มาตรการในการแก้ปัญหาที่เกิดกับการกัดเซาะชายฝั่งตามแนวทางสากล
ได้แก่ การพยายามรักษาสภาพของพื้นที่ โดยพยายามหลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม และปรับวิถีการดำเนินชีวิตถึงสิ่งก่อสร้างให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ นอกจากในกรณีที่การกัดเซาะรุกล้ำพื้นที่อยู่อาศัยที่มีอยู่เดิม สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดกับการกัดเซาะชายฝั่ง สามารถแบ่งตามลักษณะทางกายภาพของพื้นที่หาด ได้แก่ หาดทราย และหาดโคลน
หาดทราย การใช้อ่าววงพระจันทร์ หรือการจำลองสันทรายรูปหางปลา (Fishtail Sand Dune) เพื่อ
ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากลักษณะทางกายภาพของอ่าวทั้งสองมีคุณสมบัติในการคงความ
สมดุลย์ตามธรรมชาติ ทำให้เกิดการกัดเซาะน้อย ดังเช่น หาดจอมเทียน หรือ ในกรณีแก้ไขปัญหาของ
หมู่เกาะ Maldives ที่มีการก่อสร้างโครงสร้างสันหินเป็นรูปปีกวงพระจันทร์ที่ปลายหาดทั้งสองด้านเพื่อ
รักษาผืนทรายที่ถูกกัดเซาะ
นอกจากนี้ยังมีการสร้างจำลองสันทรายรูปหางปลา เช่นที่หาดแสงจันทร์
จังหวัดระยอง โดยกรมเจ้าท่ามีความจำเป็นในการสร้างสิ่งก่อสร้างเนื่องจากการกัดเซาะได้รุกล้ำเข้า
มาถึงแนวถนน หาดโคลน กรณีการแก้ไขปัญหาหาดโคลนนั้นมีความซับซ้อนกว่าพื้นที่หาดทราย
กรวด/หิน โดยการแก้ปัญหาทำได้โดยการส่งเสริมให้เกิดการตกตะกอนของดินโคลน โดยอาศัยการ
ขยายพื้นที่ป่าชายเลนหรือการสร้างสิ่งก่อสร้าง เพื่อลดแรงกระทำจากคลื่นลมแรง
แนวทางการแก้ใขป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง
1. การปลูกป่าชายเลน เพื่อป้องกันการกัดเซาะ เป็นแนวทางหลักในการแก้ปัญหา ซึ่งควรทำตลอด
ชายฝั่ง 108 กิโลเมตร วิธีนี้ต้องได้รับความร่วมมือจากภาคประชาชน และชุมชนสูง ทั้งยังต้องได้รับ
การสนับสนุนทางด้านงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
2. การใช้โครงสร้างสลายพลังงานคลื่น เป็นแนวทางเลือกสำหรับใช้การแก้ปัญหาในบางพื้นที่ที่มีการ
กัดเซาะรุนแรง โดยคัดเลือกลักษณะของแนวกันคลื่นให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่
- เขื่อนกันคลื่นแบบทึบน้ำ ได้แก่ กำแพงหินทิ้ง ไส้กรอกทราย สามารถป้องกันคลื่นได้ดี โดย
ลดความแรงของคลื่นลงประมาณ 50 % แต่ส่งผลให้มีการตกตะกอนน้อยกว่าแบบอื่นๆ สำหรับกำแพง
ทิ้งมีข้อจำกัดที่สามารถสร้างได้ไม่เกิน 2 เมตรก็จมเนื่องจากน้ำหนักหินเอง ในขณะที่ไส้กรอกทราย
มีการกระจายน้ำหนักที่ดีกว่า แต่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่ไม่ใช่ดินเลนเมื่อการรั่ว
ของทราย
- แนวกันคลื่นแบบโปร่ง ได้แก่ เสาเข็มปักหรือไม้ไผ่ปัก สามารถป้องกันคลื่นได้น้อยกว่า โดยลดความแรง
ของคลื่นได้ประมาณ 30 % และประสิทธิภาพจะยิ่งลดลงเมื่อความยาวของคลื่นน้ำมีมาก แต่โครงสร้าง
โปร่งนี้จะสามารถดักตะกอนข้างหลังแนวโครงสร้างได้มากกว่า
- เขื่อนกันคลื่นแบบไม่ทึบน้ำ และมีการเสริมฐานราก สามารถป้องกันคลื่นได้ดีและมีปริมาณของการ
ตกตะกอนสูง หากแต่จะได้ผลเมื่อมีตำแหน่งอยู่ใกล้ชายฝั่ง แต่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชายฝั่งข้าง
3. การลด/หยุด การขุดลอกตะกอนที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่ง
แนวทางการแก้ใขปัญหาอุทกภัย
1. พื้นที่แก้มลิง ควรมีการเตรียมพื้นที่ไว้รองรับน้ำท่วม ได้แก่ การใช้พื้นที่ทางการเกษตร ประมาณ
1,380,924 ไร่ มีความลึกน้ำเฉลี่ยประมาณ 0.4 เมตร ซึ่งสามารถกักเก็บน้ำได้ 883.8 ล้าน ลบ.ม.
ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายชดเชยให้กับเกษตรกร การลงทุนโดยวิธีนี้ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับแนวทางอื่น
เนื่องจากมีการก่อสร้างเฉพาะโครงสร้างที่ควบคุมการระบายน้ำ
2. การสร้างเส้นทางผันน้ำ (By Pass) ระบายน้ำผ่านลำน้ำสายใหม่ส่งต่อสู่พื้นที่ที่เตรียมไว้รองรับ
การระบายน้ำ เช่น พื้นที่แก้มลิง หรือ อ่าวไทย เช่นเดียวกับ แม่น้ำดานูป
ข้อดี ช่วยระบายน้ำทางด้านเหนือก่อนเข้าไหลเข้าสู่กรุงเทพฯ นอกจากนี้พื้นที่ดินตลอด
สองแนวฝั่งคลองสามารถพัฒนาเป็นโครงการใหม่เพื่อผลประโยชน์เชิงธุรกิจได้
ข้อเสีย มีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงมาก (กว่าหนึ่งแสนล้านบาท, JICA 2000) และประชาชน
ได้รับผลกระทบจากการเวรคืนที่ดิน
3. การสร้างคันเขื่อนป้องกันตลิ่ง (Dike, Levee) ได้แก่ การสร้างแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วม โดย
ให้เข้ากับธรรมชาติได้ เช่น Sana River, Mota-ara River/ Koshigaya City ในประเทศญี่ป่นุ หรือ
พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถพัฒนาเป็นพื้นที่สวนสาธารณะ ได้แก่ สวนสันติชัยปราการ นอกจากนี้
การสร้างแนวทางเดินริมน้ำก็สามารถประยุกต์ให้เป็นเขื่อนป้องกันน้ำท่วมได้
ข้อดี สามารถออกแบบปรับปรุงให้เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับใช้พักผ่อน และประกอบกิจกรรม
สันทนาการสำหรับประชาชนทั่วไปได้
ข้อเสีย เขื่อนป้องกันตลิ่ง มีความสูง บดบังทัศนียภาพ ในปัจจุบันการออกแบบเขื่อนในประเทศ
ยังเน้นการแก้ใขปัญหาทางด้านวิศวกรรมเป็นหลัก ซึ่งยังขาดการออกแบบให้สภาพ
สอดคล้องกับธรรมชาติของพื้นที่ริมน้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น