วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โครงการกลไกพลังงานสีเขียว

โครงการกลไกพลังงานสีเขียว

แม้ว่าสังคมเมืองกับสังคมชนบทจะห่างไกลกัน ไม่ว่าจะด้วยระยะทางหรือความเป็นอยู่ที่แตกต่าง แต่ด้วยความเป็นคนไทยด้วยกัน เราสามารถทำให้ระยะทางและความแตกต่างสั้นลงได้ด้วยน้ำใจที่ต่อเชื่อมกัน และด้วยการเป็นผู้ผลิตหรือให้บริการในกิจการใดๆ ไม่ได้หมายถึงการไม่ตระหนักถึงความรับผิดชอบที่ต้องเกื้อหนุนสังคม หากแต่ด้วยประเทศยังต้องการการบริโภคสินค้าต่างๆ ความจำเป็นที่ต้องผลิตจึงมีอยู่ แต่ถ้ามีโอกาสตอบแทนหรือยื่นกลับให้สังคม โดยเฉพาะให้กับผู้ขาดหรือยังไม่มี หรือทำให้สังคมที่ห่างไกลได้รับการพัฒนาที่ดีขึ้น การย่นระยะทางหรือระยะห่างระหว่างสังคมเมืองกับชนบทคงใกล้กันมากขึ้น



     ในพื้นที่ภูเขาหรือป่าทึบที่ห่างไกลของเมืองไทยบางชุมชนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ การสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนบางประเภท เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำขนาดเล็กในการผลิตไฟฟ้า ที่หากพิจารณาด้านต้นทุนแล้วไม่มีความคุ้มทุน ด้วยมีต้นทุนสูงกว่าเชื้อเพลิงประเภทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แต่หากนำไปติดตั้งให้กับชาวบ้านที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงนั้นจะมีความคุ้มค่านัก เพราะประหยัดค่าติดตั้งระบบสายส่งที่ต้องลงทุนระดับร้อยล้าน ในขณะที่สามารถช่วยให้ชาวบ้านมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การพัฒนาเหล่านี้สังคมเมืองและภาคอุตสาหกรรมสามารถมีส่วนร่วมช่วยเหลือโดยการให้การสนับสนุนผ่าน “กลไกพลังงานสีเขียว ”
กลไลพลังงานสีเขียว
     เป็นกลไกที่ช่วยสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าหรือความร้อนที่มาจากพลังงานหมุนเวียน ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ซึ่งผู้บริโภคที่ใช้ไฟฟ้าทั้งในรูปแบบองกรณ์และบุคคลทั่วไป ที่เล็งเห็นถึงประโยชน์ดังกล่าว สามารถสนับสนุนได้ในรูปแบบของการจ่ายค่าไฟฟ้าเพิ่มและการบริจาคเพื่อนำไปจัดหาไฟฟ้าจากพลังงาน หมุนเวียนให้มีมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาพลังงานสีเขียวในพื้นที่ห่างไกล โดยหัวใจหรือกลไกการทำงาน คือ ความร่วมมือของ 3 ฝ่ายคือ รัฐ เอกชน / ผู้บริโภค และหน่วยงานกลางในการพัฒนา
     ซึ่งจะร่วมกันจัดตั้งและบริหารจัดการเงินสนับสนุนกลไกพลังงานสีเขียวในรูปแบบของกองทุนโดยจะมีคณะกรรมการ กำกับดูแลการบริหารจัดการกองทุนในการพัฒนาพลังงานสีเขียวตามวัตถุประสงค์
"เอกชน / ผู้บริโภค" : บริจาค / ให้เงินสนับสนุน
"รัฐ...กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรัษษ์พลังงาน" : ให้การรับรอง / มีมาตรการสนับสนุน
"หน่วยงานกลาง...โดย มพส." : ประสาน / ขับเคลื่อน / พัฒนาพลังงานสีเขียว
หัวใจในการพัฒนากลไกพลังงานสีเขียว
"กลไกพลังานสีเขียว" กลไกพัฒนาพลังงานหมุนเวียนชุมชน โดยระดมทุนจากภาคเอกชน ที่ให้ความสำคัญเรื่อง Corporate Social Responsibility (CSR) รวมถึงการรับบริจาคและสนับสนุนจากประชาชนทั่วไปจะขยายการสู่การสร้างตลาดพลังงานสีเขียว (Green Energy Market) ที่ผู้บริโภคในรูปองค์กรและประชาชนจะสามารถเลือกใช้ / ซื้อพลังงานที่มาจากพลังงานสะอาดด้วยตนเอง

โครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาและซ่อมแซมระบบแผงไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์โครงการโซลาร์โฮมให้แก่ชุมชน

โครงการอบรมให้ความรู้ในการดูแลบำรุงรักษา และซ่อมแซมระบบรวมถึงประสานงานในการซ่อมแซมอุปกรณ์ และปรับปรุงระบบเพื่อให้สามารถใช้แผงโซลาร์เซลล์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป โดยมีพื้นที่เป้าหมายในปัจจุบัน ได้แก่
หมู่บ้านเตะโป๊ะปู่ ต.แม่ต้าน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
หมู่บ้านเกร๊ะคี ต.แม่วะหลวง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
หมู่บ้านแม่แอบ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่



หมู่บ้านตะโป๊ะปู่ ต.แม่ต้าน จ.ตาก โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 12 กิโลวัตต์จ่ายไฟฟ้าให้ชาวบ้านรวม 60 หลังคาเรือน ปัจจุบันได้เริ่มมีการผลิตไฟฟ้าแล้ว โดยได้จัดอบรมการใช้งานและการดูแลรักษา ระบบให้แก่คณะกรรมการโรงไฟฟ้าประจำหมู่บ้านด้วย ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ควบคุมและจัดเก็บค่าสมาชิกไฟฟ้าและค่าไฟฟ้า
หมู่บ้านเกร๊ะคี ต.แม่วะหล่วง จ.ตาก โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 2 กิโลวัตต์โดยจะผลิตไฟฟ้าให้กับวัด ดำเนินการแล้วเสร็จ มีนาคม 2552
หมู่บ้านห้วยปูลิง ต.บ้านหลวง จ.เชียงใหม่ ด้วยความร่วมมือจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษณ์พลังงาน ซึ่งได้ดำเนินการสำรวจศักยภาพพร้อมทั้งให้คำแนะนำด้านเทคนิคแก่ E for E เพื่อดำเนินการพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 22 กิโลวัตต์


ข้อมูลจาก:มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น