วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

ผลกระทบของขยะต่อสภาวะแวดล้อม

                                ขยะชุมชน (Municipal solid waste)
นิยามความหมายของกรมควบคุมมลพิษ (กรมควบคุมมลพิษ, 2547)
ขยะชุมชน (Municipal solid waste) หมายถึง ขยะที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน เช่น
ตลาดสด บ้านพักอาศัย ธุรกิจร้านค้า สถานประกอบการ สถานบริการ สถาบันต่างๆ รวมทั้งเศษวัสดุ
ก่อสร้าง ทั้งนี้ไม่รวมของเสียอันตรายและมูลฝอยติดเชื้อ
                                ผลกระทบของขยะต่อสภาวะแวดล้อม
ขยะนับวันจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นตามจำนวนประชากร หากไม่มีการกำจัดให้ถูกวิธีและเหมาะสมแล้ว
ปัญหาความสกปรกและการเกิดมลพิษทั้งทางดิน น้ำ และอากาศ จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มนุษย์
และสิ่งมีชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
                               ผลกระทบต่อดิน (Soil Pollution)
ขยะที่เทกองทิ้งไว้ จะทำให้พื้นดินสกปรกดินมีสภาพเป็นเกลือ ด่าง หรือกรด หรือมีสารพิษ
ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในดิน ตลอดจนทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินเปลี่ยนแปลงไป เช่น โซเดียมทำให้เนื้อดินแตกร่วน นอกจากนี้ในกองขยะอาจมีโลหะหนักที่ปะปนมากับขยะ เช่น ปรอท แคดเมียมตะกั่วหากมีการปนเปื้อนลงสู่ดินแล้วอาจมีการแพร่กระจายมาสู่คน ทำให้เกิดเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
                               ผลกระทบต่อแหล่งน้ำ (Water Pollution)
1. ขยะที่ตกลงไปในแหล่งน้ำ ลำคลอง และท่อระบายน้ำ จะทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน การไหล
ของน้ำไม่สะดวกจึงเกิดสภาวะน้ำท่วมได้ง่าย ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องมีการกำจัดขยะในคูคลองหรือท่อระบายน้ำอยู่เสมอ เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว
2. ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ เช่น น้ำเน่า น้ำเป็นพิษ น้ำมีเชื้อโรคปนเปื้อน และน้ำที่มีคราบ
น้ำมัน ซึ่งไม่เหมาะกับการใช้อุปโภคบริโภค สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพน้ำเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะพืชและสัตว์น้ำ น้ำเสียที่เกิดจากกองขยะเป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกสูงซึ่งมีทั้งสารอินทรีย์สารอนินทรีย์ เชื้อโรค และสารพิษต่างๆ เจือปนอยู่ เมื่อไหลไปตามพื้นดินบริเวณใด ก็จะทำให้บริเวณนั้นเกิดความสกปรก ความเสื่อมโทรมของพื้นดินและอาจเปลี่ยนสภาพทำให้ดินมีคุณสมบัติเป็นด่างหรือกรด กรณีที่ไหลลงสู่แหล่งน้ำก็จะทำให้คุณภาพน้ำเสีย
                               ผลกระทบต่ออากาศ (Air Pollution)
ขยะที่กองทิ้งไว้ในชุมชน หรือในแหล่งกำจัดซึ่งไม่มีการฝังกลบ หรือขณะเก็บขนไม่มีการ
ปกปิดอย่างมิดชิด ขยะเหล่านั้นจะส่งกลิ่นเหม็นออกมาชิ้นส่วนของขยะจะปลิวในอากาศทำให้เกิดความ
สกปรกแก่บรรยากาศ ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ นอกจากนี้อีกประการหนึ่งการเผาขยะทำให้เกิดควัน
และขี้เถ้า การหมักหมมและเน่าสลายของขยะ จะก่อให้เกิดก๊าซพิษและกลิ่นเหม็น เนื่องจากขยะที่กองทิ้งไว้นานๆ จะมีก๊าซที่เกิดขึ้นจากการหมัก ได้แก่ ก๊าซชีวภาพ และก๊าซไข่เน่าซึ่งมีกลิ่นเหม็น
                              ผลกระทบต่อทัศนียภาพ (Visual Pollution)
ปัญหาขยะจากการทิ้งไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้เกิดความสกปรก ขาดความเป็นระเบียบ
เป็นที่น่ารังเกียจแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงรวมทั้งผู้พบเห็น ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจเนื่องมาจากการ
ขาดความรับผิดชอบหรือจิตสำนึกที่ดีในการทิ้งขยะของประชาชน หรือความไม่เพียงพอของภาชนะรองรับมูลฝอย
                              แหล่งเพาะพันธุ์และแพร่กระจายของเชื้อโรค (Breeding Places)
โดยเฉพาะขยะติดเชื้อจากสถานพยาบาล ซึ่งปะปนกับขยะทั่วไปทำให้ประชาชนที่ไปคุ้ยเขี่ยมูลฝอย (Scavenger) มีการสัมผัสกับเชื้อโรคที่ปนมากับขยะ นอกจากนี้ขยะเปียกที่มีแบคทีเรียทำหน้าที่ย่อย
สลายมักจะมีเชื้อโรคจากกองขยะแพร่กระจายไปกับน้ำแมลงวัน แมลงสาบ และสุนัขที่มาคุ้ยเขี่ยกองขยะซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่และแหล่งอาหารของสัตว์เหล่านั้น เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดโรคอหิวาต์ ไทฟอยด์ และโรคบิด
                              เกิดเหตุรำคาญ (Nuisance) และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์
เหตุรำคาญที่มาจากกองขยะ เป็นผลมาจากการเกิดผลกระทบต่อทัศนียภาพ ก๊าซพิษ กลิ่นเหม็น
เพราะขยะที่กองทิ้งไว้มักมีปัญหา จะมีขยะเปียก เศษอาหารเป็นองค์ประกอบอยู่ ทำให้เกิดการเน่าเสียหรือการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน ทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟล์ (ก๊าซไข่เน่า) ได้ นอกจากนี้บางครั้งพบว่า เมื่อมีการกำจัดมูลฝอยโดยการเผาเป็นครั้งคราว (Open Dumping on land and Burning) มักจะมีเหตุรำคาญจากควันหรืออันตรายจากสารพิษที่มีการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์
                            ปัญหาการจัดการขยะในประเทศไทย
ปัญหาการจัดการขยะชุมชนมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพมหานคร และ
เมืองศูนย์กลางความเจริญในภาคต่างๆ เนื่องจากปริมาณขยะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี แต่หน่วยงานที่
รับผิดชอบไม่สามารถหาที่ดินเพื่อกำจัดขยะในระยะยาวได้ รวมทั้งขาดแคลนเครื่องมืออุปกรณ์ในการเก็บ
รวบรวมและกำจัดขยะให้ถูกสุขลักษณะ หากไม่มีการแก้ไขใดๆ จะทำให้มีสถานที่กำจัดที่ไม่ถูสุขลักษณะ
เพิ่มขึ้นและกระจายทั่วไป เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
การจัดการขยะที่ผ่านมาท้องถิ่นส่วนใหญ่สามารถให้บริการเก็บรวบรวมขยะได้มากขึ้น ทำให้ปริมาณ
ขยะตกค้างน้อยลง แต่ยังมีปัญหาการกำจัดขยะไม่ถูกสุขลักษณะอยู่มาก แม้จะมีการจัดสรรงบประมาณ
ก่อสร้างระบบกำจัดที่ถูกสุขลักษณะมากขึ้น แต่ยังมีหลายพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับงบประมาณและยังมีท้องถิ่น
หลายแห่งที่มีระบบแล้วแต่ไม่สามารถดำเนินงานตามที่ออกแบบไว้ บางแห่งได้รับการต่อต้านจากประชาชนทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมาไม่ได้คำนึงถึงการเตรียมพร้อมที่จะดำเนินงานดูแลรักษาระบบอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีข้อจำกัดด้านบุคลากรและการบริหารจัดการที่ชัดเจนทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ โดยเฉพาะช่วงวิกฤตเศรษฐกิจมีผลทำให้การจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางมีจำกัดและไม่ต่อเนื่อง
ปัญหาและสาเหตุในการจัดการขยะ ทั้งนี้เนื่องมาจาก
1. รูปแบบและองค์ประกอบของขยะจะมีความยากต่อการกำจัดมากยิ่งขึ้น
2. มีข้อจำกัดในด้านทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน
3. งบประมาณในการดำเนินงาน
4. ข้อจำกัดด้านงบประมาณที่มีการจัดสรรให้โดยตรงน้อยมาก และการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
ยังไม่มีประสิทธิภาพ
5. ไม่มีการวางแผนการจัดการขยะร่วมกัน ระหว่างชุมชนที่อาจเกิดประโยชน์จากการใช้
เครื่องมือ อุปกรณ์และระบบกำจัดร่วมกัน
6. การขาดแคลนที่ดินสำหรับใช้เป็นสถานที่กำจัดขยะ
รายงานฉบับสมบูรณ์ : โครงการนำร่องเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์สาธิตเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2-11
7. การดำเนินการและดูแลรักษาระบบกำจัดไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
8. ขาดบุคลากรระดับปฏิบัติงานที่มีความรู้ความชำนาญ
9. แผนการจัดการขยะในระดับท้องถิ่น ยังไม่มีการพิจารณาดำเนินการในลักษณะศูนย์กำจัด
ขยะมูลฝอยรวม
10. ไม่มีระเบียบและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินงาน ตั้งแต่การคัดแยก การเก็บขน
การขนส่ง และการกำจัด รวมทั้งการติดตามตรวจสอบ
11. กฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เช่น มี
ระเบียบให้ท้องถิ่นลงทุนและดำเนินการจัดการขยะร่วมกัน
12. การนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ยังมีน้อย
13. ความร่วมมือจากประชาชนยังมีน้อย ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายค่าธรรมเนียม การทิ้งขยะให้เป็นที่
การคัดแยกขยะที่แหล่งกำเนิด รวมทั้งการสนับสนุนโครงการกำจัดขยะ
                            สถานการณ์ขยะในประเทศไทย
ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมาปริมาณขยะมูลฝอยของประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2536 มีปริมาณมูลฝอย
เกิดขึ้นประมาณวันละ 30,640 ตัน และเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 39,240 ตัน ในปี 2546 โดยมีอัตราเพิ่มเฉลี่ยในปี
2536–2545 ประมาณ ร้อยละ 1.2 ต่อปี 2.6.1 การจัดการขยะในประเทศไทย
การจัดการขยะยังคงเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ โดยปริมาณขยะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
ทั้งนี้จากการขยายตัวของชุมชน การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว และการขยายตัวของภาคธุรกิจ จาก
การคาดการณ์ปริมาณขยะในรอบสิบปีข้างหน้า (2545-2554) พบว่าปริมาณขยะจะเพิ่มขึ้นจากวันละ 39,400 ตัน
ในปี 2545 เป็นวันละ 47,000 ตันในปี 2554 หรือมีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.0 ต่อปีคิดเป็นปริมาณขยะ
เพิ่มขึ้นประมาณวันละ 700-900 ตัน
          การคาดการณ์ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนในปี พ.ศ. 2545 – 2554
ปี พ.ศ. ปริมาณขยะมูลฝอย (ตัน/วัน) ปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่ม (ตัน/วัน)
2545              39,400                        765
2546              40,165                        780
2547              40,961                        796
2548              41,773                        812
2548              41,773                        812
2549              42,601                        828
2550              43,445                        845
2551              44,307                        862
2552              45,185                        879
2553              46,080                        897
2554              46,994                        915
สำหรับปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากชุมชนทั่วประเทศในปี 2546 พบว่า ประเทศไทยมีปริมาณขยะ
เกิดขึ้นทั่วประเทศประมาณปีละ 14.4 ล้านตัน เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครมีปริมาณขยะเกิดขึ้นประมาณ
วันละ 9,340 ตัน ซึ่งลดลงจากปี 2545 ประมาณ 300 ตัน ในขณะที่ปริมาณขยะในเขตเทศบาลและเมือง
พัทยาเกิดขึ้นประมาณวันละ 12,100 ตัน นอกเขตเทศบาลซึ่งครอบคลุมพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล
ทั้งหมดเกิดขึ้นประมาณวันละ 17,800 ตัน ดังรูปที่ 2-1 ทั้งนี้การที่ปริมาณในเขตกรุงเทพมหานครลดลง
อาจเนื่องมาจากมีการส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะเพื่อลดปริมาณขยะและขยะส่วนหนึ่งได้ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่มากขึ้นส่วนปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
เนื่องจากปัจจัยหลายประการ (กรมควบคุมมลพิษ, 2546) ดังนี้
1. การเพิ่มและย้ายถิ่นฐานของจำนวนประชากร
2. การขยายตัวของชุมชนอันเนื่องมาจากการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมากขึ้น
3. การกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐบาลทำให้ภาคธุรกิจขยายตัว
4. การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว
5. การส่งเสริมหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้มีการบริโภคและอุปโภคของประชาชนเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้มีปริมาณขยะ
เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

ที่มา - สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น