โรงแรมคำแสดฯ มี 120 ห้องพัก มีขยะเปียกและเศษอาหารจากการจัดเลี้ยงและประกอบอาหาร 220 - 350 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งในอดีตของเสียเหล่านี้ถือเป็นภาระที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัด หลังจากได้สร้างระบบก๊าซชีวภาพแบบถังลอยกวนผสม ขนาด 80 ลบ.ม. เพื่อรองรับของเสียประเภทขยะเศษอาหาร สามารถส่งก๊าซชีวภาพผ่านท่อไปใช้ทดแทนก๊าซหุงต้มในครัวปรุงอาหาร สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงได้ถึงวันละ 680 บาท/วัน หรือปีละประมาณ 250,000 บาท นอกจากนี้กากเศษอาหารในถังหมักยังกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งนำมาใช้ในแปลงเพาะปลูกหรือพื้นที่สีเขียว
คำแสดรีสอร์ท |
ขยะเป็นตัวการสำคัญหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อปัญหามลภาวะเป็นพิษ การทับถมกันของมูลฝอยต่างๆ จะปล่อยก๊าชมีเทน ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ ที่จะขึ้นไปทำลายชั้นบรรยากาศ มนุษย์เป็นต้นเหตุหลักอย่างไม่อาจปฏิเสธ เพราะกิจกรรมส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันของเรา เกี่ยวโยงอยู่กับการใช้พลังงานทั้งสิ้น เริ่มตั้งแต่ผลิต กระทั่งสินค้า (วัตถุ) กลายมาเป็นขยะ
การจัดการขยะอย่างถูกวิธี จึงเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยยืดอายุโลกใบนี้ และหากสามารถเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานทดแทนได้ ก็คงเป็นเรื่องดีไม่น้อย เพราะประมาณการกันว่าหากวิถีชีวิตมนุษย์ยังเป็นแบบในปัจจุบันนี้ พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมัน, ก๊าชธรรมชาติ, ถ่านหิน) จะหมดไปจากโลกในอีกไม่เกิน 50 ปีข้างหน้า
คำแสดรีสอร์ท |
"ตุลย์ บุนนาค" ผู้จัดการทั่วไปของ คำแสด ริเวอร์แคว รีสอร์ท เล่าถึงวิธีการจัดการขยะของที่นี้ให้ฟังว่า ขั้นแรกจะมีการแยกขยะก่อน โดยแบ่งเป็นขยะแห้ง ขยะสด และขยะเปียก จากนั้นก็ดูว่าขยะแต่ละประเภทจะนำไปทำอะไรได้บ้าง
ขยะแห้ง เช่น ขวดน้ำมันพืช ปี๊บน้ำตาล เศษสังกะสี ถุงพลาสติค ฯลฯ ทำการคัดไว้เพื่อจำหน่าย เพราะสามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้ สำหรับขยะสด เช่น ใบไม้ กิ่งไม้เล็กๆ จะนำไปทำเป็นปุ๋ยพืชสด ดอกไม้ที่ร่วง นำไปทำสบู่เหลว หรือแชมพู กิ่งไม้ใหญ่ๆ ใช้เผาถ่าน ได้น้ำส้มควันไม้ที่มีฤทธิ์ไล่แมลงและสำหรับขยะเปียก เช่น เศษอาหารต่างๆ สามารถนำไปผลิตเป็นก๊าซชีวภาพได้
เริ่มจากการลองผิดลองถูก สะเปะสะปะมาเรื่อย เมื่อก่อนต้องเสียค่าทิ้งขยะเดือนละ 17,000 บาท เพื่อขนขยะไปฝังกลบข้างนอก เสียทั้งเงิน และก็ทำให้ดินที่เอาขยะไปทิ้งเสียหาย ทำให้มาเริ่มคิดแล้วว่าน่าจะมีวิธีการจัดการขยะแบบใหม่ ก็เลยตั้งโรงคัดแยกขยะขึ้นมา
บ่อหมักแก๊สชีวภาพคำแสดรีสอร์ท |
ถังหมักและถังเก็บก๊าซขนาด 8000 ลิตร
ที่ มาของการคิดเรื่องนี้เกิดจากท่านกรรมการผู้จัดการของเรา คือ "ลัดดาวัลย์ เผ่าวิบูลย์" ให้แนวคิดตอนที่เรามีวิกฤตหลายครั้งที่ผ่านมาว่า เราจำเป็นต้องใช้ของอย่างคุ้มค่า จึงเริ่มหาความรู้เรื่องนี้ กระทั่งได้พบกับ "อาจารย์บุญมา ป้านประดิฐ" แห่งศูนย์วิศวกรรมพลังงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ท่านทำงานด้านนี้และได้กรุณาให้คำแนะนำ ให้ความรู้ เราได้นำมาปฏิบัติและพัฒนาต่อ อาจารย์ท่านก็คอยให้คำปรึกษาและดูแลเรามาจนถึงทุกวันนี้ในส่วนของการผลิตก๊าซชีวภาพ ซึ่งให้ความร้อนสำหรับการหุงต้ม นอกจากจะมีการจัดการอย่างเป็นระบบใหญ่ของทางรีสอร์ทแล้ว ตามบ้านพักของพนักงานทุกคนก็จะมีถังขนาดเล็ก เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับใช้หุงต้มในครัวเรือนด้วยเช่นกัน
การผลิต ก๊าซชีวภาพจะใช้ขยะอินทรีย์เป็นอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ เช่น เศษอาหารที่เหลือจากการบริการลูกค้า ขยะอินทรีย์ที่เหลือจากการทำอาหาร ขยะที่เหลือในแปลงเกษตร โดยจะทำการบดละเอียดเสียก่อนเพื่อจะให้จุลลินทรีย์ย่อยสลายได้ง่ายขึ้น จากนั้นนำใส่ลงในบ่อหมัก เพื่อให้เกิดขบวนการย่อยสลายเกิดก๊าชชีวภาพต่อไป
ขบวนการเกิดก๊าซชีวภาพในบ่อหมักจะมีด้วยกัน 3 ขั้นตอนหลักคือ
1.การ ย่อยสลายอินทรีย์สาร (Hydrolysis) อินทรีย์สารเป็นส่วนประกอบในพืชและสัตว์ ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ซึ่งมีโมเลกุลขนาดใหญ่ จุลินทรีย์จะทำการย่อยอินทรีย์สารนี้ให้มีขนาดเล็กลง ในขบวนการย่อยสลายนี้ จุลลินทรีย์จะปลดปล่อยเอ็นไซม์เปลี่ยนอินทรีย์สารต่างๆ ไปเป็น กลูโคส กรดอะมิโน กลีเซอรอล และกรดไขมัน โดยจะได้ในรูปของสารละลาย
2.การ เกิดกรด (Acidification) สารละลายในขั้นตอนแรกจะถูกหมักต่อไปในสภาพไร้อากาศโดยจุลลินทรีย์ที่ไม่ต้อง การอากาศในการดำรงชีพ จุลินทรีย์เหล่านี้จะย่อยสารละลายให้เป็นกรดน้ำส้ม แอลกอฮอล์ ไฮโดเจน คาร์บอนไดออกไซด์
3.การ เกิดก๊าซมีเทน (Methanization) กรดน้ำส้ม แอลกอฮอล์และคาร์บอนไดออกไซด์ จะถูกจุลลินทรีย์ในกลุ่มที่ชื่อเมทาโนจีนิค (Methanoginic) หรือเมทาโนเจน (Methanogen) ย่อยสลายในสภาพไม่มีอากาศเกิดเป็นก๊าซมีเทนขึ้น โดยก๊าซจะไหลเข้าถังเก็บ (อีกถัง) ซึ่งเป็นถังลอยเพื่อรอการสูบส่งไปใช้
"การใช้งานก๊าชชีวภาพ เรานำมาใช้ทดแทนก๊าชหุงต้มในครัว จากการเก็บตัวเลข สามารถทดแทนก๊าชหุงต้มได้ประมาณ 40% จากที่เคยจ่าย สืบเนื่องจากเรามีขยะที่ใส่ลงไปคิดเป็นอัตราที่ต้องใส่ทั้งหมดได้ประมาณ 35% เท่านั้น ทั้งที่ถังผลิตก๊าซชีวภาพสามารถใส่ขยะได้ประมาณ 1,000 กก./วัน แต่ตอนนี้เราใส่แค่ 350 กก./วัน เพราะหาขยะไม่ได้" ผู้จัดการทั่วไปท่านนี้เปิดเผยข้อมูล
และบอกว่าก๊าซชีวภาพที่ได้ ทางคำแสด ริเวอร์แคว รีสอร์ท จะนำไปใช้ในครัวที่มีอยู่ 4 ครัว โดยได้พัฒนาเตาให้เหมาะกับการใช้ก๊าซชีวภาพและสามารถใช้ก๊าชแอลพีจี (LPG) ร่วมด้วยได้
สำหรับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตก๊าชชีวภาพ ประกอบด้วย เครื่องบดย่อย, ถังหมักขนาด 8,000 ลิตร, ถังเก็บก๊าซขนาด 8,000 ลิตร, อุปกรณ์ปั๊มลม, ถังเก็บแรงดันทนแรงดันได้ 10 บาร์, อุปกรณ์สำหรับกรองก๊าซ, ท่อส่งก๊าซ, หัวเตาที่ใช้กับก๊าซชีวภาพ
ใน การนำก๊าซมีเทนไปใช้ ขั้นแรกจะมีการสูบเข้าเก็บในถังอีกลูกหนึ่งที่สามารถทนแรงดันได้มากกว่า 4 บาร์ ซึ่งจะทำให้ก๊าซมีแรงดันมากพอที่จะส่งไปตามท่อไกลๆ ได้ แต่ก่อนที่จะนำไปใช้ จะมีการปล่อยก๊าซผ่านชุดกรองกำจัดกลิ่น กำจัดก๊าซบางตัวที่ไม่ต้องการ เช่น ก๊าซไข่เน่า เป็นต้น
ทำให้ก๊าซที่ผ่านชุดกรองจะสามารถจุดติดไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ คำแสด ริเวอร์แคว รีสอร์ท ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ ก็ด้วยความร่วมมือของพนักงานทุกคน
"เราไม่ได้ทำธุรกิจเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงตัวเรา แต่เราเอารายได้เลี้ยงธุรกิจ พนักงานทุกคนมีข้าวกินครบ 3 มื้อ..."
ประโยค ข้างต้นคือสิ่งที่กรรมการผู้จัดการของที่นี่บอกตั้งแต่ต้นเกี่ยวกับธุรกิจ และความเป็นอยู่ของพนักงานทุกคน ก็เป็นสิ่งยืนยันที่ท่านพูดได้ดี เพราะแม้เงินเดือนจะไม่สูงมาก แต่ทุกคนก็อยู่อย่างพอเพียง มีความสุข
คำแสดรีสอร์ท |
ไม่นาน มานี้ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนกท่านหนึ่งเคยมาพักผ่อนที่รีสอร์ท จากการเดินดูรอบบริเวณอย่างคร่าวๆ เขาก็กล้ายืนยันว่าที่นี่มีนกไม่ต่ำกว่า 50 ชนิด
"น่าจะจัดกิจกรรมดูนกด้วย" ลูกค้าหลายคนที่มาพักเคยเสนอแนะ
อาจ เก็บไว้พิจารณาสำหรับข้อเสนอของลูกค้า แต่สำหรับเรื่องพลังงานทดแทนกู้วิกฤตโลกร้อน ตอนนี้ทางคำแสด ริเวอร์แคว รีสอร์ท กำลังศึกษาเรื่องพลังงานทดแทนจากแหล่งอื่นเพิ่มเติม
"อนาคต คำแสดจะให้ความสำคัญในเรื่องของการใช้พลังงานทดแทนเป็นอันดับต้นๆ โครงการก๊าซชีวภาพเราก็ยังพัฒนาต่อไป เรามีโครงการสูบน้ำด้วยพลังน้ำ (กังหันน้ำ) ซึ่งเรากำลังจะนำเครื่องลงน้ำ ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ ทำไบโอดีเซล เป็นต้น เรื่องพวกนี้เรามีผู้รับผิดชอบโดยตรง"
ขอบคุณ; http://www.greenenergynet.net,http://www.deqp.go.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น