วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์รีไซเคิลขยะชุมชนหมู่บ้านพบสุข

พื้นที่ตั้งศูนย์รีไซเคิลชุมชนพบสุข
 ตั้งอยู่บริเวณพื้นสาธารณะหน้าหมู่บ้านพบสุข ต.บางตลาด อ.ปากเก็ด จ.นนทบุรี มีบ้านเรือน 247 ครัวเรือน ประชากร 1,247 คน ศูนย์แห่งนี้มีพื้นที่ 275 ตารางเมตร ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2546 ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และเทศบาลนครปาเกร็ดได้ให้การสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม แต่เดิมทีทางศูนย์ประสบปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นและแมลงวันรวมถึงขบวนการหมักขยะเปียกไม่ได้ผลเท่าที่ควร ต่อมาทางคณะทำงานศูนย์ได้มีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยี EM มาใช้ในการหมักย่อยขณะเปียกโดยมีวิทยากรจากมูลนิธิเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาให้การเรียนรู้และอบรมกับเจ้าหน้าที่และเยาวชน จึงทำให้การแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นหมดไป ตลอดจนได้น้ำจุลินทรีย์หมักจากขยะเปียกและได้ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ชีวภาพที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพอย่างยิ่ง


ต้นแบบกระบวนการสร้างองค์ความรู้ปลูกจิตสำนึกให้ลงรากลึกสู่ชุมชน
กระบวนการปลูกจิตสำนึกเริ่มต้นจากก้าวเล็กๆ เดินหน้าอย่างมั่นคง ปัญหาข้างหน้ารอการแก้ไขได้กลายเป็นประสบการณ์ สั่งสมในรูปแบบองค์ความรู้ ขยายผลสู่สังคมภายนอก คำจำความแห่งความสำเร็จของคนในชุมชนหมู่บ้านพบสุข ที่เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาขยะในชุมชน ประสานความร่วมมือกับองค์กรภายนอกจนกลายเป็นชุมชนต้นแบบด้านการรีไซเคิลขยะอย่างเป็นระบบ
จุดเริ่มต้น
  ช่วงปลายปี 2546 คณะกรรมการชุมชนหมู่บ้านพบสุข ได้ริเริมโครงการนำร่อง "ศูนย์รีไซเคิลขยะชุมชนหมู่บ้านพบสุข" ขึ้น โดยได้รับความร่วมมือทั้งจากเทศบาลนครปากเกร็ด รัฐบาลญี่ปุ่น และมูลนิธิ JICA โดยมีวัตถุประสงค์ในการปรับเปลี่ยนขยะไร้ค่าให้เกิดประโยชน์ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

   แรกเริ่มโครงการดังกล่าว ใช้วิธีการของญี่ปุ่น ที่มีจุดอ่อนคือ ปุ๋ยที่ได้มีความชื้นสูง และมีกลิ่นรุนแรง ซึ่งหลังจากที่ดำเนินโครงการได้ประมาณ 2 ปี ทางกลุ่มจึงได้ตัดสินใจใช้วิธีการในการนำจุลินทรีย์ น้ำ EM ซึ่งได้จากการเรียนรู้ ศึกษาเพิ่มเติมจากศูนย์เกษตรคิวเซสระบุรีทำให้สามารถลดปัญหาของกลิ่นเหม็น จากนั้นจึงดำเนินการควบคู่ไปด้วย

   เมื่อประสบความสำเร็จในขั้นแรก ได้ขยายผลสู่ภาคชุมชน โดยเริ่มแนะนำวิธีการในการคัดแยกขยะรีไซเคิล ขยะชีวภาพ และขยะที่มีพิษออกจากกัน และที่สำคัญคือการนำผลที่ได้จากกระบวนการแปรสภาพขยะ คือปุ๋ยหมัก และน้ำ EM แจกจ่ายให้สมาชิกในชุมชนได้ทดลองใช้จริง รวมทั้งการผลักดันให้ศูนย์ฯ เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ผ่านการส่งเสริมความรู้กระบวนการขั้นตอนการดำเนินงานเมื่อเกิดผลลัพธ์ที่ดีความร่วมมือก็เพิ่มขึ้น

   จากความสำเร็จในปัจจุบัน ได้กลายเป็นแรงผลักดันให้ก้าวสู่การเรียนรู้ด้านการรีไซเคิลขยะอย่างเต็มตัว และเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของโครงการดีๆ ที่เกิดจากความร่วมมือของสมาชิกในชุมชน ด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม อันเป็นภาระความรับผิดชอบโดยตรงของทุกคน ที่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเข้าใจและเห็นประโยชน์



  
การทำปุ๋ยชีวภาพจากขยะเปียก ที่เก็บมาจากชุมชน



วิธีทำ
1. นำขยะเปียกผสมกับจุลินทรีย์แห้ง คลุกเคล้าให้เข้ากัน (อัตราส่าน ขยะเปียก 1 กิโลกรัม/จุลินทรีย์แห้ง 1 กำมือ)
2. นำขยะเปียกที่คลุกจุลินทรีย์แห้ง แล้วตักใส่ถุงตาข่ายและนำไปใส่ถังหมัก ปิดฝาถังให้สนิท
3. หมัก 7 วัน นำน้ำหมักที่ได้มาใช้ประโยชน์ ดังนี้
- น้ำขยะหมัก 10 ซีซี ผสมน้ำ 500-1,000 เท่า รดพืชผัก เจริญเติบโตดี ดอกผลดก
- ขัดพื้นห้องน้ำ ขจัดกลิ่น ป้องกันส้วมเต็ม
- กากของขยะหมักนำไหผสมกับเศษไม้ใบไม้จากชุมชนที่ย่อยแล้วโดยมีความชื้นที่ 60% นำใส่ ROTARY DRUM ประมาณ 7-15 วันจะได้ผลผลิตที่เป็นปุ๋ยจุลินทรีย์ชีวภาพที่มีคุณภาพ






การทำจุลินทรีย์แห้ง
ส่วนผสม


1. ปุ๋ยชีวภาพจากขยะเปียก     50 ก.ก.
2. แกลบดิบ                       40 ก.ก.
3. รำละเอียด                     40 ก.ก .            
4. EM หัวเชื้อ                      1 ลิตร
5. กากน้ำตาล                      1 ลิตร      
6. น้ำสะอาด                      60 ลิตร  
วิธีทำ
- น้ำแกลบดิบผสมปุ๋ยขยะเปียก
- ผสม EM 1+ กากน้ำตาล+ น้ำ นำมารดแกลบ ดินที่ผสมกับปุ๋ยขยะเปียกไว้ คลุกเคล้าให้เข้ากันให้มีความชื้น 50%
- นำรำละเอียดผสมกับแกลบดิบ และปุ๋ยขยะเปียก
- นำส่วนผสมทั้งหมดมาหมักกองกับพื้นหนาประมาณ 15-20 ซม. คลุมด้วยกระสอบเปล่าหมักไว้ 7 วัน
กลับกองปุ๋ยทุกวัน ใช้เป็นหัวหมักเศษอาหาร ใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดิน ปรับสภาพน้ำเน่าขจัดกลิ่น

ผลิตภัณฑ์จากการทำรีไซเคิลขยะเปียก
ผลิตภัณฑ์ น้ำยาล้างจาน น้ำยาถูพื้น น้ำยาซักผ้าชีวภาพ


ผลิตภัณฑ์จากการทำรีไซเคิลขยะเปียก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น