วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การคัดแยกขยะ


การคัดแยกขยะ
 ในแต่ละวันมีขยะเกิดขึ้นจากกิจวัตรประจำวันของเราแต่ละคน มากน้อยต่างกันตามอายุ เพศ สภาพเศรษฐกิจ รายได้ สถานที่ กิจกรรม ค่านิยม ฯลฯ ขยะที่เราก่อขึ้นมีตั้งแต่เศษอาหาร กระดาษชำระ เศษกระดาษ ถุงพลาสติก ขวดแก้ว ขวดพลาสติก กระเบื้อง อะลูมิเนียม นมกล่อง ถ่านไฟฉาย หลอดไฟใช้แล้ว ฯลฯ จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน มีประมาณ 0.5-1 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน เป็นขยะจากคนในเมืองเฉลี่ย 1 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ขยะส่วนใหญ่มาจากวัสดุที่เราไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว เช่น เศษกระดาษ ขวดพลาสติก กระป๋อง เศษแก้ว เชื่อหรือไม่ว่าเราสามารถจัดเก็บและกำจัดขยะได้ไม่ถึง 70 % ของขยะที่เกิดขึ้น ขยะจึงตกค้างอยู่ตามสถานที่ต่างๆและสร้างปัญหามลพิษต่อตัวเราและชุมชน
 ดังนั้นการคัดแยกขยะจะทำให้เรารู้ว่าควรจะจัดการกำจัดขยะแต่ละประเภทอย่างไร จึงจะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและงบประมาณ หรือขยะเช่นใดบ้างที่ควรนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ การคัดแยกขยะเป็นขั้นตอนที่ดําเนินการภายหลังการเกิดขึ้นของขยะ และถือว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีความสําคัญต่อระบบการนําขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เพราะสามารถลดการปนเปื้อนของวัสดุรีไซเคิลได้ รวมทั้งลดปริมาณขยะที่จะนําไปกําจัดทิ้งขั้นสุดท้ายลงได้ เนื่องจากขยะของสังคมเมืองมีปริมาณมาก หากไม่คัดแยก ค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะทั้งด้านงบประมาณ คน สถานที่ฝังกลบ การเก็บขน ก็ย่อมต้องสูงตามไปด้วย
 นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมเชื่อว่า ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการบริโภคของคนเรานั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นความต้องการอาหารและน้ำดื่มเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค หรือแม้แต่สิ่งของเครื่องใช้ที่อำนวยความสะดวกต่างๆในชีวิตประจำวัน ทั้งหมดล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัตถุดิบในการผลิตและเป็นแหล่งพลังงานทั้งสิ้น
 ขณะเดียวกันก็เชื่อมั่นว่าการจะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และภาคบริการควบคู่กัน เพราะเป็นภาคส่วนที่ต้องรองรับความต้องการบริโภคของสมาชิกในสังคม เมื่อกระบวนการผลิตเน้นให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ แต่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ก็เท่ากับเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่าจำกัดได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ช่วยลดการเกิดของเสียที่เกิดจากการผลิตและพยายามนำของเสียนั้นมาแปรรูปหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง
ขยะแต่ละชนิด หากปล่อยให้ย่อยสลายตัวเองตามธรรมชาติ จะใช้ต้องใช้เวลาแตกต่างกัน บางชนิดย่อยได้เร็ว
บางชนิดใช้เวลานานหลายร้อยปี แสดงตัวอย่างดังตาราง
ชนิดของขยะ
ระยะเวลา
เศษกระดาษ
2-5 เดือน
เปลือกส้ม
6 เดือน
ถ้วยกระดาษเคลือบ
5 ปี
ก้นบุหรี่
12 ปี
รองเท้าหนัง
25-40 ปี
กระป๋องอะลูมิเนียม
80-100 ปี
ถุงพลาสติก
450 ปี
   ผ้าอ้อมเด็กชนิดสำเร็จรูป      
500 ปี
โฟม
ใช้เวลานานมากในการย่อยสลาย

(ที่มา : ข้อมูลจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ม.ค.2548))

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอย

1. ความมักง่ายและขาดความสำนึกถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น
เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมาก ซึ่งจะเห็นได้จากการทิ้งขยะลงตาพื้น
หรือแหล่งน้ำ โดยไม่ทิ้งลงในถังรองรับที่จัดไว้ให้ และโรงงาน
อุตสาหกรรมบางแห่งลักลอบนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งตามที่ว่างเปล่า

2. การผลิตหรือใช้สิ่งของมากเกินความจำเป็น เช่น การผลิตสินค้าที่มีกระดาษหรือพลาสติกหุ้มหลายชั้น และการซื้อสินค้าโดยห่อแยกหรือใส่ถุงพลาสติกหลายถุง ทำให้มีขยะปริมาณมาก

3.การเก็บและทำลาย หรือนำขยะไปใช้ประโยชน์ไม่มีประสิทธิภาพ จึงมีขยะตกค้าง กองหมักหมม และส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณจนก่อปัญหามลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น