วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การใช้ EM กับสิ่งแวดล้อม

 การใช้ EM กับสิ่งแวดล้อม
การใช้ EM กับสิ่งแวดล้อมมีเทคนิคการใช้ ดังนี้
1. การกำจัดขยะ
2. การบำบัดน้ำเสีย
3. การกำจัดกลิ่น
4. การกำจัดขยะเปียก

            1. การกำจัดขยะ
            1.1 ขยะที่กระจัดกระจายบนผิวดิน นำมากองรวมกัน หรือทับถมกัน อยู่ในน้ำ ทำให้เกิดกลิ่น แมลงวัน กำจัดด้วยการใช้ EM ขยาย ผสมน้ำ 500 เท่า (หาก ขยะแห้ง ผสมน้ำ 1,000 เท่า) ฉีดพ่นให้ทั่วทุกครั้งที่นำขยะมาทิ้ง จะส่งผลให้
            - ขยะถูกย่อยได้เร็ว
            - แมลงวันลดลง
            - กลิ่นหมดไป
            - น้ำที่ไหลออกไปเป็นน้ำปุ๋ย
            1.2 ขยะที่กองในที่ลุ่ม หรือมีหลุมฝังกลบ ใช้ EM พ่นต่อเนื่อง เมื่อมีการนำขยะมาทิ้งใหม่ 5-7 วัน กลบดินบางๆ การกลบดินจะช่วยให้เกิดการหมักและย่อย สลายได้เร็วขึ้น จะยุบและถมต่อได้อีกหลายครั้ง
            1.3 การนำขยะไปทำปุ๋ย ต้องหมักด้วย EM จึงจะไม่เป็นพิษภัย เพราะขยะหลายชนิดมีพิษ
            1.4 ขยะมีพิษ ขุดหลุมฝังอย่างเดียว ก่อนกลบควรพ่น EM ให้ทั่วแล้วกลบ จะไม่เกิดพิษต่อไปได้อีก
          
            2. การบำบัดน้ำเสีย
            ใช้อุปกรณ์สำคัญ 2 อย่าง คือ EM ขยายกับ EM บอล (ดังโหงะ)
            - EM ขยาย ใช้ฉีดพ่น 1 ลิตร ต่อน้ำ 10 ลูกบาศก์เมตร (1 : 10,000)
            - EM บอล (ดังโหงะ) กำจัดโคลนตมใต้ผิวน้ำ และบำบัดน้ำเสียที่มีลักษณะเคลื่อนไหว 1 ลูก ต่อน้ำ 10 คิว (ลูกบาศก์เมตร)
            การ บำบัดน้ำเสียจากโรงงาน โรงแรม โรงเลี้ยงสัตว์ โรงอาหาร จะมีแหล่งเกิดน้ำเสียชัดเจน การแก้ปัญหาน้ำเสีย ทำดังนี้
            2.1 พ่น EM ขยาย หรือใช้ EM บอล (ดังโหงะ) บำบัดน้ำเสียทั้งหมดในบ่อบำบัดและแหล่งเก็บอื่นๆ
            2.2 ผสม EM ขยาย กับน้ำที่ไหลออกจากแหล่งกำเนิดน้ำเสียตลอดเวลา (เช่น ระบบน้ำหยด) แล้วน้ำจะไม่เน่าเสีย แต่ควรมีบ่อบำบัดด้วย

            3. การกำจัดกลิ่น
            กลิ่นเกิดจากขยะเน่าเสีย น้ำเสียจากโรงงานและแหล่งเลี้ยงสัตว์ หากบำบัดน้ำสะอาดแล้วด้วย EM กลิ่นจะหายไปด้วย แต่ยังจะมีกลิ่นจากมูลสัตว์ กากมัน และอื่นๆ กำจัดได้ด้วย EM ขยายเช่นกัน ด้วยการผสมน้ำแล้วฉีดพ่นให้ทั่ว

            4. การใช้ EM กำจัดขยะเปียก
            ขยะ เปียก หมายถึง ขยะจากโรงครัว เป็นเศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหาร และน้ำซาวข้าว หากทิ้งทั่วไปเป็นตัวทำให้เกิดมลภาวะมากที่สุด การบำบัดก่อนด้วย EM จะเป็นประโยชน์และป้องกันมลพิษได้ มี 2 ลักษณะ คือ
            4.1 ขยะจากเศษอาหาร หากนำไปทิ้ง จะเป็นเหตุให้เกิดมลภาวะและเชื้อโรคได้มาก ควรบำบัดก่อนโดยวิธีหมักดังนี้
            วิธีหมัก
            - สับหรือหั่นให้ละเอียด ผสมโบกาฉิในอัตราส่วน เศษอาหาร 1 กิโลกรัม ต่อโบกาฉิ 1 กำมือ (100 กรัม)
            - ใส่ถังหมักที่ทำขึ้นเอง หรือถังสำเร็จ ครั้งเดียวเต็มถัง หรือหลายครั้งก็ได้
            - เมื่อเต็ม หมักไว้ 7 วัน

            วิธีใช้
            หมักครบ 7 วัน เปิดน้ำใส่ภาชนะไว้ใช้ กากนำไปเป็นปุ๋ย โดยวิธีฝัง หรือเป็นอาหารสัตว์ เช่น ไก่ ปลา น้ำหมักนำไปใช้ดังนี้
            1. ผสมน้ำ 500 เท่า เป็นปุ๋ยรดพืชผัก
            2. ผสมน้ำ 100 เท่า เช็ดถูพื้นห้องน้ำ กระเบื้องโมเสด
            3. บำบัดน้ำเสียด้วยการเทลงโถส้วม แหล่งน้ำ สาธารณะ

            4.2 น้ำซาวข้าว หากปล่อยทิ้งลงร่องน้ำ แหล่งน้ำเสีย จะเป็นบ่อเกิดของมลภาวะสูงสุด หากมีการบำบัดก่อนทิ้ง จะลดการเกิดมลภาวะได้มากทีเดียว

            วิธีหมัก
            - น้ำซาวข้าว 1-2 ลิตร ผสม EM หัวเชื้อ 10 ซีซี (1 ช้อนแกง) และกากน้ำตาลเท่ากัน คนให้ละลาย บรรจุในภาชนะให้เต็ม หมักไว้ 5-7 วัน
            - ระยะหมักได้ 2-3 วัน ควรเปิดให้แก๊สออกบ้าง

            วิธีใช้
            1. ผสมน้ำ 500 เท่า รดพืชผักเสมอๆ มีคุณภาพเป็นปุ๋ย
            2. ผสมน้ำ 100 เท่า สำหรับซักทำความสะอาดเสื้อผ้า โดยแช่ไว้ก่อน 20-30 นาที ขยี้แล้วล้าง 1 น้ำ ตาก
            3. ผสมน้ำ 100-200 เท่า ล้างจาน ชาม เช็ดถูพื้น ผนัง ห้องน้ำ-ส้วม กระจก เฟอร์นิเจอร์ รถยนต์ ฯลฯ (ต้องบิดผ้าให้สะเด็ดน้ำ)
            4. ผสมน้ำ 500 เท่า ฉีดพ่น ปรับสภาพอากาศในบ้าน หรือแหล่งที่อากาศ ไม่บริสุทธิ์
            5. บำบัดน้ำเสีย โดยใส่โถส้วม เทลงร่องน้ำ หรือแหล่งน้ำสาธารณะ
            ฯลฯ

ข้อมูลจาก บริษัท อี เอ็ม คิวเซ จำกัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น