การกัดเซาะชายฝั่ง(Coastal Erosion) เป็นวิถีทางธรรมชาติ ประกอบกับผลจากการกระทำของ
มนุษย์ที่พยายามเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะการขยายการตั้งถิ่นฐาน สร้างสิ่งก่อสร้าง
ใกล้เคียงหรือรุกล้ำพื้นที่ธรรมชาติ สำหรับสาเหตุของการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่ง ได้แก่ การทรุดตัวของ
แผ่นดิน
- การทรุดตัวของแผ่นดิน มีสาเหตุหลักจากการสูบน้ำบาดาลที่มากเกินกว่าอัตราการเติมน้ำใต้ดิน
ตามธรรมชาติ ในปัจจุบันในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการมีแนวโน้มของการทรุดตัว
ลดลงแต่แนวโน้มในการทรุดตัวเพิ่มขึ้นในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจากการขยายตัวของพื้นที่
เมือง และอุตสาหกรรม
- คลื่นลมแรง กระแสคลื่นพัดพาตะกอนออกไปทำให้ชายฝั่งขาดเสถียรภาพ นอกจากนี้พื้นที่ของ
ป่าชายเลนที่ลดลงยังมีผลโดยตรงต่อความสามารถในการเก็บกักตะกอนที่ลดลง รวมถึงการสร้าง
เขื่อนก็มีผลต่อการลดลงของตะกอนปากแม่น้ำ
- การสูญเสียแนวป้องกันทางธรรมชาติ ได้แก่ การสร้างสิ่งก่อสร้าง อาคารหรือถนนใกล้กับแนว
มาตราการในการแก้ปัญหาที่เกิดกับการกัดเซาะชายฝั่งตามแนวทางสากล ได้แก่ การพยายามรักษา
สภาพของพื้นที่ โดยพยายามหลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม และปรับวิถีการดำเนินชีวิต
ถึงสิ่งก่อสร้างให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ นอกจากในกรณีที่การกัดเซาะรุกล้ำ
พื้นที่อยู่อาศัยที่มีอยู่เดิม สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดกับการกัดเซาะชายฝั่ง สามารถแบ่งตา
มลักษณะทางกายภาพของพื้นที่หาด ได้แก่ หาดทราย และหาดโคลนหาดทราย การใช้อ่าววงพระจันทร์ หรือการจำลองสันทรายรูปหางปลา (Fishtail Sand Dune) เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากลักษณะทางกายภาพของอ่าวทั้งสองมีคุณสมบัติในการคงความสมดุลย์ตามธรรมชาติ ทำให้เกิดการกัดเซาะน้อย ดังเช่น หาดจอมเทียน หรือ ในกรณีแก้ไขปัญหาของหมู่เกาะ Maldives ที่มีการก่อสร้างโครงสร้างสันหินเป็นรูปปีกวงพระจันทร์ที่ปลายหาดทั้งสองด้านเพื่อรักษาผืนทรายที่ถูกกัดเซาะ นอกจากนี้ยังมีการสร้างจำลองสันทรายรูปหางปลา เช่นที่หาดแสงจันทร์จังหวัดระยอง โดยกรมเจ้าท่ามีความจำเป็นในการสร้างสิ่งก่อสร้างเนื่องจากการกัดเซาะได้รุกล้ำเข้ามาถึงแนวถนน หาดโคลน กรณีการแก้ไขปัญหาหาดโคลนนั้นมีความซับซ้อนกว่าพื้นที่หาดทรายกรวด/หิน โดยการแก้ปัญหาทำได้โดยการส่งเสริมให้เกิดการตกตะกอนของดินโคลน โดยอาศัยการขยายพื้นที่ป่าชายเลนหรือการสร้างสิ่งก่อสร้าง เพื่อลดแรงกระทำจากคลื่นลมแรงหาดทราย บนพื้นที่สันทรายซึ่งเป็นแนวป้องกันทางธรรมชาติ หรือการทำลายป่าชายเลนของชาวบ้านเพื่อทำนากุ้ง โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลท่าข้าม และทุ่งสองห้อง ที่มีเพียงคันดินบางๆ กั้นระหว่างที่นากับน้ำทะเลและมีปริมาณของการตกตะกอนสูง หากแต่จะได้ผลเมื่อมีตำแหน่งอยู่ใกล้ชายฝั่งแต่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชายฝั่งข้างเคียง
ความหมายของการกัดเซาะชายฝั่ง
ชายฝั่งทะเล หมายถึง แถบแผ่นดินนับตั้งแต่ระดับชายทะเลขึ้นไปถึงบนบก แบ่งตามองค์ประกอบของ
ชายฝั่งเป็น 3 แบบ ได้แก่ หาดหินหรือหาดกรวดหาดทราย และหาดโคลน (กรมการขนส่งทางน้ำและ
พาณิชย์นาวี) ชายฝั่งทะเลมีการเปลี่ยนแปลงทั้งตามฤดูกาล และเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร โดยหาดทราย
และหาดโคลน ง่ายต่อการพัดพาของคลื่นลมและกระแสน้ำการกัดเซาะชายฝั่ง คือ การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ
ชายฝั่งทะเลจากพลังของคลื่น ลม และกระแสน้ำที่กระทบชายฝั่งตลอดเวลาทำให้ชายฝั่งทะเลสึกกร่อน
พังทลายไปสาเหตุการเกิดการกัดเซาะชายฝั่งสาเหตุของการเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง
อาจเกิดตามสภาพธรรมชาติ ไต้ฝุ่น สึนามิ หรือแม้แต่
ลมมรสุมทำให้ชายฝั่งทะเลเปลี่ยนสภาพได้ แต่ชายฝั่ง
ทะเลไทยจำนวนมากถูกกัดเซาะเนื่องจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การตัดป่าชายเลน ที่หนาแน่นให้เป็น
พื้นที่เปิดโล่งเป็นนากุ้ง รวมทั้งการสร้างถนนติดเกินไป การสร้างท่าเรือยื่นไปในทะเลการทำลายแนว
ปะการังจนสูญเสียเขื่อนกันคลื่นตามธรรมชาติทำให้
คลื่นผ่านเข้ามาชนชายหาดจนเกิดการกัดเซาะได้
รศ. ดร.นพดล เพียรเวช (255/) ศึกษาพบว่า สาเหตุของการสูญเสียที่ดินตามแนวชายฝั่งอ่าวไทยด้านใต้
ของกรุงเทพฯ เกิดจากการทวีความรุนแรงของคลื่นกัดเซาะอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ดิน
ชายฝั่งจากพื้นที่ป่าโกงกางอันหนาแน่นอุดมสมบูรณ์เป็นนากุ้ง
ความร้ายแรงของการกัดเซาะชายฝั่ง
การกัดเซาะชายฝั่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ กัดเซาะ(มากกว่า 5 เมตรต่อปี) และกัดเซาะปานกลาง (1-5
เมตรต่อปี) ประเทศไทยตามแนวชายฝงั่ ทะเลทั้งสิ้นประมาณ2,700 กิโลเมตร
แต่บริเวณที่ประสบปัญหารุนแรงชายฝั่งทะเล จังหวัดฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ
กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และสมุทรสงครามซึ่งมีการกัดเซาะชายฝั่งมากกว่า 25 เมตรต่อปี โดย
จังหวัดสมุทรปราการ มีการกัดเซาะชายฝั่งจมน้ำไปประมาณ 11,000 ไร่
ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นว่า ในช่วงเวลา
40 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ชายฝั่งทะเลได้สูญเสียไปลึกเป็นระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร ดังสภาพชายฝั่งทะเลบริเวณวัดขุนสมุทรทราวาส จังหวัดสมุทรปราการที่เคยอยู่
บนบก แต่สูญเสียที่ดินชายฝั่งทะเลอย่างรุนแรง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น