วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีการกำจัดขยะของชุมชนพบสุข

  วิธีการกำจัดขยะของชุมชนพบสุข 
   ลักษณะหมู่บ้านพบสุข หมู่ที่ 3 ต.บางตลาด ปากเกร็ด  จังหวัด นนทบุรี เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กประมาณ  250 หลังคาเรือน ประกอบด้วย บ้านหลังเดี่ยว, บ้านทาวน์เฮ้าส์ 1 ชั้น และ 2 ชั้น  ไม่มีอาคารพานิชย์   
 ด้วยขนาดที่ไม่เล็กและไม่ใหญ่เกินไป ทางเทศบาลจึงได้เลือกให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบนำร่อง โครงการกำจัดขยะชุมชน โดยเฉพาะขยะเปียก ที่เกิดจากเศษอาหารในครัวเรือน ซึ่งเป็นปัญหาหลักอันดับต้นๆในหลายท้องที่  หากมีการจัดการที่ไม่ดีก็จะส่งผลกระทบหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสะอาด,สุขอนามัย,มลภาวะในหลายๆด้าน,สิ่งแวดล้อม,งบประมาณหรือแม้กระทั่งภาพลักษณ์,ภาพพจน์ของชุมชนหรือของชาติด้วย
  โครงการได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น สร้างโรงเก็บและกำจัดขยะให้ ช่วงแรกชาวชุมชนไม่เห็นด้วยเท่าไหร่นัก เนื่องจากยังไม่เชื่อว่าจะทำได้ผลหรืออาจทำไปสักระยะก็อาจเลิกรา กลายเป็นสุสานขยะไป แต่เมื่อมีการประชาสัมพันธ์,ให้ความรู้ถึงประโยชน์ที่จะได้รับกลับคืนในระยะยาวแล้ว จึงยอมรับได้ในระดับหนึ่ง  และเริ่มดำเนินการด้วยคณะเจ้าหน้าที่ทางราชการและคณะกรรมการของชุมชนเองที่มีการจัดตั้ง,แต่งตั้งเพื่อให้ส่วนร่วมกับโครงการ  ด้วยความร่วมมือของชาวชุมชนที่เห็นด้วยในจำนวนน้อย  ทางโครงการจึงได้เร่งประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม,มลภาวะ,ขยะ,การคัดแยก,จำแนกขยะ,การใช้ประโยชน์จากขยะและการรีไซเคิลขยะ จนมีความเข้าใจได้รับความร่วมมือดีขึ้นเป็นลำดับ


  การดำเนินงานที่ปฏิบัติจนได้ผล เริ่มด้วยขั้นตอนคร่าวๆดังนี้
รถเก็บขยะเปียก
1.ช่วงเช้า ทุกวันเวลาประมาณ  8.00-9.00น.จะนำรถ ไปเก็บขยะเปียก(เฉพาะเศษอาหารเท่านั้น)จากถังขยะเศษอาหารที่จัดไว้ให้ ตามบ้านที่ให้ความร่วมมือ(ประมาณ 75%ของชุมชน)
ส่วนผสม


2.นำขยะเปียกไปผสมหรือหมักกับหัวเชื้อ อีเอ็ม,น้ำ,กากน้ำตาลเพื่อหมักให้ได้น้ำหมักชีวภาพ ไปใช้ประโยชน์ต่อไปหรือ
ถังหมัก อีเอ็ม
เศษพืชนำไปย่อยเป็นส่วนผสม


3.นำขยะเปียกไปผสมกับเศษพืชหรือใบไม้ย่อย,รำ,แกลบ,อีเอ็มและส่วนผสมอย่างอื่นให้ได้ตามอัตราส่วน เพื่อทำปุ๋ยหมัก
สายพานลำเลียงส่วนผสมเข้าถังหมัก


4.นำส่วนผสมที่ได้ตามอัตราส่วนแล้วเข้าถังหมัก ด้วยสายพานลำเลียงและปิดฝา
5. ตั้งเวลาเกลี่ยอัตโนมัติด้วยระบบหมุนเป็นระยะๆด้วยถังหมัก หมักประมาณ 7 วัน
ถังหมักตั้งเวลาอัตโนมัติ
ตู้อบอุณภูมิต่ำ
ถาดอบส่วนผสม


6.นำส่วนผสมที่ได้ ใส่ถาดอบไปอบที่ตู้อบอุณหภูมิต่ำ (ไม่เกิน 60 องศา เซลเซียส  หากอุณหภูมิสูงกว่านี้ เชื้อจุลินทรีย์จะตาย ปุ๋ยที่ได้จะไม่มีคุณภาพ) จนส่วน ผสมที่ได้  แห้งสนิท ก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ 100%คุณภาพสูง 
ผลิตภัณฑ์จาก อีเอ็ม


  การปฏิบัติงานหรือวัฐจักรก็จะเป็นแบบนี้ตลอด บางท่านมองเห็นเป็นโอกาสที่ดี นำไปปฎิบัติอย่างจริงจังจะได้ประโยชน์อย่างสูงยิ่งจากโครงการนี้ มีหลายท่านมาดูงานแล้วก็ต่อยอดความคิด กลับไปทำปุ๋ยหมักขายดิบขายดีจนผลิตไม่ทัน(ได้กำไรสูง เพราะต้นทุนต่ำ)  หากท่านใดมีความสนใจเป็นพิเศษอยากจะศึกษาดูงานเป็นหมู่คณะก็สามารถติดต่อได้ที่เทศบาลนครปากเกร็ด นนทบุรี หรืออาจเยี่ยมชมได้ที่  ศูนย์เรียนรู้ดูงาน http://pobsook.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น