วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โรคเลปโตสไปโรซีส ( (Leptospirosis)หรือโรคฉี่หนู

 โรคเลปโตสไปโรซีส ( (Leptospirosis)หรือโรคฉี่หนู
  โรคเล็ปโตสไปโรซิส มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียรูปเกลียว (spirochete) ชื่อ เล็บโตสไปร่า อินเทอโรแกนส์ (Leptospira interrogans)โรคนี้พบได้ทั้งในคนและสัตว์ โดยในสัตว์ที่เป็นพาหะนั้นอยู่รอบตัวเราเอง มักพบในหนู วัว ควาย สุกร หมา แมว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวสำคัญที่พบบ่อยที่สุดคือ หนูนั่นเอง ซึ่งเป็นที่มาของ โรคฉี่หนู  หนูเป็นตัวแพร่โรคที่สำคัญ สาเหตุที่หนูมีเชื้อนี้ เพราะหนูได้สะสมสารเคมีต่างๆที่เกษตรกรใช้ในกระบวนการเกษตรกรรม เช่น การใช้ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง หรือปุ๋ยเคมี เป็นระยะเวลานาน  ส่วนมากจะเป็นในนาข้าว ซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อนและสะสมในดิน หรือ ผลิตผล เช่น นาข้าว ไร่อ้อย เป็นต้นเมื่อหนูกินข้าว,หญ้า,วัชพืช มันก็จะสะสมสารเคมีเหล่านี้ด้วย พราะเชื้อจะอยู่ในไต ของหนู เมื่อหนูฉี่ออกมา เชื้อก็จะออกมาด้วย และปนเปื้อนอยู่ในน้ำ ดินโคลนที่ชื้นแฉะ หนองบึง หรือในนาข้าว เมื่อเราไปย่ำน้ำ โดยไม่ใส่อะไรป้องกัน
ารติต่อของโรคฉี่หนู
การติดต่อ
 มักจะพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนต่อหนาว มีน้ำขัง โอกาสติดต่อจากคนสู่คนมีน้อยมาก ไม่ต้องรังเกียจ แต่เป็นโรคที่ติดต่อจาก สัตว์สู่คน ง่ายมาก เพียงจากฉี่หนู ที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ในน้ำ และที่แย่ก็คือ เชื้อนี้สามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำ ได้หลายเดือน และ สำหรับสัตว์นั้น ที่น่ากลัวก็คือ เมื่อสัตว์เช่น วัว ควาย หมู ไปกินน้ำหรืออาหาร ที่มีเชื้อนี้เข้าไปในร่างกาย เชื้อก็จะเข้าสู่กระแสเลือด และเข้าไปที่ไต ทุกครั้งที่สัตว์พวกนี้ฉี่ออกมา ก็จะปล่อยเชื้อโรคออกมาด้วย

 อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดง ของโรคเล็ปโตสไปโรซิสนั้นมีได้ตั้งแต่มีอาการเล็กน้อย จนถึงมีอาการรุนแรงถึงแก่ชีวิต กว่า 90% ของผู้มีอาการจะมีอาการเล็กน้อยและมักเป็นแบบไม่เหลือง ส่วนเล็ปโตสไปโรซิสที่มีอาการรุนแรงนั้น พบได้ 5-10% ของผู้ติดเชื้อ

    โรคเล็ปโตสไปโรซิสแบบไม่เหลือง (anicteric leptospirosis) แบ่งเป็น 2 ระยะ
ระยะมีเชื้อในเลือด (leptospiremic phase) ระยะนี้มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้หนาวสั่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งในโรคเล็ปโตสไปโรซิสจะมีลักษณะเฉพาะคือ ปวดบริเวณน่อง หลัง และหน้าท้อง ผู้ป่วยส่วนมากมักมีอาการปวดศีรษะมาก โดยเฉพาะบริเวณด้านหน้าหรือหลังเบ้าตา อาการอื่นๆที่อาจพบได้ ได้แก่ เจ็บคอ ไอ เจ็บหน้าอก ผื่น สับสน ไอเป็นเลือด อาการแสดงที่อาจตรวจพบ ได้แก่ เยื่อบุตาแดง ต่อมน้ำเหลืองโต คอแดง กดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ ตับม้ามโต อาจพบอาการดีซ่านได้เล็กน้อย อาการในระยะนี้จะหายไปได้เองภายใน 1 สัปดาห์ ช่วงที่ไม่มีอาการจะนาน 1-3 วัน ก่อนจะเข้าสู่ระยะที่สอง
ระยะมีเชื้อในปัสสาวะ (leptospiruric phase) ระยะนี้เป็นผลมาจากปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาการและอาการแสดงมีความจำเพาะและความรุนแรงน้อยกว่าในระยะแรก ลักษณะที่สำคัญของโรคในระยะนี้คือ กว่า 15% ของผู้ป่วย จะมีอาการและอาการแสดงของภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบแบบไร้เชื้อ (aseptic meningitis) ส่วนใหญ่พบในเด็ก ซึ่งอาจหายได้เองภายในเวลาไม่กี่วันหรืออาจคงอยู่นานเป็นสัปดาห์ สำหรับภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น ม่านตาอักเสบ จอตาอักเสบ มักเกิดตามหลังอาการเริ่มแรกของโรคนานหลายเดือน และคงอยู่ได้นานเป็นปี

    โรคเล็ปโตสไปโรซิสรุนแรง (severe leptospirosis)
โรคเล็ปโตสไปโรซิสรุนแรง หรือกลุ่มอาการเวล (Weil's Syndrome) กลุ่มอาการนี้มีอัตราการตายอยู่ที่ประมาณ 5-15% พบได้เป็นพิเศษในการติดเชื้อในซีโรวาร์ อิกเทอโรฮีมอราเจียอี/โคเปนเฮเกไน (icterohaemorrhagiae/copenhageni) อาการในระยะเริ่มแรกไม่ต่างจากโรคเล็ปโตสไปโรซิสแบบไม่เหลือง แต่ไม่มีลักษณะที่แบ่งออกเป็นสองระยะชัดเจน มักแสดงอาการรุนแรงใน 4-9 วันหลังจากเริ่มมีอาการ ประกอบด้วย
    * อาการดีซ่าน ที่พบในกลุ่มอาการเวล จะมีลักษณะเหลืองมากจนแทบเป็นสีส้มเมื่อสังเกตทางผิวหนัง มักพบตับโตร่วมกับกดเจ็บ ประมาณ 20% ของผู้ติดเชื้อมีอาการม้ามโตร่วมด้วย มีไม่มากนักที่เสียชีวิตจากภาวะตับวาย
    * ไตวายเฉียบพลัน
    * อาการทางปอด เช่น ไอ มีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย จนถึงระบบหายใจล้มเหลว
    * ความผิดปกติทางระบบการแข็งตัวของเลือด มีตั้งแต่อาการเพียงเล็กน้อย เช่น เลือดกำเดา จ้ำเลือดตามผิวหนัง ไปจนถึงอาการรุนแรง เช่น เลือดออกในทางเดินอาหาร เลือดออกในช่องเยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น
    * อาการอื่นๆ ได้แก่ กล้ามเนื้อลายสลายตัว เม็ดเลือดแดงแตก เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับอ่อนอักเสบรุนแรง ภาวะการทำงานของอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ เป็นต้น

โรคเล็ปโตสไปโรซิส ติดต่อจากคนสู่คนได้น้อยมาก ส่วนใหญ่ติดต่อกันโดยการสัมผัสกับปัสสาวะ เลือด หรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่มีการติดเชื้อโดยตรง หรือสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ เช่น
    * การกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป
    * การหายใจเอาไอละอองของปัสสาวะ หรือ ของเหลวที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป
    * เข้าผ่านเยื่อบุต่างๆ เช่น ตา และปาก
    * ไชเข้าทางผิวหนังตามรอยแผลและรอยขีดข่วน
    * ไชเข้าทางผิวหนังปกติที่เปียกชุ่มจากการแช่น้ำนานๆ

ระยะฟักตัวของโรคใช้เวลา 1-2 สัปดาห์แต่อาจนานได้ถึง 3 สัปดาห์ แบ่งเป็นระยะมีเชื้อในเลือด (leptospiremic phase) ซึ่งจะเริ่มแสดงอาการและส่วนใหญ่จะหายไปเองใน 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นอีก 1-3 วันจะเข้าสู่ระยะมีเชื้อในปัสสาวะ (leptospiruric phase) ผู้ป่วยบางส่วนจะแสดงอาการอีกครั้ง ประมาณ 5-10% ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการของโรคเล็ปโตสไปโรซิสรุนแรง

โรคเล็ปโตสไปโรซิสแพร่กระกายและเกิดขึ้นได้ง่ายในช่วงปลายฤดูฝน พบบ่อยในช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน เพราะช่วงนี้พื้นดินแฉะ มีน้ำขัง เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตและสะสมของเชื้อในรรมชาติ พบโรคนี้ได้มากตามจังหวัดที่ทำการปลูกข้าว บริเวณที่ต้องย่ำน้ำ หรือแหล่งน้ำขังที่มีพาหะนำโรคชุกชุม อาจรวมถึงบ่อน้ำขนาดใหญ่ด้วย

 การดำเนินชีวิตที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคนี้ คือ
-ไถนา ดำนา เกี่ยวข้าว หว่านแห โดยไม่สวมรองเท้าบู๊ต ทำให้เกิดบาดแผล รอยขีดข่วน จึงติดโรคได้ง่าย
-เดินเท้าเปล่าในคอกสัตว์ โดยพื้นคอกสัตว์เปื้อนเยี่ยวสัตว์
-ชำแหละสัตว์โดยไม่สวมถุงมือ โดยเฉพาะทำอาหารจากหนู
-กินเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ที่ยังไม่ได้ปรุงให้สุก
-เดินย่ำน้ำ ลุยโคลน ที่น้ำขัง หรือชื้นแฉะ
-อาบน้ำ กลืนน้ำ และลืมตาในน้ำ ที่มีเชื้อโรคอาศัยอยู่
-กินผักสด ผลไม้ที่ปนเปื้อนเยี่ยวหนู และล้างไม่สะอาด
-ดื่มน้ำ กินอาหาร ที่ปนเปื้อนเยี่ยวหนู ที่ไม่ทำให้ร้อนก่อนกิน

กลุ่มประชากรบางกลุ่มถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค ได้แก่
    * สัตวแพทย์
    * ผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรม ปศุสัตว์ ประมง
    * การสันทนาการและกีฬาทางน้ำ เช่น การว่ายน้ำ การเล่นเรือแคนู วินด์เซิร์ฟ สกีน้ำ ไตรกีฬา ฯลฯ
การรักษา
โรคเล็ปโตสไปโรซิสสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ควรให้ยาเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้หรือไม่ควรเกิน 4 วันหลังจากมีอาการเป็นอย่างช้า ระยะเวลาที่ให้นานอย่างน้อย 7 วัน

 การป้องกัน
เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคฉี่หนู ควรหลีกเลี่ยงจากแหล่งสกปรก บริเวณที่เป็นแหล่งสะสม ของเชื้อโรค และควรปฏิบัติตัวให้ถูกสุขลักษะดังนี้
๑. หลีกเลี่ยงการแช่น้ำ ลุยน้ำหรือว่ายน้ำในขณะที่มีน้ำท่วมขัง ถ้าหากจำเป็น ต้องพยายามไม่ให้น้ำเข้าตา จมูก หรือปาก
๒. หลีกเลี่ยงการเดินย่ำโคลน ดินชื้นแฉะ ด้วยเท้าเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีบาดแผล รอยขีดข่วน ที่ขา และเท้า ควรสวม รองเท้ายางหุ้มข้อ เพื่อการป้องกันเชื้อโรค
๓. ดูแลบ้านเรือนให้สะอาด ไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งหากินของหนู ซึ่งเป็นพาหะนำโรค
๔. กำจัดขยะ ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และที่อาศัยของหนู
๕. ควรเก็บอาหารไว้ในที่มิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้หนูถ่ายปัสสาวะรดอาหาร
๖. อาหารที่ค้างมื้อ เมื่อจะนำมากินในมื้อต่อไป จะต้องนำมาอุ่นให้เดือดเสียก่อน เพื่อให้เชื้อโรค ที่อาจปะปนอยู่ในอาหาร ถูกทำลายโดยความร้อน
๗. ถ้ามีบาดแผลหรือรอยถลอก ควรปิดปลาสเตอร์ก่อนลงน้ำ
๘. นำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคทุกปี
๙. ควรปิดฝาโอ่งน้ำหรือภาชนะบรรจุน้ำ เพื่อป้องกันหนูมาถ่ายปัสสาวะลงไปในน้ำ
๑๐. ภาชนะที่ใช้ใส่อาหาร ควรล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อโรค
๑๑. ล้างมือทุกครั้งก่อนกินอาหาร
    การป้องกันที่กล่าวมาอาจเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น แท้จริงแล้ววิธีที่ถูกต้องที่สุดคือ การป้องกันที่ต้นเหตุ โดยต้องเกิดจากการที่เกษตรกรต้องมีความเข้าใจอันถูกต้อง และตระหนักถึงโทษของการใช้สารเคมีที่มากเกินไป จนทำให้ระบบนิเวศน์เสียไป หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ควรมีบทบาทเพิ่มขึ้นในการให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ให้แก่เกษตรกร หรือบุคคลากรที่ทำหน้าที่ด้านนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/
สารอโศกหมอชาวบ้าน ฉบับที่ ๒๗๒ และ น.ส.พ.ไทยรัฐ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น