วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

โครงการปกป้องสภาพภูมิอากาศในภาคการท่องเที่ยว แผน 3 ปี

โครงการปกป้องสภาพภูมิอากาศในภาคการท่องเที่ยว แผน 3 ปี (2552-2554) โดยหวังผลให้ หมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยงจังหวัดตราด เป็นพื้นที่ต้นแบบนำร่อง "การจัดการ ท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสภาพอากาศ" หรือ Climate Triendly Tourism เพื่อสร้าง จุดแข็งเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดท่องเที่ยวระดับนานาชาติ ซึ่งแนวโน้มนักท่องเที่ยวหันมาให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยการลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อลดภาวะโลกร้อน
การจัดการ ท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสภาพอากาศ

โครงการนี้มีองค์กรสนับสนุนทั้งเงินทุนและวิชาการ คือ สำนักงานความร่วมมือทางวิชาการของเยอรมัน (GTZ) และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) จังหวัดตราด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตราด โดยมีชุมชน โรงแรม ธุรกิจการท่องเที่ยวบน เกาะช้าง และพื้นที่ชายฝั่งทะเลตราด ร่วมขับเคลื่อนอีกแรง
ขณะนี้มีชุมชนและโรงแรมบนเกาะช้าง ตื่นตัวด้านมาตรฐานสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมโครงการกว่า 10 แห่ง โดยชุมชนมีการนำองค์ความรู้ผสมผสานภูมิปัญญา ท้องถิ่นจัดกิจกรรมท่องเที่ยวด้วยเรือมาด เรือคยัก ช่วยลดปริมาณคาร์บอน การทำบอลจุลินทรีย์บำบัดน้ำเค็ม การทำปุ๋ยชีวมวล ส่วนเจ้าของธุรกิจการท่องเที่ยวอย่างบ้านช้างไทย มีการลดปริมาณขยะ การทำปุ๋ยอินทรีย์ การประหยัดพลังงานไฟฟ้า ซึ่งช่วยลดต้นทุนได้อย่างชัดเจน

หมู่เกาะช้างปล่อยคาร์บอน 19.74 ก.ก./คน/วัน

 ผู้จัดการโครงการการท่องเที่ยวและการปกป้องสภาพภูมิอากาศ GTZ เปิดเผยถึงผลการศึกษาปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอน (carbon foot print label) จากสถานบริการร้านค้า โรงแรม รีสอร์ต โฮมสเตย์ ร้านอาหาร การขนส่ง ผู้ประกอบการ ฯลฯ พื้นที่หมู่เกาะช้างพบว่ามีค่าคาร์บอนฟุตพรินต์ 47,35 ตัน/ปี หรือ 0.2% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย หรือเฉลี่ยนักท่องเที่ยว 19.74 กิโลกรัม/คน/วัน ขณะที่ในประเทศไทยเฉลี่ย 11 กิโลกรัม/คน/วัน

โดยเกาะช้างปล่อยก๊าซ 2,440 ตัน/เดือน เกาะกูด 548 ตัน/เดือน เกาะหมาก 477 ตัน/เดือน และชายฝั่ง 132 ตัน/เดือน ผลการปลดปล่อยคาร์บอนคาดว่าจะทำให้อุณหภูมิในพื้นที่หมู่เกาะช้างจะเพิ่มสูง ขึ้น 4 องศาเซลเซียส และปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นประมาณ 30% ซึ่งเสี่ยงกับปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 1 เมตร ส่งผลให้ชายฝั่งถูกทำลายและ สูญเสียแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญไปภาวการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง

อย่าง ไรก็ตาม ก่อนนี้การท่องเที่ยวจังหวัดตราดก็มีการลดปริมาณคาร์บอนอยู่แล้ว เช่น การให้บริการท่าเรือเฟอร์รี่เกาะช้างเซ็นเตอร์พอยต์ มีการใช้ก๊าซ NGV แทนน้ำมันดีเซล การเข้าร่วมเป็นสมาชิกโรงแรมใบไม้เขียว และตอนนี้มีโรงแรม รีสอร์ต ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเข้าร่วมโครงการ Climate Friendly Tourism กว่า 10 แห่ง แนวปฏิบัติต้องมีมาตรฐาน สิ่งแวดล้อม 7 Greens โรงแรมใบไม้เขียว ซึ่งทำให้โครงการนี้ต่อเนื่องได้ดี ทั้งวิธีการคัดแยกขยะ การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์ในชุมชน หรือการจัดเมนูอาหารท้องถิ่นโดยไม่ต้องขนส่งวัตถุดิบมาจากที่อื่น การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าโดยนำกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้งการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวทางธรรมชาติสอดคล้องกับวิถีชีวิต

เล็งเสนอขายงาน ITB Berlin 2011

การ ร่วมแรงร่วมใจของชาวตราดและภาคธุรกิจในการจัดการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับ สภาพอากาศ นอกจากช่วยลดภาวะโลกร้อนและทำให้การท่องเที่ยวยั่งยืนแล้ว ในเชิงธุรกิจคือการเพิ่มโอกาสทางการตลาดใหม่ในเวทีโลกท่ามกลางกระแสความ ห่วงใยโลกใบนี้
 ภายในปี 2554 จะมีโรงแรมที่เข้าโครงการ Climate Friendly Tourism และนำเสนอต่อตลาดท่องเที่ยวนานาชาติในงาน ITB Berlin 2011 จำนวน 3-4 แห่ง ซึ่งเป็นโรงแรมบนเกาะช้างเกือบทั้งหมด และเป็นโรงแรมที่เข้ารับการขอรับการประเมินโรงแรมจากมูลนิธิใบไม้เขียว 7 Greens โดยยึดหลักการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เกิดผลกำไร หลักการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ โรงแรมอัยยะปุระ รีสอร์ทแอนด์สปา มีวิธีการจัดการลดพลังงาน การปลูกผักออร์แกนิก โรงแรมทรอปิกกาน่า โรงแรมดุสิตปริ๊นเซส และโรงแรมปานวิมาน ที่ประกาศเป็นเขต non smoking!

ส่วนในพื้นที่ฝั่งจังหวัดตราดมีแห่งเดียว คือ โรงแรมบ้านปูรีสอร์ท มีการจัดเมนูอาหารท้องถิ่น การนำผ้าปูที่นอนมารียูสใหม่แทนการใช้กระดาษทิสชู

"หากโรงแรมในหมู่ เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง ได้รับการยอมรับเป็นโรงแรมสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในตลาด ท่องเที่ยวระดับโลก ต่อไปจะขยายผลโรงแรมในภาคตะวันออกเป็น green east coast ซึ่งผู้ประกอบการรายใดมีความพร้อมก็สามารถทำได้เลย เพราะอนาคตภาคตะวันออกจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของยุโรป และสแกนดิเนเวีย ถือเป็นโอกาสของการท่องเที่ยวไทยเพราะขณะนี้ในแถบเอเชียยังไม่มีใครทำ"


นี่ คือเทรนด์การท่องเที่ยวของโลกที่กำลังจะเกิดขึ้นท่ามกลางการแข่งขันที่ รุนแรง ซึ่งประเทศที่พึ่งพารายได้หลัก จากการท่องเที่ยวต้องเร่งปรับตัว

 ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 06 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4242  หน้า 24   โดย กาญจนา จินตกานนท์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น