วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

โบกาฉิ (Bokashi) เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่า การหมัก (Compost) ที่จำเป็นต้องเรียกว่า “โบกาฉิ” เนื่องจากผู้คิดค้นทำอีเอ็มน้ำให้เป็นอีเอ็มแห้งในรูปจุลินทรีย์แห้งคือคนแรกคือ ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ ปัจจุบันมีการใช้อีเอ็มอย่างหลากหลายทั่วโลกประมาณ 180 ประเทศ ผู้ใช้จากทั่วโลกจึงมีความยินดีเรียก โบกาฉิตามศัพท์เดิมที่มาจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการเข้าใจตรงกันว่าเป็นการทำปุ๋ยหมักด้วยอินทรียวัตถุ ที่หมักด้วยจุลินทรีย์อีเอ็มเท่านั้น ปัจจุบันได้มีการเรียกโบกาฉิในรูปของปุ๋ยชีวภาพต่างๆ ตามแต่ละท้องที่หรือผู้ส่งเสริมเผยแพร่จะเรียก ชื่อ

     โบกาฉิ เป็นการเพาะเลี้ยงจากจุลินทรีย์อีเอ็มที่เป็นน้ำให้เป็นอีเอ็มแห้ง ซึ่งมีวัสดุ เช่น รำข้าว มูลสัตว์ และแกลบ เมื่อการเพาะเลี้ยงเสร็จสมบูรณ์ภายใน 5-7 วัน จุลินทรีย์อีเอ็มจะเพิ่มจำนวนประชากรขึ้นเป็นจำนวนมาก แล้วนำไปเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น จุลินทรีย์อีเอ็มจึงอยู่ในรูปอีเอ็มแห้ง เมื่อเป็นอีเอ็มแห้งแล้ว จะมีอายุการเก็บรักษาได้อย่างยาวนานขึ้น เมื่อนำไปใช้ในด้านการปลูกพืช การประมง การรักษาสิ่งแวดล้อมจึงสามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากและยังมีคุณสมบัติเหมือน จุลินทรีย์อีเอ็มน้ำทุกประการ

ส่วนผสม
   มูลสัตว์ 1 กระสอบปุ๋ย
    แกลบดิบ 1 กระสอบปุ๋ย
    รำ 1 ปิ๊ป
    EM 2 ช้อนโต๊ะ
    กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีการผลิต อีเอ็มแห้ง หรือ โบกาฉิ
    ผสมมูลสัตว์ กับแกลบก่อน แล้วค่อยผสมรำเข้าไป
    ผสม EM กับการน้ำตาล แล้วรดส่วนผสมที่จะทำโบกาฉิเลย
    ให้ความชื้นประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์
    บรรจุส่วนผสมทั้งหมดลงกระสอบปุ๋ย
    ในช่วง 1-4 วันแรก หมั่นกลับกระสอบเพื่อระบายความร้อนที่เกิดขึ้น
    หลังวันที่ 4 เป็นต้นมา จะเริ่มแห้งและเย็นลง จึงสามารถนำไปใช้ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น