วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

โครงการปกป้องสภาพภูมิอากาศในภาคการท่องเที่ยว แผน 3 ปี

โครงการปกป้องสภาพภูมิอากาศในภาคการท่องเที่ยว แผน 3 ปี (2552-2554) โดยหวังผลให้ หมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยงจังหวัดตราด เป็นพื้นที่ต้นแบบนำร่อง "การจัดการ ท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสภาพอากาศ" หรือ Climate Triendly Tourism เพื่อสร้าง จุดแข็งเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดท่องเที่ยวระดับนานาชาติ ซึ่งแนวโน้มนักท่องเที่ยวหันมาให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยการลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อลดภาวะโลกร้อน
การจัดการ ท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสภาพอากาศ

โครงการนี้มีองค์กรสนับสนุนทั้งเงินทุนและวิชาการ คือ สำนักงานความร่วมมือทางวิชาการของเยอรมัน (GTZ) และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) จังหวัดตราด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตราด โดยมีชุมชน โรงแรม ธุรกิจการท่องเที่ยวบน เกาะช้าง และพื้นที่ชายฝั่งทะเลตราด ร่วมขับเคลื่อนอีกแรง
ขณะนี้มีชุมชนและโรงแรมบนเกาะช้าง ตื่นตัวด้านมาตรฐานสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมโครงการกว่า 10 แห่ง โดยชุมชนมีการนำองค์ความรู้ผสมผสานภูมิปัญญา ท้องถิ่นจัดกิจกรรมท่องเที่ยวด้วยเรือมาด เรือคยัก ช่วยลดปริมาณคาร์บอน การทำบอลจุลินทรีย์บำบัดน้ำเค็ม การทำปุ๋ยชีวมวล ส่วนเจ้าของธุรกิจการท่องเที่ยวอย่างบ้านช้างไทย มีการลดปริมาณขยะ การทำปุ๋ยอินทรีย์ การประหยัดพลังงานไฟฟ้า ซึ่งช่วยลดต้นทุนได้อย่างชัดเจน

หมู่เกาะช้างปล่อยคาร์บอน 19.74 ก.ก./คน/วัน

 ผู้จัดการโครงการการท่องเที่ยวและการปกป้องสภาพภูมิอากาศ GTZ เปิดเผยถึงผลการศึกษาปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอน (carbon foot print label) จากสถานบริการร้านค้า โรงแรม รีสอร์ต โฮมสเตย์ ร้านอาหาร การขนส่ง ผู้ประกอบการ ฯลฯ พื้นที่หมู่เกาะช้างพบว่ามีค่าคาร์บอนฟุตพรินต์ 47,35 ตัน/ปี หรือ 0.2% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย หรือเฉลี่ยนักท่องเที่ยว 19.74 กิโลกรัม/คน/วัน ขณะที่ในประเทศไทยเฉลี่ย 11 กิโลกรัม/คน/วัน

โดยเกาะช้างปล่อยก๊าซ 2,440 ตัน/เดือน เกาะกูด 548 ตัน/เดือน เกาะหมาก 477 ตัน/เดือน และชายฝั่ง 132 ตัน/เดือน ผลการปลดปล่อยคาร์บอนคาดว่าจะทำให้อุณหภูมิในพื้นที่หมู่เกาะช้างจะเพิ่มสูง ขึ้น 4 องศาเซลเซียส และปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นประมาณ 30% ซึ่งเสี่ยงกับปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1 เมตร ส่งผลให้ชายฝั่งถูกทำลายและ สูญเสียแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญไปภาวการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง

อย่าง ไรก็ตาม ก่อนนี้การท่องเที่ยวจังหวัดตราดก็มีการลดปริมาณคาร์บอนอยู่แล้ว เช่น การให้บริการท่าเรือเฟอร์รี่เกาะช้างเซ็นเตอร์พอยต์ มีการใช้ก๊าซ NGV แทนน้ำมันดีเซล การเข้าร่วมเป็นสมาชิกโรงแรมใบไม้เขียว และตอนนี้มีโรงแรม รีสอร์ต ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเข้าร่วมโครงการ Climate Friendly Tourism กว่า 10 แห่ง แนวปฏิบัติต้องมีมาตรฐาน สิ่งแวดล้อม 7 Greens โรงแรมใบไม้เขียว ซึ่งทำให้โครงการนี้ต่อเนื่องได้ดี ทั้งวิธีการคัดแยกขยะ การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ในชุมชน หรือการจัดเมนูอาหารท้องถิ่นโดยไม่ต้องขนส่งวัตถุดิบมาจากที่อื่น การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าโดยนำกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้งการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวทางธรรมชาติสอดคล้องกับวิถีชีวิต

เล็งเสนอขายงาน ITB Berlin 2011

การ ร่วมแรงร่วมใจของชาวตราดและภาคธุรกิจในการจัดการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับ สภาพอากาศ นอกจากช่วยลดภาวะโลกร้อนและทำให้การท่องเที่ยวยั่งยืนแล้ว ในเชิงธุรกิจคือการเพิ่มโอกาสทางการตลาดใหม่ในเวทีโลกท่ามกลางกระแสความ ห่วงใยโลกใบนี้
 ภายในปี 2554 จะมีโรงแรมที่เข้าโครงการ Climate Friendly Tourism และนำเสนอต่อตลาดท่องเที่ยวนานาชาติในงาน ITB Berlin 2011 จำนวน 3-4 แห่ง ซึ่งเป็นโรงแรมบนเกาะช้างเกือบทั้งหมด และเป็นโรงแรมที่เข้ารับการขอรับการประเมินโรงแรมจากมูลนิธิใบไม้เขียว 7 Greens โดยยึดหลักการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เกิดผลกำไร หลักการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ โรงแรมอัยยะปุระ รีสอร์ทแอนด์สปา มีวิธีการจัดการลดพลังงาน การปลูกผักออร์แกนิก โรงแรมทรอปิกกาน่า โรงแรมดุสิตปริ๊นเซส และโรงแรมปานวิมาน ที่ประกาศเป็นเขต non smoking!

ส่วนในพื้นที่ฝั่งจังหวัดตราดมีแห่งเดียว คือ โรงแรมบ้านปูรีสอร์ท มีการจัดเมนูอาหารท้องถิ่น การนำผ้าปูที่นอนมารียูสใหม่แทนการใช้กระดาษทิสชู

"หากโรงแรมในหมู่ เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง ได้รับการยอมรับเป็นโรงแรมสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในตลาด ท่องเที่ยวระดับโลก ต่อไปจะขยายผลโรงแรมในภาคตะวันออกเป็น green east coast ซึ่งผู้ประกอบการรายใดมีความพร้อมก็สามารถทำได้เลย เพราะอนาคตภาคตะวันออกจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของยุโรป และสแกนดิเนเวีย ถือเป็นโอกาสของการท่องเที่ยวไทยเพราะขณะนี้ในแถบเอเชียยังไม่มีใครทำ"


นี่ คือเทรนด์การท่องเที่ยวของโลกที่กำลังจะเกิดขึ้นท่ามกลางการแข่งขันที่ รุนแรง ซึ่งประเทศที่พึ่งพารายได้หลัก จากการท่องเที่ยวต้องเร่งปรับตัว

 ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 06 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4242  หน้า 24   โดย กาญจนา จินตกานนท์

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีทำ EM ball (ดังโงะ)

วิธีทำ EM ball (ดังโงะ)

เพื่อการบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำที่มีโคลนตะกอน หรือน้ำไหล หรือน้ำลึก ให้ได้ผลดีกว่าการใช้ EM ขยาย หรือจะใช้ทั้ง EM ball และ EM ขยาย ร่วมกันก็จะได้ผลดียิ่งขึ้น
ส่วนผสม ส่วนที่ 1


1. รำละเอียด 1 ส่วน
2. แกลบป่น หรือ รำหยาบ 1 ส่วน
3. ดินทราย 1 ส่วน

ใช้ โบกาฉิ แทนส่วนที่ 1 หรือใช้โคลนตะกอน แทนดินทรายได้
ส่วนที่ 2


1. EM 10 ช้อนแกง
2. กากน้ำตาล 10 ช้อนแกง
3. น้ำสะอาด 10 ลิตร

ใช้ EM ขยาย หรือ EM หมักน้ำซาวข้าว หรือ EM5 ผสมร่วมกันหรือใช้แทน EM กับกากน้ำตาลได้
วิธีทำ

1. ผสมส่วนที่ 1 แล้วรดด้วยส่วนที่ 2 คลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. วัดความชื้นพอเหมาะ ปั้นเป็นก้อนกลม หรือดัดแปลงได้ตามต้องการ
3. นำไปวางไว้ในที่ร่มจนแห้งสนิท แล้วนำไปใช้










ขอบคุณ:EMRO Asia

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

10 อันดับโรงแรมบูติคอนุรักษ์ธรรมชาติในเอเชียแปซิฟิกปี 2553

10 อันดับโรงแรมบูติคอนุรักษ์ธรรมชาติในเอเชียแปซิฟิกปี 2553

อันดับที่ 10



ไซโลโซ บีช รีสอร์ท, สิงคโปร์ (Siloso Beach Resort, Singapore)
ตั้ง อยู่ในพื้นที่ป่าไม้บนเกาะเซ็นโตซ่า ไซโลโซจ้างพนักงานที่มีจรรยาบรรณสีเขียวเพื่อลดการทำอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม รีสอร์ทถูกสร้างขึ้นโดยให้มีผลกระทบต่อพืชน้อยที่สุด, ใช้หลอดไฟ CFL, รีไซเคิลของเสีย, และนำน้ำจากเครื่องปรับอากาศมาใช้กับเครื่องทำน้ำอุ่น การออกแบบรีสอร์ทก็มีส่วนช่วยให้เกิดความยั่งยืน เช่น สวนบนหลังคาทำให้เกิดความเย็นภายในห้องพัก และวิลล่าบางหลังก็สร้างไว้รอบๆ ต้นไม้ ด้วยความที่ไซโลโซเป็นรีสอร์ทสีเขียว จึงทำให้มีสัตว์ป่านานาชนิดรวมถึงกบ กิ้งก่า และนก อาศัยอยู่มากมาย

อันดับที่ 9



นิฮิวาตู รีสอร์ท, ซัมบ้า, อินโดนีเซีย (Nihiwatu Resort, Sumba Indonesia)
ตั้ง อยู่บนชายหาดทอดยาว 2.5 กิโลเมตรบนเกาะซัมบ้า บูติกรีสอร์ทแห่งนี้ได้รับรางวัลระดับนานาชาติด้านความพยายามอนุรักษ์สิ่ง แวดล้อมและพัฒนาชุมชน และรีสอร์ทแห่งก็เป็นหนึ่งใน 10 โรงแรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของอโกด้าในปี 2550 ด้วย บังกะโลทั้ง 13 หลังถูกสร้างขึ้นจากฝีมือชาวอินโดนีเซียและใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น และมีการจ้างงานชาวซัมบ้าทำงานที่รีสอร์ทถึงร้อยละ 95 ของพนักงานทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2544 เจ้าของรีสอร์ทได้ร่วมจัดตั้งมูลนิธิซัมบ้าขึ้นเพื่อขจัดความยากจนในชุมชน ชาวซัมบ้า
อันดับที่ 8



โทปาส อีโคลอดจ์, ซาปา, เวียดนาม (Topas Ecolodge, Sapa Valley, Vietnam)
ตั้ง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหว่างเหลียน แขกของโทปาส อีโคลอดจ์จะได้ชมวิวขุนเขาหว่างเหลียนเซินหรือ “ตันกีนีส แอลป์ส” อันเขียวชอุ่ม ชมนาขั้นบันได และหมู่บ้านในหมอก รีสอร์ทใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับวิลล่า 25 หลัง บำบัดน้ำเสีย และใช้วัสดุที่หาได้ภายในท้องถิ่น นอกจากนั้นยังรักษาระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้อยู่ในระดับต่ำ



อันดับที่ 7



บาเมอร์รู เพลนส์, ออสเตรเลีย (Bamurru Plains, Australia)
ตั้ง อยู่บริเวณป่าชายเลนในอุทยานแห่งชาติคาคาดู บาเมอร์รู เพลนส์ เป็นส่วนหนึ่งของฟาร์มเลี้ยงควายและปศุสัตว์เอกชนบนพื้นที่ 75,000 เอเคอร์ บูติกรีสอร์ทแห่งนี้อนุรักษ์นิยมถึงขั้นไม่มีโทรทัศน์หรือโทรศัพท์ในบังกะโล (มีเพียงแค่ 3 หลังเท่านั้นที่มีเครื่องปรับอากาศ โดยต้องชำระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม) พลังงานที่ใช้ในรีสอร์ทร้อยละ 75 มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ กรองน้ำบาดาลมาเป็นน้ำดื่ม ขวดต่างๆ ถูกนำมารีไซเคิล และสบู่ก็ปลอดสารเคมี

อันดับที่ 6



โรงแรมยูอาร์บีเอ็น, เซี่ยงไฮ้, จีน (URBN hotel, Shanghai, China)
ตั้ง อยู่ในโรงงานที่ถูกดัดแปลงขึ้นในพื้นที่สัมปทานฝรั่งเศสของเซี่ยงไฮ้ การปรับปรุงใหม่ใช้เฉพาะวัสดุรีไซเคิลและวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น โรงแรมสไตล์มินิมอล URBN Shanghai แห่งนี้เป็นโรงแรมคาร์บอนสมดุลแห่งแรกในประเทศจีน ความยั่งยืนเป็นแนวทางปฏิบัติที่ URBN ซึ่งใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสพความสำเร็จในตามแนวคิดคาร์บอน สมดุล โดยการเข้าร่วมโครงการล้านต้นกล้า (Million Tree Project) ซึ่งเป็นโครงการที่ชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการจัดซื้อต้นกล้า ที่ปลูกขึ้นในทะเลทรายคุหลุนของมองโกเลีย

อันดับที่ 5



บันจาร์ โทลา, อินเดีย (Banjaar Tola, India)
ตั้ง อยู่ใจกลางอุทยานแห่งชาติกัณหา มองเห็นทิวทัศน์ของป่าไม้ไผ่และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเสือนานาชนิด ที่พักของ บันจาร์ โทลา ประกอบไปด้วยเต๊นท์หรูสไตล์ซาฟารี 18 หลัง สร้างขึ้นจากวัสดุท้องถิ่นเช่นไม้ไผ่และหวาย ตกแต่งด้วยศิลปะของชนพื้นเมืองบาสตาร์และโดกรา บันจาร์ โทลามีวิถีปฏิบัติแบบ “เอิร์ธ” (EARTH - Environment Awareness and Renewal at Taj Hotels) ซึ่งเป็นแนวคิดริเริ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเครือทัชโฮเต็ลส์โดยการใส่ใจ ต่อสิ่งแวดล้อมและการนำกลับมาใช้ใหม่ และได้รับการรับรองจากโครงการเอิร์ธเช็คซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่เบื้องหลัง โครงการลูกโลกสีเขียว

อันดับที่ 4



ตาฮิ, โอฮัว, นิวซีแลนด์ (Tahi, Ohua, New Zealand)
ครอบ คลุมพื้นที่ 740 เอเคอร์ซึ่งประกอบไปด้วยฟาร์ม ป่า ป่าชายเลน และชายหาดสำหรับเล่นวินด์เซิร์ฟ รีสอร์ทนี้ตั้งอยู่ห่างจากเมืองโอ๊คแลนด์ 2.5 ชั่วโมง ประกอบไปด้วยบังกะโลหรูสองหลัง หลังหนึ่งเหมาะสำหรับคู่รักและอีกหลังหนึ่งเหมาะสำหรับครอบครัว แต่ละหลังได้รับการปรับปรุงให้หรูหราตามมาตรฐานโดยใช้วัสดุที่หาได้ในท้อง ถิ่น ใช้น้ำฝนมาทำน้ำดื่ม ปลูกผักปลอดสารพิษภายในรีสอร์ท และยังมีฟาร์มผึ้งซึ่งผลิตน้ำผึ้งมานูก้าเพื่อสุขภาพ ด้านความสมานสามัคคีกับชนเผ่าพื้นเมืองเมารีนั้น ผู้บริหารของรีสอร์ทมองว่าตนเองเป็นเหมือนผู้ดูแลรักษามากกว่าที่จะเป็นเจ้า ของสถานที่ และสละเวลาในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมด้วยการปลูกต้นไม้ ใช้วัตถุดิบที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และปกปักรักษาพืชและสัตว์ในบริเวณนั้น

อันดับที่ 3



กายานา อีโค รีสอร์ท, มาเลเซีย (Gayana Eco Resort, Malaysia)
ตั้ง อยู่บนเกาะปูเลากายา ริมชายฝั่งโกตากินะบะลู กายานา อีโค รีสอร์ท อยู่ท่ามกลางป่าโกงกางและแนวปะการัง แนวปะการังและปลาเป็นจุดโฟกัสหลักของศูนย์การวิจัยของรีสอร์ท ซึ่งจัดให้มีโปรแกรมฟื้นฟูแนวปะการังโดยให้แขกที่มาพักได้มีส่วนร่วมในการ ปลูกปะการังด้วย นอกจากนั้นศูนย์การวิจัยยังเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวสามารถชมม้าน้ำ ปลาดาว และหอยกาบยักษ์ได้อย่างใกล้ชิด หรือเดินสำรวจป่าพร้อมไกด์นำทางซึ่งจะแนะนำให้แขกที่มาพักได้รู้จักกับสัตว์ นานาชนิดที่อาศัยอยู่ในป่าบนเกาะนี้

อันดับที่ 2



โซเนวา คีรี, เกาะกูด, ประเทศไทย (Soneva Kiri, Koh Kood, Thailand)
หนึ่ง ในรีสอร์ทเครือซิกซ์เซ้นส์ โซเนวาคีรี ตั้งอยู่บนเกาะกูดจังหวัดตราด การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นรากฐานของรีสอร์ทหรูแห่งนี้ รีสอร์ทถูกสร้างขึ้นด้วยวัสดุบนเกาะเกือบทั้งหมด (ไม้ไผ่, หินทราย, ขอนไม้, โคลนอิฐ, และประติมากรรมดินเผา) และของบางส่วนทำขึ้นโดยช่างฝีมือชาวกะเหรี่ยงทางภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากนั้นโซเนวาคีรียังมีความโดดเด่นแบบ อีโค-วิลล่า หลังคาประดับด้วยเฟิร์นและฉากกันอาบน้ำทำจากขวดโซดารีไซเคิล และยังมีกิจกรรมต่างๆ ให้แขกที่มาพักประทับใจกับสถานที่ยิ่งขึ้นด้วยการรับประทานอาหารบนต้นไม้ เรียนดูดาว เยี่ยมชมฟาร์มผึ้ง ฟาร์มไข่มุก หรือเรียนทำสวน

อันดับที่ 1



อลีลา วิลล่าส์ ฮาดาฮา, กาฟู อะลิฟู อะทอล, มัลดีฟส์ (Alila Villas Hadahaa, Gaafu Alifu Atoll, Maldives)
ถือ เป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมสำหรับทุกรีสอร์ท ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวระหว่างขั้นตอนการก่อสร้าง ขั้นตอนการออกแบบ ระบบบริหารจัดการ และการปฏิบัติงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแนวคิด คาร์บอนสมดุล การออกแบบวิลล่าทั้งบนน้ำและบนพื้นดินของรีสอร์ทหรูแห่งนี้สนับสนุนการท่อง เที่ยวยั่งยืนด้วยการรองรับน้ำฝนและการระบายอากาศตามธรรมชาติเพื่อให้เกิด ความเย็นภายใน และสิ่งที่ได้ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องก็คือการใช้กระดาษรีไซเคิล จัดหาการผลิตในท้องถิ่น และมีการผลิตน้ำดื่มแบบรีเวิร์สออสโมซิสสำหรับพนักงาน ในระดับภูมิศาสตร์ อลีลา วิลล่าส์ ฮาดาฮา มีการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้แขกที่มาพักได้มีโอกาสสำรวจและเข้าใจเกี่ยว กับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเยี่ยมชมชุมชนพื้นเมือง และนำเที่ยวเกาะโดยนักชีววิทยาของรีสอร์ท
Picture Hotels Class Location Price
Away Koh Kood, Centara Boutique Collection Away Koh Kood, Centara Boutique Collection Klong Chao 2,155 THB
Koh Kood Beach Bungalow Koh Kood Beach Bungalow Ao Yai Kee 2,005 THB
The Beach Natural Resort Koh Kood The Beach Natural Resort Koh Kood Bang Bao Beach 973 THB


ขอบคุณ : http://www.toptenthailand.com/display.php?id=1933

โรงแรมสีเขียว หรือ โรงแรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อน

โรงแรมสีเขียวหรือ โรงแรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อน
โรงแรมสีเขียวลดภาวะโลกร้อน

คราวน์ พลาซา โคเปนเฮเกน ทาวเวอร์ส โรงแรมหรูขนาด 366 ห้อง ของประเทศ
เดนมาร์ก ประกาศตัวว่าเป็น โรงแรมสีเขียวหรือ โรงแรมที่วางระบบช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และประหยัดพลังงานมากที่สุดในโลก!
"คราวน์ พลาซา โคเปนเฮเกน" นั้นเพิ่งเปิดให้บริการช่วงปลายปี 2552 นี่เอง
ชูจุดขายเป็น "ผู้ประกอบการ" ที่มีความใส่ใจ-อยากช่วยแก้วิกฤตโลกร้อน
ฉะนั้นบรรดาอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหลายแหล่ในโรงแรม โดยเฉพาะอุปกรณ์ไฟฟ้าล้วน
แล้วแต่ผ่านการคัดสรร ว่า เป็นสินค้าประหยัดพลังงาน
นอกจากนี้ บนหลังคาของตัวอาคารยังติดตั้ง "แผงเซลล์สุริยะ"(Solar cell) สำหรับแปลงแสงอาทิตย์
มาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงโรงแรม ส่วนการปรับอุณหภูมิทำความร้อน-เย็นภายในห้องพัก
ก็ติดตั้งระบบหล่อเย็นด้วยน้ำเอาไว้ใต้ดิน 100 เมตรพร้อมสรรพ
ล่าสุด ผู้บริหารธุรกิจโรงแรมกลุ่มอินเตอร์คอนทิเนนทัล บริษัทแม่ของคราวน์ พลาซา ยัง
แถลงข่าวแผนผลิตไฟฟ้าครั้งใหม่โดยนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงสิ้นปี...
ลูกค้าคนไหนต้องการรับประทานอาหารฟรี 1 มื้อ รวมมูลค่าประมาณ 1,400 บาท
ก็สามารถเข้าไป "ปั่นจักรยาน" ออกกำลังกายในห้องยิม
ซึ่งเวลาที่นั่งปั่นไปเรื่อยๆ จักรยานดังกล่าวจะสามารถทำหน้าที่ประจุ หรือ ชาร์จไฟเข้า
ไปเก็บไว้ใน "แบตเตอรี่" เพื่อรอจ่ายเข้าระบบไฟฟ้าหลักของโรงแรมต่อไป
โดยนโบายหลักที่น่ายกย่องและเอาเยี่ยงอย่างเป็นอย่างยิ่ง แบ่งเป็นหมวดหมู่ดังนี้
หมวดที่ 1   นโยบายและมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
หมวดที่ 2   การจัดการของเสีย
หมวดที่ 3   ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและน้ำ
หมวดที่ 4   การจัดซื้อ
หมวดที่ 5   คุณภาพอากาศภายในอาคาร
หมวดที่ 6   มลพิษทางอากาศ
หมวดที่ 7   มลพิษทางเสียง
หมวดที่ 8   คุณภาพน้ำ
หมวดที่ 9   การเก็บรักษา ใช้ และจัดการเชื้อเพลิง แก๊ส และสารพิษ
หมวดที่ 10 ผลกระทบต่อระบบนิเวศ
หมวดที่ 11 การมีส่วนร่วมกับชุมชนและองค์กรท้องถิ่น
จาก:ข่าวสดออนไลน์ 22 เมษายน 2553
หมุนก่อนโลก
วิทยา ผาสุก wittayapasuk@hotmail.com

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

โรงแรมคำแสด ริเวอร์แคว รีสอร์ท จ.กาญจนบุรี ลดโลกร้อนด้วย ถังหมักแก๊สชีวภาพ

โรงแรมคำแสด ริเวอร์แคว รีสอร์ท จ.กาญจนบุรี ลดโลกร้อนด้วย ถังหมักแก๊สชีวภาพ

          โรงแรมคำแสดฯ มี 120 ห้องพัก มีขยะเปียกและเศษอาหารจากการจัดเลี้ยงและประกอบอาหาร 220 - 350 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งในอดีตของเสียเหล่านี้ถือเป็นภาระที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัด หลังจากได้สร้างระบบก๊าซชีวภาพแบบถังลอยกวนผสม ขนาด 80 ลบ.ม. เพื่อรองรับของเสียประเภทขยะเศษอาหาร สามารถส่งก๊าซชีวภาพผ่านท่อไปใช้ทดแทนก๊าซหุงต้มในครัวปรุงอาหาร สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงได้ถึงวันละ 680 บาท/วัน หรือปีละประมาณ 250,000 บาท นอกจากนี้กากเศษอาหารในถังหมักยังกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งนำมาใช้ในแปลงเพาะปลูกหรือพื้นที่สีเขียว
คำแสดรีสอร์ท


   ขยะเป็นตัวการสำคัญหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อปัญหามลภาวะเป็นพิษ การทับถมกันของมูลฝอยต่างๆ จะปล่อยก๊าชมีเทน ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ ที่จะขึ้นไปทำลายชั้นบรรยากาศ  มนุษย์เป็นต้นเหตุหลักอย่างไม่อาจปฏิเสธ เพราะกิจกรรมส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันของเรา เกี่ยวโยงอยู่กับการใช้พลังงานทั้งสิ้น เริ่มตั้งแต่ผลิต กระทั่งสินค้า (วัตถุ) กลายมาเป็นขยะ
การจัดการขยะอย่างถูกวิธี จึงเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยยืดอายุโลกใบนี้ และหากสามารถเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานทดแทนได้ ก็คงเป็นเรื่องดีไม่น้อย เพราะประมาณการกันว่าหากวิถีชีวิตมนุษย์ยังเป็นแบบในปัจจุบันนี้ พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมัน, ก๊าชธรรมชาติ, ถ่านหิน) จะหมดไปจากโลกในอีกไม่เกิน 50 ปีข้างหน้า
คำแสดรีสอร์ท
ที่ "คำแสด ริเวอร์แคว รีสอร์ท" แห่งนี้เอง ที่พนักงานของที่นี่ทุกคนประกาศลั่นว่า "เราก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยโลกเพราะเราไม่ทิ้งขยะ"
"ตุลย์ บุนนาค" ผู้จัดการทั่วไปของ คำแสด ริเวอร์แคว รีสอร์ท เล่าถึงวิธีการจัดการขยะของที่นี้ให้ฟังว่า ขั้นแรกจะมีการแยกขยะก่อน โดยแบ่งเป็นขยะแห้ง ขยะสด และขยะเปียก จากนั้นก็ดูว่าขยะแต่ละประเภทจะนำไปทำอะไรได้บ้าง
ขยะแห้ง เช่น ขวดน้ำมันพืช ปี๊บน้ำตาล เศษสังกะสี ถุงพลาสติค ฯลฯ ทำการคัดไว้เพื่อจำหน่าย เพราะสามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้ สำหรับขยะสด เช่น ใบไม้ กิ่งไม้เล็กๆ จะนำไปทำเป็นปุ๋ยพืชสด ดอกไม้ที่ร่วง นำไปทำสบู่เหลว หรือแชมพู กิ่งไม้ใหญ่ๆ ใช้เผาถ่าน ได้น้ำส้มควันไม้ที่มีฤทธิ์ไล่แมลงและสำหรับขยะเปียก เช่น เศษอาหารต่างๆ สามารถนำไปผลิตเป็นก๊าซชีวภาพได้
 เริ่มจากการลองผิดลองถูก สะเปะสะปะมาเรื่อย เมื่อก่อนต้องเสียค่าทิ้งขยะเดือนละ 17,000 บาท เพื่อขนขยะไปฝังกลบข้างนอก เสียทั้งเงิน และก็ทำให้ดินที่เอาขยะไปทิ้งเสียหาย ทำให้มาเริ่มคิดแล้วว่าน่าจะมีวิธีการจัดการขยะแบบใหม่ ก็เลยตั้งโรงคัดแยกขยะขึ้นมา
บ่อหมักแก๊สชีวภาพคำแสดรีสอร์ท
ถังหมักและถังเก็บก๊าซขนาด 8000 ลิตร
ที่ มาของการคิดเรื่องนี้เกิดจากท่านกรรมการผู้จัดการของเรา คือ "ลัดดาวัลย์ เผ่าวิบูลย์" ให้แนวคิดตอนที่เรามีวิกฤตหลายครั้งที่ผ่านมาว่า เราจำเป็นต้องใช้ของอย่างคุ้มค่า จึงเริ่มหาความรู้เรื่องนี้ กระทั่งได้พบกับ "อาจารย์บุญมา ป้านประดิฐ" แห่งศูนย์วิศวกรรมพลังงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ท่านทำงานด้านนี้และได้กรุณาให้คำแนะนำ ให้ความรู้ เราได้นำมาปฏิบัติและพัฒนาต่อ อาจารย์ท่านก็คอยให้คำปรึกษาและดูแลเรามาจนถึงทุกวันนี้
ในส่วนของการผลิตก๊าซชีวภาพ ซึ่งให้ความร้อนสำหรับการหุงต้ม นอกจากจะมีการจัดการอย่างเป็นระบบใหญ่ของทางรีสอร์ทแล้ว ตามบ้านพักของพนักงานทุกคนก็จะมีถังขนาดเล็ก เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับใช้หุงต้มในครัวเรือนด้วยเช่นกัน
การผลิต ก๊าซชีวภาพจะใช้ขยะอินทรีย์เป็นอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ เช่น เศษอาหารที่เหลือจากการบริการลูกค้า ขยะอินทรีย์ที่เหลือจากการทำอาหาร ขยะที่เหลือในแปลงเกษตร โดยจะทำการบดละเอียดเสียก่อนเพื่อจะให้จุลลินทรีย์ย่อยสลายได้ง่ายขึ้น จากนั้นนำใส่ลงในบ่อหมัก เพื่อให้เกิดขบวนการย่อยสลายเกิดก๊าชชีวภาพต่อไป
ขบวนการเกิดก๊าซชีวภาพในบ่อหมักจะมีด้วยกัน 3 ขั้นตอนหลักคือ
1.การ ย่อยสลายอินทรีย์สาร (Hydrolysis) อินทรีย์สารเป็นส่วนประกอบในพืชและสัตว์ ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ซึ่งมีโมเลกุลขนาดใหญ่ จุลินทรีย์จะทำการย่อยอินทรีย์สารนี้ให้มีขนาดเล็กลง ในขบวนการย่อยสลายนี้ จุลลินทรีย์จะปลดปล่อยเอ็นไซม์เปลี่ยนอินทรีย์สารต่างๆ ไปเป็น กลูโคส กรดอะมิโน กลีเซอรอล และกรดไขมัน โดยจะได้ในรูปของสารละลาย
2.การ เกิดกรด (Acidification) สารละลายในขั้นตอนแรกจะถูกหมักต่อไปในสภาพไร้อากาศโดยจุลลินทรีย์ที่ไม่ต้อง การอากาศในการดำรงชีพ จุลินทรีย์เหล่านี้จะย่อยสารละลายให้เป็นกรดน้ำส้ม แอลกอฮอล์ ไฮโดเจน คาร์บอนไดออกไซด์
3.การ เกิดก๊าซมีเทน (Methanization) กรดน้ำส้ม แอลกอฮอล์และคาร์บอนไดออกไซด์ จะถูกจุลลินทรีย์ในกลุ่มที่ชื่อเมทาโนจีนิค (Methanoginic) หรือเมทาโนเจน (Methanogen) ย่อยสลายในสภาพไม่มีอากาศเกิดเป็นก๊าซมีเทนขึ้น โดยก๊าซจะไหลเข้าถังเก็บ (อีกถัง) ซึ่งเป็นถังลอยเพื่อรอการสูบส่งไปใช้
"การใช้งานก๊าชชีวภาพ เรานำมาใช้ทดแทนก๊าชหุงต้มในครัว จากการเก็บตัวเลข สามารถทดแทนก๊าชหุงต้มได้ประมาณ 40% จากที่เคยจ่าย สืบเนื่องจากเรามีขยะที่ใส่ลงไปคิดเป็นอัตราที่ต้องใส่ทั้งหมดได้ประมาณ 35% เท่านั้น ทั้งที่ถังผลิตก๊าซชีวภาพสามารถใส่ขยะได้ประมาณ 1,000 กก./วัน แต่ตอนนี้เราใส่แค่ 350 กก./วัน เพราะหาขยะไม่ได้" ผู้จัดการทั่วไปท่านนี้เปิดเผยข้อมูล
และบอกว่าก๊าซชีวภาพที่ได้ ทางคำแสด ริเวอร์แคว รีสอร์ท จะนำไปใช้ในครัวที่มีอยู่ 4 ครัว โดยได้พัฒนาเตาให้เหมาะกับการใช้ก๊าซชีวภาพและสามารถใช้ก๊าชแอลพีจี (LPG) ร่วมด้วยได้
สำหรับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตก๊าชชีวภาพ ประกอบด้วย เครื่องบดย่อย, ถังหมักขนาด 8,000 ลิตร, ถังเก็บก๊าซขนาด 8,000 ลิตร, อุปกรณ์ปั๊มลม, ถังเก็บแรงดันทนแรงดันได้ 10 บาร์, อุปกรณ์สำหรับกรองก๊าซ, ท่อส่งก๊าซ, หัวเตาที่ใช้กับก๊าซชีวภาพ
ใน การนำก๊าซมีเทนไปใช้ ขั้นแรกจะมีการสูบเข้าเก็บในถังอีกลูกหนึ่งที่สามารถทนแรงดันได้มากกว่า 4 บาร์ ซึ่งจะทำให้ก๊าซมีแรงดันมากพอที่จะส่งไปตามท่อไกลๆ ได้ แต่ก่อนที่จะนำไปใช้ จะมีการปล่อยก๊าซผ่านชุดกรองกำจัดกลิ่น กำจัดก๊าซบางตัวที่ไม่ต้องการ เช่น ก๊าซไข่เน่า เป็นต้น
ทำให้ก๊าซที่ผ่านชุดกรองจะสามารถจุดติดไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ คำแสด ริเวอร์แคว รีสอร์ท ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ ก็ด้วยความร่วมมือของพนักงานทุกคน

"เราไม่ได้ทำธุรกิจเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงตัวเรา แต่เราเอารายได้เลี้ยงธุรกิจ พนักงานทุกคนมีข้าวกินครบ 3 มื้อ..."
ประโยค ข้างต้นคือสิ่งที่กรรมการผู้จัดการของที่นี่บอกตั้งแต่ต้นเกี่ยวกับธุรกิจ และความเป็นอยู่ของพนักงานทุกคน ก็เป็นสิ่งยืนยันที่ท่านพูดได้ดี เพราะแม้เงินเดือนจะไม่สูงมาก แต่ทุกคนก็อยู่อย่างพอเพียง มีความสุข

คำแสดรีสอร์ท
ดัง นั้น กับเรื่องว่าคุ้มค่าไหม กับการจัดการขยะที่ทำอยู่ ตุลย์บอกว่า ผลที่ได้จากโครงการทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงมาบ้าง ค่าแก๊ซหุ้งต้ม ค่าสารเคมีในการรักษาสวนที่มีอยู่ 140 ไร่ เพราะผลิตสารชีวภาพทดแทนได้หมดอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้น้ำยาดับกลิ่นต่างๆ ก็ลดลง และสิ่งคุ้มค่าสุดที่ได้กลับมาคือ เรื่องสิ่งแวดล้อม
ไม่นาน มานี้ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนกท่านหนึ่งเคยมาพักผ่อนที่รีสอร์ท จากการเดินดูรอบบริเวณอย่างคร่าวๆ เขาก็กล้ายืนยันว่าที่นี่มีนกไม่ต่ำกว่า 50 ชนิด
"น่าจะจัดกิจกรรมดูนกด้วย" ลูกค้าหลายคนที่มาพักเคยเสนอแนะ
อาจ เก็บไว้พิจารณาสำหรับข้อเสนอของลูกค้า แต่สำหรับเรื่องพลังงานทดแทนกู้วิกฤตโลกร้อน ตอนนี้ทางคำแสด ริเวอร์แคว รีสอร์ท กำลังศึกษาเรื่องพลังงานทดแทนจากแหล่งอื่นเพิ่มเติม


"อนาคต คำแสดจะให้ความสำคัญในเรื่องของการใช้พลังงานทดแทนเป็นอันดับต้นๆ โครงการก๊าซชีวภาพเราก็ยังพัฒนาต่อไป เรามีโครงการสูบน้ำด้วยพลังน้ำ (กังหันน้ำ) ซึ่งเรากำลังจะนำเครื่องลงน้ำ ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ ทำไบโอดีเซล เป็นต้น เรื่องพวกนี้เรามีผู้รับผิดชอบโดยตรง"
 ขอบคุณ; http://www.greenenergynet.net,http://www.deqp.go.th

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

ขยะอินทรีย์ จัดการดีๆ ก็คือ เงิน

ขยะอินทรีย์ จัดการดีๆ ก็คือ เงิน
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2552
สำหรับประเทศที่ยังมองเห็นเศษซากอินทรียสารเป็นของไร้ค่าเหม็นเน่าน่ารังเกียจ ขยะก็ย่อมเป็นตมปัญหาที่ต้องกำจัด แต่ประเทศใดที่มองเห็นซากเน่าเหม็นเป็นพลังงานหรือเป็นปุ๋ยชีวภาพ ขยะอินทรีย์ก็กลายเป็น "ขยะหอม" ที่ส่งกลิ่นยั่วยวนด้วยรายได้เป็นกอบเป็นกำได้เหมือนกัน
หลายคนรู้ดีว่า อินทรียสารในขยะชีวภาพสามารถนำไปแปรเปลี่ยนเป็นก๊าซชีวภาพ พลังงานไฟฟ้า และปุ๋ยหมักได้ แต่มีเพียงขยะ 1,000 ตันต่อวัน จากขยะอินทรีย์ราว 60% ของขยะปริมาณกว่า 8.7 พันตันต่อวัน ที่ถูกนำไปแปรเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหมักที่ "โรงขยะพันตัน" ณ สถานีขนถ่ายและกำจัดขยะ อ่อนนุช
ขยะอินทรีย์ที่เหลือถูกนำไปฝังกลบ โดยมีต้นทุนเป็นค่าขนส่งและกำจัดขยะที่สูง ถึงตันละ 1 พันบาท ทั้งๆ ที่ทุกคนตระหนัก ดีถึงคุณูปการของขยะอินทรีย์ และก็ยังรู้อีกว่ามีวิธีการจัดการขยะอินทรีย์ที่ง่ายและดีกว่าการฝังกลบและการเผาหลายเท่านัก
นั่นก็คือการใช้สิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ ในดิน...ตัวหนึ่งคือ จุลินทรีย์ ส่วนอีกตัวก็คือไส้เดือนดิน
ปุ๋ยชีวภาพ ก๊าซชีวภาพ ผลผลิตชั้นดีจากสิ่งมีชีวิตตัวจิ๋ว
ทั้งนี้ ผลิตผลจากขยะอินทรีย์ที่สามารถสร้างได้ง่ายที่สุด เห็นจะหนีไม่พ้น "ปุ๋ยหมัก"
ในบางครัวเรือน แค่เพียงกองเศษซากอาหาร เศษพืชผักผลไม้ และกากของเสีย ไว้ใต้ต้นไม้หรือในบ่อหมัก เพียงไม่นาน จุลินทรีย์และขบวนการทางชีวเคมีจะเปลี่ยน แปลงและย่อยสลายอินทรียสารในเศษซากขยะนั้นจนกลายเป็นปุ๋ยชีวภาพที่แทบไม่ต้องลงแรงและลงทุน แต่ให้ธาตุอาหารสูงและยังช่วยปรับดินให้ร่วนซุย
คำแสดรีสอรท์
สำหรับบ่อหมักขยะอินทรีย์ที่มีขนาด ใหญ่ ยังมีผลพลอยได้ก่อนที่ขยะจะกลายเป็นปุ๋ยหมักชั้นดี นั่นก็คือก๊าซชีวภาพ หรือ Biogas ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยจุลินทรีย์ภายใต้ สภาวะที่ปราศจากออกซิเจน (หรือที่เรียกว่า สภาพที่ไร้อากาศ) เรียกว่าไม่เพียงเป็นการกำจัดขยะอินทรีย์ แต่ยังได้พลังงานสะอาดจากขยะและปุ๋ยอินทรีย์อย่างดีมาใช้ฟรีๆ เป็นของแถม
ยกตัวอย่าง คำแสด ริเวอร์แคว รีสอร์ท ขนาด 120 ห้อง รองรับแขกกว่า 400 คน แต่ละวันมีขยะเปียกและเศษอาหารถึง 220-350 กก. ในอดีตขยะเหล่านี้ถือเป็นภาระที่ต้องจ่ายค่ากำจัดขยะด้วยวงเงินจำนวนมาก แต่หลังจากโรงแรมหันมาใช้ระบบก๊าซชีวภาพ ขนาด 80 ลบ.ม. เพื่อกำจัดขยะเหล่านี้ โรงแรมก็สามารถประหยัดเงินค่าก๊าซหุงต้มในครัวและส่วนจัดเลี้ยงถึง 680 บาทต่อวัน หรือตก 2.5 แสนบาทต่อปี ทั้งยังได้ปุ๋ยอินทรีย์มาใช้เพาะปลูกพืชผักและต้นไม้ในรีสอร์ตฟรีๆ อีกด้วย
ขณะที่เมืองใหญ่อย่างเทศบาลนครระยองก็มีโครงการนำร่องผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ซึ่งรองรับขยะได้ปริมาณวันละ 60 ตัน โดยผลิตก๊าซที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ไม่น้อยกว่าปีละ 5.1 ล้านหน่วย และขายเข้าระบบได้ถึง 3.8 ล้าน หน่วย คิดเป็นเงินราว 5.8 ล้านบาทต่อปี อีกทั้งยังได้ปุ๋ยอินทรีย์กว่า 5.5 พันตันต่อปี คิดเป็นเงินร่วม 5.6 ล้านบาทต่อปี เป็นผลพลอยได้ด้วย
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีขยะมูลฝอยเกือบ 15 ล้านตันต่อปี กว่าครึ่งเป็นขยะอินทรีย์ นั่นหมายถึงศักยภาพที่จะผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า 1,000 ล้านหน่วยต่อปี สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ไม่ต่ำกว่า 3 พันล้านบาทต่อปี หรือเพียงพอสำหรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของจังหวัดเล็กๆ 4-5 จังหวัด ดังนั้น ขยะอินทรีย์จึงเรียกได้ว่าเป็นขุมพลังงานข้างบ้านที่ไม่อาจมองข้ามเลยทีเดียว
นอกจากขยะจะถือเป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่ช่วยลดโลกร้อน โดยใช้ทดแทนพลังงานจากฟอสซิล ซึ่งส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างมาก... ขยะยังเป็นพลังงานที่ช่วยทำให้สังคมสะอาดจากการกำจัดขยะและช่วยให้เกิดโลกสีเขียว จากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์
ไส้เดือนดิน...เครื่องจักรชีวะ ย่อยขยะเหม็นเป็น "ขยะหอม"

"โชคชัยสเต็คเฮาส์" ยิ่งเนืองแน่นไปด้วยลูกค้า ปริมาณเศษอาหารก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ปริมาณขยะอินทรีย์สูง สุดสูงกว่า 200 กก.ต่อวัน แม้จะเป็นตัวเลข ที่ดูเยอะ แต่ก็เหมือนจะไม่เพียงพอสำหรับการเป็นอาหารของไส้เดือนดินกว่า 80 กก. (1 กก. มีประมาณ 1-1.2 พันตัว) เครื่องจักรย่อยสลายขยะอินทรีย์ของที่นี่ ซึ่งช่วยให้ฟาร์มโชคชัยสามารถประหยัดค่ากำจัดขยะไปได้ไม่น้อย
ทั้งนี้ การใช้ไส้เดือนดินกำจัดขยะนับเป็นกระบวนการกำจัดขยะที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และยังเป็นการย่อยสลายทางชีวภาพที่เร็วและดีที่สุดในโลก
ว่ากันว่า มีการนำไส้เดือนดินมาใช้ในการกำจัดขยะอย่างเป็นทางการครั้งแรกในการจัดกีฬาโอลิมปิกที่ออสเตรเลีย เมื่อปี 2543 โดยใช้ไส้เดือนดินจำนวน 4 แสนตัว ในการกำจัดเศษอาหารมากถึง 75 กก.ต่อวัน
คุณูปการของไส้เดือนดินในการกำจัดขยะอินทรีย์มีอยู่มากมาย อาทิ เครื่องจักรชีวะตัวยาวนี้มีราคาไม่แพงแต่สามารถทำงานตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่มีการหยุดพัก และไม่มีกระบวนการใช้พลังงานเข้ามาเกี่ยวข้อง อีกทั้งยิ่งนานวันไส้เดือนดินก็เพิ่มจำนวนขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดขยะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งตรงข้ามกับการฝังกลบหรือเตาเผาที่นับวันประสิทธิภาพก็มีแต่จะลดลงเรื่อยๆ
นอกจากนี้ ไส้เดือนยังช่วยพลิกกลับดินทำให้แร่ธาตุในดินคลุกเคล้า การไชชอนของไส้เดือนยังช่วยทำลายชั้นดินทำให้ดินร่วนซุย และเมื่อไส้เดือนกินเศษอินทรียสารเข้าไปจะย่อยและขับถ่ายออกมากลายเป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพดี ช่วยให้ดินมีความสมบูรณ์กว่า ดินทั่วไป 5-10 เท่า
ทั้งนี้ ผลพลอยได้จากการย่อยสลายขยะของไส้เดือน ทั้ง "มูลไส้เดือน" ซึ่งเมื่อนำไปตากแห้งก็กลายเป็นปุ๋ยชีวภาพชั้นดี ตกราคา กก.ละเกือบร้อยบาท และ "น้ำหมักมูลไส้เดือน" ที่วิเศษนัก ทั้งรดต้นไม้ก็ให้ดอกผลงอกงาม ดับกลิ่นเหม็นเน่ากองขยะ หรือกลิ่นฉุนในห้องน้ำก็ได้ผล และบำบัดน้ำเสียตามท่อระบายน้ำก็ยังได้ สนนราคาขวด 750 CC ราคา 40 บาท ขณะที่ตัวไส้เดือนก็ขยายพันธุ์ง่ายแบ่งขายอาจได้ราคาดีถึง 400 บาทต่อ กก.
สำหรับฟาร์มโชคชัย ผลผลิตจากไส้เดือนดินเหล่านี้เกือบทั้งหมดถูกนำกลับมาใช้ปลูกต้นไม้จนเขียวขจีและออกดอกผล สวยงามไปทั้งฟาร์ม ซึ่งก็สามารถประหยัดค่าปุ๋ยได้มากถึงเดือนละหลายหมื่นบาท
ฟาร์มโชคชัยจะเปิดฟาร์มไส้เดือนดินเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ดูงานอีกจุด เพื่อส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวได้นำกลับไปประยุกต์ใช้ที่บ้าน ส่วนปุ๋ยมูลไส้เดือนและน้ำหมักมูลไส้เดือนก็จะกลายเป็นอีกผลิตภัณฑ์ของฟาร์มที่นักท่องเที่ยวจะได้ซื้อหากลับบ้านได้
ไม่ว่าจะเลือกใช้ "เครื่องจักรมีชีวิต" ใดในการย่อยสลายขยะอินทรีย์ สิ่งสำคัญและเป็นสิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ การคัดแยกขยะอินทรีย์กับขยะแห้งออกจากกัน และผลพลอยได้ทันทีจากการแยกขยะ นั่นก็คือการลดปริมาณขยะมูลฝอยที่จะถูกนำไป ฝังกลบ ก็จะช่วยให้บ่อฝังกลบเต็มช้าลง
ที่สำคัญ ลองคิดดูว่าหากคนไทยทุกคนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิธีคิดในการจัดการกับขยะอินทรีย์ ซึ่งมีสัดส่วนกว่าครึ่งของขยะเกือบ 15 ล้านตันต่อปีประเทศชาติจะประหยัดงบประมาณในการจัดการขยะได้มากเพียงใด นี่ยังไม่นับว่าเมืองไทยจะน่าอยู่เพิ่มขึ้นขนาดไหน... หากปริมาณขยะลดลงแต่กลับมีพื้นที่สีเขียวจากปุ๋ยหมัก และปุ๋ยชีวภาพเพิ่มขึ้นและใช้พลังงานฟอสซิลลดลง แต่ใช้พลังงานขยะซึ่งเป็นพลังงานทางเลือกที่สะอาดกันมากขึ้น  

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีการกำจัดขยะของชุมชนพบสุข

  วิธีการกำจัดขยะของชุมชนพบสุข 
   ลักษณะหมู่บ้านพบสุข หมู่ที่ 3 ต.บางตลาด ปากเกร็ด  จังหวัด นนทบุรี เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กประมาณ  250 หลังคาเรือน ประกอบด้วย บ้านหลังเดี่ยว, บ้านทาวน์เฮ้าส์ 1 ชั้น และ 2 ชั้น  ไม่มีอาคารพานิชย์   
 ด้วยขนาดที่ไม่เล็กและไม่ใหญ่เกินไป ทางเทศบาลจึงได้เลือกให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบนำร่อง โครงการกำจัดขยะชุมชน โดยเฉพาะขยะเปียก ที่เกิดจากเศษอาหารในครัวเรือน ซึ่งเป็นปัญหาหลักอันดับต้นๆในหลายท้องที่  หากมีการจัดการที่ไม่ดีก็จะส่งผลกระทบหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะอาด,สุขอนามัย,มลภาวะในหลายๆด้าน,สิ่งแวดล้อม,งบประมาณหรือแม้กระทั่งภาพลักษณ์,ภาพพจน์ของชุมชนหรือของชาติด้วย
  โครงการได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น สร้างโรงเก็บและกำจัดขยะให้ ช่วงแรกชาวชุมชนไม่เห็นด้วยเท่าไหร่นัก เนื่องจากยังไม่เชื่อว่าจะทำได้ผลหรืออาจทำไปสักระยะก็อาจเลิกรา กลายเป็นสุสานขยะไป แต่เมื่อมีการประชาสัมพันธ์,ให้ความรู้ถึงประโยชน์ที่จะได้รับกลับคืนในระยะยาวแล้ว จึงยอมรับได้ในระดับหนึ่ง  และเริ่มดำเนินการด้วยคณะเจ้าหน้าที่ทางราชการและคณะกรรมการของชุมชนเองที่มีการจัดตั้ง,แต่งตั้งเพื่อให้ส่วนร่วมกับโครงการ  ด้วยความร่วมมือของชาวชุมชนที่เห็นด้วยในจำนวนน้อย  ทางโครงการจึงได้เร่งประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม,มลภาวะ,ขยะ,การคัดแยก,จำแนกขยะ,การใช้ประโยชน์จากขยะและการรีไซเคิลขยะ จนมีความเข้าใจได้รับความร่วมมือดีขึ้นเป็นลำดับ


  การดำเนินงานที่ปฏิบัติจนได้ผล เริ่มด้วยขั้นตอนคร่าวๆดังนี้
รถเก็บขยะเปียก
1.ช่วงเช้า ทุกวันเวลาประมาณ  8.00-9.00น.จะนำรถ ไปเก็บขยะเปียก(เฉพาะเศษอาหารเท่านั้น)จากถังขยะเศษอาหารที่จัดไว้ให้ ตามบ้านที่ให้ความร่วมมือ(ประมาณ 75%ของชุมชน)
ส่วนผสม


2.นำขยะเปียกไปผสมหรือหมักกับหัวเชื้อ อีเอ็ม,น้ำ,กากน้ำตาลเพื่อหมักให้ได้น้ำหมักชีวภาพ ไปใช้ประโยชน์ต่อไปหรือ
ถังหมัก อีเอ็ม
เศษพืชนำไปย่อยเป็นส่วนผสม


3.นำขยะเปียกไปผสมกับเศษพืชหรือใบไม้ย่อย,รำ,แกลบ,อีเอ็มและส่วนผสมอย่างอื่นให้ได้ตามอัตราส่วน เพื่อทำปุ๋ยหมัก
สายพานลำเลียงส่วนผสมเข้าถังหมัก


4.นำส่วนผสมที่ได้ตามอัตราส่วนแล้วเข้าถังหมัก ด้วยสายพานลำเลียงและปิดฝา
5. ตั้งเวลาเกลี่ยอัตโนมัติด้วยระบบหมุนเป็นระยะๆด้วยถังหมัก หมักประมาณ 7 วัน
ถังหมักตั้งเวลาอัตโนมัติ
ตู้อบอุณภูมิต่ำ
ถาดอบส่วนผสม


6.นำส่วนผสมที่ได้ ใส่ถาดอบไปอบที่ตู้อบอุณหภูมิต่ำ (ไม่เกิน 60 องศา เซลเซียส  หากอุณหภูมิสูงกว่านี้ เชื้อจุลินทรีย์จะตาย ปุ๋ยที่ได้จะไม่มีคุณภาพ) จนส่วน ผสมที่ได้  แห้งสนิท ก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ 100%คุณภาพสูง 
ผลิตภัณฑ์จาก อีเอ็ม


  การปฏิบัติงานหรือวัฐจักรก็จะเป็นแบบนี้ตลอด บางท่านมองเห็นเป็นโอกาสที่ดี นำไปปฎิบัติอย่างจริงจังจะได้ประโยชน์อย่างสูงยิ่งจากโครงการนี้ มีหลายท่านมาดูงานแล้วก็ต่อยอดความคิด กลับไปทำปุ๋ยหมักขายดิบขายดีจนผลิตไม่ทัน(ได้กำไรสูง เพราะต้นทุนต่ำ)  หากท่านใดมีความสนใจเป็นพิเศษอยากจะศึกษาดูงานเป็นหมู่คณะก็สามารถติดต่อได้ที่เทศบาลนครปากเกร็ด นนทบุรี หรืออาจเยี่ยมชมได้ที่  ศูนย์เรียนรู้ดูงาน http://pobsook.com/

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

แนวทางการทำไร่นาสวนผสมตามแนวพระราชดำริ

แนวทางการทำไร่นาสวนผสมตามแนวพระราชดำริ
เน้นหาข้าวหาปลาก่อนหาเงินหาทอง คือ ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย

โดยการส่งเสริม :
1.    การทำไร่นาสวนผสมและเกษตรผสมสาน เพื่อความหลายกิจกรรมทั้งการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์และ  ประมง แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งปลูกข้าว ซึ่งเป็นพืชอาหารหลักของคนไทย
2.    การปลูกไม้ผลสวนหลังบ้าน และไม้ใช้สอยในครัวเรือน
3.    การปลูกพืชสมุนไพรช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย
4.    การปลูกพืชผักสวนครัวลดค่าใช้จ่าย
5.    การปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงามพักผ่อนจิตใจและเสริมรายได้
6.    การเลี้ยงปลาในร่องสวน ในนาข้าว และแหล่งน้ำ เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริม 
7.    การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และเป็ดประมาณ  10 – 15  ตัว / ครัวเรือน เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือนโดยใช้เศษอาหาร รำ และปลายข้าว จากผลผลิตการทำนา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูกพืชไร่ เป็นต้น
8.    การเพาะเห็ดจากวัสดุเหลือใช้ในฟาร์ม
9.    การทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และใช้วัสดุเหลือใช้เป็นปัจจัยการผลิต (ปุ๋ย) เพื่อลดต้นทุนการผลิต และปรับปรุงบำรุงดินพร้อมทั้งรักษาสมดุลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผลิตพืชผักให้ปลอดภัยจากสารพิษ
    จากกระแสความต้องการของตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปโดยหันมาให้ความสนใจกับสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ทีการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษ กรมส่งเสริมการเกษตรได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้มีการรณรงค์ ให้เกษตรกรผลิตพืช อาหารต่างๆ ให้ปลอดภัยจากสารพิษอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ
    การผลิตพืชผักให้ปลอดภัยจากสารพิษ  มีหลายทางเลือกให้ดำเนินการดังนี้
    การผลิตพืชผักปลอดสารพิษ คือ การผลิตพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เช่น การผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ หรือ การผลิตแบบเกษตรธรรมชาติ ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นขั้นสุดยอดของระบบเกษตรที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการจัดระบบการปลูกพืชให้สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ
    การผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ คือ การผลิตพืชผักที่มีการใช้สารเคมีเท่าที่จำเป็น ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารพิษตกค้างแต่ไม่เกินปริมาณค่าความปลอดภัย MRL (Maximum Residue Limit) ซึ่งมีหลายวิธีดังนี้
    การผลิตโดยใช้หลักการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน  (IPM) โดยนำหลักการควบคุมศัตรูพืชต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ของศัตรูพืชเพื่ออยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตและทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และสภาพแวดล้อม
    การผลิตพืชผักอนามัย  คือการผลิตพืชผักที่มีการใช้สารเคมีแต่ไม่เกินปริมาณค่า MRL ผลผลิตมีความสะอาดซึ่งผ่านกรรมวิธีการปฏิบัติก่อนและหลังเก็บเกี่ยวตลอดจนการขนส่งและการบรรจุหีบห่อได้คุณภาพมาตรฐาน

เศรษฐกิจพอเพียง


ภาพจาก http://edu.vru.ac.th/sufficiency/

เศรษฐกิจพอเพียง
“….คำว่าพอเพียง
มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีก
ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้ของท่านนั้น
แต่มีความหมายว่าพอมีพอกิน…..
พอมีพอกินนี้ ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง….”
“….พอเพียงนี้ก็หมายความว่า
มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ
แม้บางอย่างอาจดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข
ถ้าทำได้ ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ….”
“….Self – Sufficiency
นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้
ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง
….”
“….คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย
เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย
ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ
มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง
หมายความว่า พอประมาณไม่สูงโต่ง ไม่โลภอย่างมาก
คนเราก็อยู่เป็นสุข….”

……………………………………………………………………….
พระราชดำรัส  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  พระราชทานเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ  ศาลาดุสิดาลัย  สวนจิตรลดา  พระราชวังดุสิต
เมื่อวันที่  4  ธันวาคม  2541