดก่อนโดยวิธีหมักดังนี้
            วิธีหมัก
            - สับหรือหั่นให้ละเอียด ผสมโบกาฉิในอัตราส่วน เศษอาหาร 1 กิโลกรัม ต่อโบกาฉิ 1 กำมือ (100 กรัม)
            - ใส่ถังหมักที่ทำขึ้นเอง หรือถังสำเร็จ ครั้งเดียวเต็มถัง หรือหลายครั้งก็ได้
            - เมื่อเต็ม หมักไว้ 7 วัน

            วิธีใช้
            หมักครบ 7 วัน เปิดน้ำใส่ภาชนะไว้ใช้ กากนำไปเป็นปุ๋ย โดยวิธีฝัง หรือเป็นอาหารสัตว์ เช่น ไก่ ปลา น้ำหมักนำไปใช้ดังนี้
            1. ผสมน้ำ 500 เท่า เป็นปุ๋ยรดพืชผัก
            2. ผสมน้ำ 100 เท่า เช็ดถูพื้นห้องน้ำ กระเบื้องโมเสด
            3. บำบัดน้ำเสียด้วยการเทลงโถส้วม แหล่งน้ำ สาธารณะ

            4.2 น้ำซาวข้าว หากปล่อยทิ้งลงร่องน้ำ แหล่งน้ำเสีย จะเป็นบ่อเกิดของมลภาวะสูงสุด หากมีการบำบัดก่อนทิ้ง จะลดการเกิดมลภาวะได้มากทีเดียว

            วิธีหมัก
            - น้ำซาวข้าว 1-2 ลิตร ผสม EM หัวเชื้อ 10 ซีซี (1 ช้อนแกง) และกากน้ำตาลเท่ากัน คนให้ละลาย บรรจุในภาชนะให้เต็ม หมักไว้ 5-7 วัน
            - ระยะหมักได้ 2-3 วัน ควรเปิดให้แก๊สออกบ้าง

            วิธีใช้
            1. ผสมน้ำ 500 เท่า รดพืชผักเสมอๆ มีคุณภาพเป็นปุ๋ย
            2. ผสมน้ำ 100 เท่า สำหรับซักทำความสะอาดเสื้อผ้า โดยแช่ไว้ก่อน 20-30 นาที ขยี้แล้วล้าง 1 น้ำ ตาก
            3. ผสมน้ำ 100-200 เท่า ล้างจาน ชาม เช็ดถูพื้น ผนัง ห้องน้ำ-ส้วม กระจก เฟอร์นิเจอร์ รถยนต์ ฯลฯ (ต้องบิดผ้าให้สะเด็ดน้ำ)
            4. ผสมน้ำ 500 เท่า ฉีดพ่น ปรับสภาพอากาศในบ้าน หรือแหล่งที่อากาศ ไม่บริสุทธิ์
            5. บำบัดน้ำเสีย โดยใส่โถส้วม เทลงร่องน้ำ หรือแหล่งน้ำสาธารณะ
            ฯลฯ

ข้อมูลจาก บริษัท อี เอ็ม คิวเซ จำกัด

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

มาตรการการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

   มาตรการในการแก้ปัญหาที่เกิดกับการกัดเซาะชายฝั่งตามแนวทางสากล 
ได้แก่ การพยายามรักษาสภาพของพื้นที่ โดยพยายามหลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม และปรับวิถีการดำเนินชีวิตถึงสิ่งก่อสร้างให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ นอกจากในกรณีที่การกัดเซาะรุกล้ำพื้นที่อยู่อาศัยที่มีอยู่เดิม สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดกับการกัดเซาะชายฝั่ง สามารถแบ่งตามลักษณะทางกายภาพของพื้นที่หาด ได้แก่ หาดทราย และหาดโคลน
หาดทราย การใช้อ่าววงพระจันทร์ หรือการจำลองสันทรายรูปหางปลา (Fishtail Sand Dune) เพื่อ
ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากลักษณะทางกายภาพของอ่าวทั้งสองมีคุณสมบัติในการคงความ
สมดุลย์ตามธรรมชาติ ทำให้เกิดการกัดเซาะน้อย ดังเช่น หาดจอมเทียน หรือ ในกรณีแก้ไขปัญหาของ
หมู่เกาะ Maldives ที่มีการก่อสร้างโครงสร้างสันหินเป็นรูปปีกวงพระจันทร์ที่ปลายหาดทั้งสองด้านเพื่อ
รักษาผืนทรายที่ถูกกัดเซาะ
นอกจากนี้ยังมีการสร้างจำลองสันทรายรูปหางปลา เช่นที่หาดแสงจันทร์
จังหวัดระยอง โดยกรมเจ้าท่ามีความจำเป็นในการสร้างสิ่งก่อสร้างเนื่องจากการกัดเซาะได้รุกล้ำเข้า
มาถึงแนวถนน หาดโคลน กรณีการแก้ไขปัญหาหาดโคลนนั้นมีความซับซ้อนกว่าพื้นที่หาดทราย
กรวด/หิน โดยการแก้ปัญหาทำได้โดยการส่งเสริมให้เกิดการตกตะกอนของดินโคลน โดยอาศัยการ
ขยายพื้นที่ป่าชายเลนหรือการสร้างสิ่งก่อสร้าง เพื่อลดแรงกระทำจากคลื่นลมแรง
แนวทางการแก้ใขป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

1. การปลูกป่าชายเลน เพื่อป้องกันการกัดเซาะ เป็นแนวทางหลักในการแก้ปัญหา ซึ่งควรทำตลอด
ชายฝั่ง 108 กิโลเมตร วิธีนี้ต้องได้รับความร่วมมือจากภาคประชาชน และชุมชนสูง ทั้งยังต้องได้รับ
การสนับสนุนทางด้านงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
2. การใช้โครงสร้างสลายพลังงานคลื่น เป็นแนวทางเลือกสำหรับใช้การแก้ปัญหาในบางพื้นที่ที่มีการ
กัดเซาะรุนแรง โดยคัดเลือกลักษณะของแนวกันคลื่นให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่
- เขื่อนกันคลื่นแบบทึบน้ำ ได้แก่ กำแพงหินทิ้ง ไส้กรอกทราย สามารถป้องกันคลื่นได้ดี โดย
ลดความแรงของคลื่นลงประมาณ 50 % แต่ส่งผลให้มีการตกตะกอนน้อยกว่าแบบอื่นๆ สำหรับกำแพง
ทิ้งมีข้อจำกัดที่สามารถสร้างได้ไม่เกิน 2 เมตรก็จมเนื่องจากน้ำหนักหินเอง ในขณะที่ไส้กรอกทราย
มีการกระจายน้ำหนักที่ดีกว่า แต่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่ไม่ใช่ดินเลนเมื่อการรั่ว
ของทราย
- แนวกันคลื่นแบบโปร่ง ได้แก่ เสาเข็มปักหรือไม้ไผ่ปัก สามารถป้องกันคลื่นได้น้อยกว่า โดยลดความแรง
ของคลื่นได้ประมาณ 30 % และประสิทธิภาพจะยิ่งลดลงเมื่อความยาวของคลื่นน้ำมีมาก แต่โครงสร้าง
โปร่งนี้จะสามารถดักตะกอนข้างหลังแนวโครงสร้างได้มากกว่า
- เขื่อนกันคลื่นแบบไม่ทึบน้ำ และมีการเสริมฐานราก สามารถป้องกันคลื่นได้ดีและมีปริมาณของการ
ตกตะกอนสูง หากแต่จะได้ผลเมื่อมีตำแหน่งอยู่ใกล้ชายฝั่ง แต่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชายฝั่งข้าง
3. การลด/หยุด การขุดลอกตะกอนที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่ง
แนวทางการแก้ใขปัญหาอุทกภัย
1. พื้นที่แก้มลิง ควรมีการเตรียมพื้นที่ไว้รองรับน้ำท่วม ได้แก่ การใช้พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ
1,380,924 ไร่ มีความลึกน้ำเฉลี่ยประมาณ 0.4 เมตร ซึ่งสามารถกักเก็บน้ำได้ 883.8 ล้าน ลบ.ม.
ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายชดเชยให้กับเกษตรกร การลงทุนโดยวิธีนี้ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับแนวทางอื่น
เนื่องจากมีการก่อสร้างเฉพาะโครงสร้างที่ควบคุมการระบายน้ำ

2. การสร้างเส้นทางผันน้ำ (By Pass) ระบายน้ำผ่านลำน้ำสายใหม่ส่งต่อสู่พื้นที่ที่เตรียมไว้รองรับ
การระบายน้ำ เช่น พื้นที่แก้มลิง หรือ อ่าวไทย เช่นเดียวกับ แม่น้ำดานูป
ข้อดี ช่วยระบายน้ำทางด้านเหนือก่อนเข้าไหลเข้าสู่กรุงเทพฯ นอกจากนี้พื้นที่ดินตลอด
สองแนวฝั่งคลองสามารถพัฒนาเป็นโครงการใหม่เพื่อผลประโยชน์เชิงธุรกิจได้
ข้อเสีย มีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงมาก (กว่าหนึ่งแสนล้านบาท, JICA 2000) และประชาชน
ได้รับผลกระทบจากการเวรคืนที่ดิน

3. การสร้างคันเขื่อนป้องกันตลิ่ง (Dike, Levee) ได้แก่ การสร้างแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วม โดย
ให้เข้ากับธรรมชาติได้ เช่น Sana River, Mota-ara River/ Koshigaya City ในประเทศญี่ป่นุ หรือ
พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถพัฒนาเป็นพื้นที่สวนสาธารณะ ได้แก่ สวนสันติชัยปราการ นอกจากนี้
การสร้างแนวทางเดินริมน้ำก็สามารถประยุกต์ให้เป็นเขื่อนป้องกันน้ำท่วมได้
ข้อดี สามารถออกแบบปรับปรุงให้เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับใช้พักผ่อน และประกอบกิจกรรม
สันทนาการสำหรับประชาชนทั่วไปได้
ข้อเสีย เขื่อนป้องกันตลิ่ง มีความสูง บดบังทัศนียภาพ ในปัจจุบันการออกแบบเขื่อนในประเทศ
ยังเน้นการแก้ใขปัญหาทางด้านวิศวกรรมเป็นหลัก ซึ่งยังขาดการออกแบบให้สภาพ
สอดคล้องกับธรรมชาติของพื้นที่ริมน้ำ

การกัดเซาะชายฝั่งเนื่องด้วยภาวะโลกร้อน

  การกัดเซาะชายฝั่ง(Coastal Erosion) เป็นวิถีทางธรรมชาติ ประกอบกับผลจากการกระทำของ
มนุษย์ที่พยายามเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะการขยายการตั้งถิ่นฐาน สร้างสิ่งก่อสร้าง
ใกล้เคียงหรือรุกล้ำพื้นที่ธรรมชาติ สำหรับสาเหตุของการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่ง ได้แก่ การทรุดตัวของ
แผ่นดิน      
  - การทรุดตัวของแผ่นดิน มีสาเหตุหลักจากการสูบน้ำบาดาลที่มากเกินกว่าอัตราการเติมน้ำใต้ดิน
ตามธรรมชาติ ในปัจจุบันในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการมีแนวโน้มของการทรุดตัว
ลดลงแต่แนวโน้มในการทรุดตัวเพิ่มขึ้นในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจากการขยายตัวของพื้นที่
เมือง และอุตสาหกรรม
 - คลื่นลมแรง กระแสคลื่นพัดพาตะกอนออกไปทำให้ชายฝั่งขาดเสถียรภาพ นอกจากนี้พื้นที่ของ
ป่าชายเลนที่ลดลงยังมีผลโดยตรงต่อความสามารถในการเก็บกักตะกอนที่ลดลง รวมถึงการสร้าง
เขื่อนก็มีผลต่อการลดลงของตะกอนปากแม่น้ำ
- การสูญเสียแนวป้องกันทางธรรมชาติ ได้แก่ การสร้างสิ่งก่อสร้าง อาคารหรือถนนใกล้กับแนว

มาตราการในการแก้ปัญหาที่เกิดกับการกัดเซาะชายฝั่งตามแนวทางสากล ได้แก่ การพยายามรักษา
สภาพของพื้นที่ โดยพยายามหลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม และปรับวิถีการดำเนินชีวิต
ถึงสิ่งก่อสร้างให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ นอกจากในกรณีที่การกัดเซาะรุกล้ำ
พื้นที่อยู่อาศัยที่มีอยู่เดิม สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดกับการกัดเซาะชายฝั่ง สามารถแบ่งตา
มลักษณะทางกายภาพของพื้นที่หาด ได้แก่ หาดทราย และหาดโคลนหาดทราย การใช้อ่าววงพระจันทร์ หรือการจำลองสันทรายรูปหางปลา (Fishtail Sand Dune) เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากลักษณะทางกายภาพของอ่าวทั้งสองมีคุณสมบัติในการคงความสมดุลย์ตามธรรมชาติ ทำให้เกิดการกัดเซาะน้อย ดังเช่น หาดจอมเทียน หรือ ในกรณีแก้ไขปัญหาของหมู่เกาะ Maldives ที่มีการก่อสร้างโครงสร้างสันหินเป็นรูปปีกวงพระจันทร์ที่ปลายหาดทั้งสองด้านเพื่อรักษาผืนทรายที่ถูกกัดเซาะ นอกจากนี้ยังมีการสร้างจำลองสันทรายรูปหางปลา เช่นที่หาดแสงจันทร์จังหวัดระยอง โดยกรมเจ้าท่ามีความจำเป็นในการสร้างสิ่งก่อสร้างเนื่องจากการกัดเซาะได้รุกล้ำเข้ามาถึงแนวถนน หาดโคลน กรณีการแก้ไขปัญหาหาดโคลนนั้นมีความซับซ้อนกว่าพื้นที่หาดทรายกรวด/หิน โดยการแก้ปัญหาทำได้โดยการส่งเสริมให้เกิดการตกตะกอนของดินโคลน โดยอาศัยการขยายพื้นที่ป่าชายเลนหรือการสร้างสิ่งก่อสร้าง เพื่อลดแรงกระทำจากคลื่นลมแรงหาดทราย บนพื้นที่สันทรายซึ่งเป็นแนวป้องกันทางธรรมชาติ หรือการทำลายป่าชายเลนของชาวบ้านเพื่อทำนากุ้ง โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลท่าข้าม และทุ่งสองห้อง ที่มีเพียงคันดินบางๆ กั้นระหว่างที่นากับน้ำทะเลและมีปริมาณของการตกตะกอนสูง หากแต่จะได้ผลเมื่อมีตำแหน่งอยู่ใกล้ชายฝั่งแต่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชายฝั่งข้างเคียง




 ความหมายของการกัดเซาะชายฝั่ง
ชายฝั่งทะเล หมายถึง แถบแผ่นดินนับตั้งแต่ระดับชายทะเลขึ้นไปถึงบนบก แบ่งตามองค์ประกอบของ
ชายฝั่งเป็น 3 แบบ ได้แก่ หาดหินหรือหาดกรวดหาดทราย และหาดโคลน (กรมการขนส่งทางน้ำและ
พาณิชย์นาวี) ชายฝั่งทะเลมีการเปลี่ยนแปลงทั้งตามฤดูกาล และเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร โดยหาดทราย
และหาดโคลน ง่ายต่อการพัดพาของคลื่นลมและกระแสน้ำการกัดเซาะชายฝั่ง คือ การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ
ชายฝั่งทะเลจากพลังของคลื่น ลม และกระแสน้ำที่กระทบชายฝั่งตลอดเวลาทำให้ชายฝั่งทะเลสึกกร่อน
พังทลายไปสาเหตุการเกิดการกัดเซาะชายฝั่งสาเหตุของการเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง
อาจเกิดตามสภาพธรรมชาติ ไต้ฝุ่น สึนามิ หรือแม้แต่
ลมมรสุมทำให้ชายฝั่งทะเลเปลี่ยนสภาพได้ แต่ชายฝั่ง
ทะเลไทยจำนวนมากถูกกัดเซาะเนื่องจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การตัดป่าชายเลน ที่หนาแน่นให้เป็น
พื้นที่เปิดโล่งเป็นนากุ้ง รวมทั้งการสร้างถนนติดเกินไป การสร้างท่าเรือยื่นไปในทะเลการทำลายแนว
ปะการังจนสูญเสียเขื่อนกันคลื่นตามธรรมชาติทำให้
คลื่นผ่านเข้ามาชนชายหาดจนเกิดการกัดเซาะได้
รศ. ดร.นพดล เพียรเวช (255/) ศึกษาพบว่า สาเหตุของการสูญเสียที่ดินตามแนวชายฝั่งอ่าวไทยด้านใต้

ของกรุงเทพฯ เกิดจากการทวีความรุนแรงของคลื่นกัดเซาะอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ดิน
ชายฝั่งจากพื้นที่ป่าโกงกางอันหนาแน่นอุดมสมบูรณ์เป็นนากุ้ง
ความร้ายแรงของการกัดเซาะชายฝั่ง
การกัดเซาะชายฝั่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ กัดเซาะ(มากกว่า 5 เมตรต่อปี) และกัดเซาะปานกลาง (1-5
เมตรต่อปี) ประเทศไทยตามแนวชายฝงั่ ทะเลทั้งสิ้นประมาณ2,700 กิโลเมตร
แต่บริเวณที่ประสบปัญหารุนแรงชายฝั่งทะเล จังหวัดฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ
กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และสมุทรสงครามซึ่งมีการกัดเซาะชายฝั่งมากกว่า 25 เมตรต่อปี โดย
จังหวัดสมุทรปราการ มีการกัดเซาะชายฝั่งจมน้ำไปประมาณ 11,000 ไร่

ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นว่า ในช่วงเวลา
40 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ชายฝั่งทะเลได้สูญเสียไปลึกเป็นระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร ดังสภาพชายฝั่งทะเลบริเวณวัดขุนสมุทรทราวาส จังหวัดสมุทรปราการที่เคยอยู่
บนบก แต่สูญเสียที่ดินชายฝั่งทะเลอย่างรุนแรง